หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริการล่ามภาษามือในกระบวนการทางกฎหมาย

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-ZJBI-224B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริการล่ามภาษามือในกระบวนการทางกฎหมาย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 2643 : นักแปล ล่าม และนักภาษาศาสตร์อื่นๆ

TSCO 2444.25 : ล่ามภาษามือ  (Sign language Interpreter) เสนอสร้างรหัสใหม่

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานล่ามภาษามือตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความเข้าใจในวัฒนธรรมคนหูหนวกและมีทัศนคติที่ดีในการให้บริการเป็นล่ามภาษามือต่อคนหูหนวก สามารถแปลจากภาษามือไทยเป็นภาษาไทย และ แปลจากภาษาไทยเป็นภาษามือไทย เพื่อบริการคนหูหนวกในกระบวนการทางกฎหมายอาทิ การให้ปากคำ การแจ้งความ ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท ทำนิติกรรมสัญญาให้กับคนหูหนวก เนื้อหา ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาล่ามเพื่อการสื่อสาร อาชีพล่ามภาษามือ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
จรรยาบรรณของวิชาชีพล่ามภาษามือ โดยสมาคมล่ามภาษามือแห่งประเทศไทย 2) ประกาศที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกำหนด3) มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามภาษามือที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกำหนด4) พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25565) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ว่าด้วยบริการล่ามภาษามือ พ.ศ. 2561 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010401

ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

PC1.ต้องทักทาย แนะนำตัวเอง และพูดคุยกับผู้รับบริการว่าจะมาทำหน้าที่ล่ามภาษามือให้คนหูหนวกที่เป็นผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความคุ้นชินการใช้ภาษามือในการสื่อสาร

1010401.01 182794
1010401

ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

PC 2. ต้องได้รับการยินยอมจากคนหูหนวกที่เป็นผู้รับบริการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบในการให้ทำหน้าที่ล่ามภาษามือ

1010401.02 182795
1010401

ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

PC 3. ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการล่ามภาษามือแก่คนหูหนวก

1010401.03 182796
1010401

ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

PC 4. ปฏิบัติงานล่ามภาษามือด้วยความเข้าใจในวัฒนธรรมคนหูหนวกและชุมชนคนหูหนวก

1010401.04 182797
1010401

ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

PC 5. ต้องเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิของคนหูหนวกที่เป็นผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง

1010401.05 182798
1010401

ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

PC 6. ปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพล่ามภาษามือ อย่างเคร่งครัด ไม่สร้างความเสื่อมเสียที่ส่งผลกระทบต่อผู้ร่วมวิชาชีพล่ามภาษามือ

1010401.06 182799
1010402

การใช้ภาษามือไทยในการล่ามภาษามือสำหรับคนหูหนวก เพื่อสื่อสารกับคนทั่วไป

PC 1. ทำหน้าที่ล่ามภาษามือโดยจับประเด็น ถอดความหมาย แปลความหมายและถ่ายทอดใจความสำคัญด้วยภาษามือไทยได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

1010402.01 182800
1010402

การใช้ภาษามือไทยในการล่ามภาษามือสำหรับคนหูหนวก เพื่อสื่อสารกับคนทั่วไป

PC 2. ต้องระมัดระวังคำหรือภาษามือที่ใช้ในการสื่อสาร ต้องไม่ก้าวล่วงสิทธิส่วนตัวของคนหูหนวกที่เป็นผู้รับบริการ

1010402.02 182801
1010402

การใช้ภาษามือไทยในการล่ามภาษามือสำหรับคนหูหนวก เพื่อสื่อสารกับคนทั่วไป

PC 3. ประเมินสถานการณ์แล้วเลือกใช้การแปลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ 

1010402.03 182802
1010402

การใช้ภาษามือไทยในการล่ามภาษามือสำหรับคนหูหนวก เพื่อสื่อสารกับคนทั่วไป

PC 4. ใช้ภาษามือตามโครงสร้าง ไวยากรณ์ ได้แก่ท่ามือ ตำแหน่งของมือ การเคลื่อนไหวของมือ ทิศทางของฝ่ามือ และการแสดงสีหน้า

1010402.04 182803
1010403

การทำงานร่วมกันของล่ามภาษามือ

PC 1. ล่ามภาษามือตกลงรายละเอียดการทำงานร่วมกัน ก่อนปฏิบัติงาน 

1010403.01 182804
1010403

การทำงานร่วมกันของล่ามภาษามือ

PC 2. ร่วมปรึกษากับทีมล่ามภาษามือเพื่อพัฒนาตนเองหลังการปฏิบัติงาน

1010403.02 182805
1010404

แปลจากภาษามือไทย เป็น ภาษาไทย และ แปลจากภาษาไทย เป็น ภาษามือไทย เพื่อบริการแจ้งความ ไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาท ทำนิติกรรมสัญญาให้กับคนหูหนวก เนื้อหา ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน

PC 1.สามารถแปลจากภาษามือไทย เป็น ภาษาไทย และ แปลจากภาษาไทย เป็นภาษามือไทย เพื่อบริการแจ้งความ ไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาท ทำนิติกรรมสัญญาให้กับคนหูหนวก เนื้อหา ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน

1010404.01 182806
1010404

แปลจากภาษามือไทย เป็น ภาษาไทย และ แปลจากภาษาไทย เป็น ภาษามือไทย เพื่อบริการแจ้งความ ไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาท ทำนิติกรรมสัญญาให้กับคนหูหนวก เนื้อหา ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน

PC 2. เลือกใช้คำศัพท์ ไวยกรณ์ภาษามือไทย และคำศัพท์ภาษาไทย ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ ในการบริการล่ามภาษามือในกระบวนการทางกฎหมาย เช่น แจ้งความ ไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาท ทำนิติกรรมสัญญา เป็นต้น

1010404.02 182807
1010404

แปลจากภาษามือไทย เป็น ภาษาไทย และ แปลจากภาษาไทย เป็น ภาษามือไทย เพื่อบริการแจ้งความ ไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาท ทำนิติกรรมสัญญาให้กับคนหูหนวก เนื้อหา ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน

PC 3. จับประเด็นและถอดความหมายอย่างครบถ้วน โดยไม่อธิบายเพิ่มเติมใดๆ

1010404.03 182808
1010405

การทำงานร่วมกับล่ามภาษามือคนหูหนวกกรณีให้บริการคนหูหนวกที่ไม่สามารถใช้ภาษามือไทยได้

PC 1. ในการปฏิบัติงานจะต้องมีทั้งล่ามหูดีและล่ามคนหูหนวกเพื่อช่วยสื่อสารด้วยภาษามือธรรมชาติหรือภาษามือประดิษฐ์

1010405.01 182809
1010405

การทำงานร่วมกับล่ามภาษามือคนหูหนวกกรณีให้บริการคนหูหนวกที่ไม่สามารถใช้ภาษามือไทยได้

PC 2. ล่ามหูหนวกและล่ามหูดีตกลงรายละเอียดการปฏิบัติร่วมกัน ก่อนให้บริการสำหรับคนหูหนวกที่ไม่

1010405.02 182810
1010405

การทำงานร่วมกับล่ามภาษามือคนหูหนวกกรณีให้บริการคนหูหนวกที่ไม่สามารถใช้ภาษามือไทยได้

PC 3. ล่ามคนหูหนวกมีหน้าที่แปลรับส่งข้อมูลให้คนหูหนวกที่ใช้ภาษามือธรรมชาติหรือภาษามือประดิษฐ์

1010405.03 182811
1010405

การทำงานร่วมกับล่ามภาษามือคนหูหนวกกรณีให้บริการคนหูหนวกที่ไม่สามารถใช้ภาษามือไทยได้

PC 4.ล่ามหูดีมีหน้าที่แปลจากล่ามหูหนวกให้คนหูดี และแปลภาษาพูดเป็นภาษามือไทยให้ล่ามคนหูหนวกเพื่อสื่อสารกับคนหูหนวก

1010405.04 182812

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) สามารถสื่อสารด้วยภาษามือไทย และใช้ภาษาไทยได้เป็นดี  

    2) สามารถแปลจากภาษามือไทยเป็นภาษาพูดไทย ภาษาพูดไทยเป็นภาษามือไทย หรือภาษามือไทยเป็นข้อความภาษาไทย หรือการสื่อสารแบบอื่น ๆ ที่คนหูหนวกใช้สื่อสารให้เป็นภาษาไทยได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

    3) สามารถสื่อสารและทำความเข้าใจได้กับล่ามภาษามือคนหูหนวกและล่ามภาษามือคนหูดี

    4) สามารถจับประเด็นได้อย่างครบถ้วน

    5) สามารถทำงานร่วมกันกับผู้ประกอบวิชาชีพล่ามภาษามือด้วยกันได้    

    6) สามารถเลือกใช้คำศัพท์ วลี หรือประโยค ภาษามือไทย ภาษาพูดไทย ที่มีเหมาะสมสอดคล้องสถานการณ์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับภาษามือไทย มาตรฐานภาษามือไทยตามที่สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยเผยแพร่

2)    ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานล่ามที่ดี ตามคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือ

3)    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมายเบื้องต้น อาทิ การให้ปากคำ การแจ้งความ ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท ทำนิติกรรมสัญญา

4)    ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษามือเกี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมายเบื้องต้น  (คู่มือล่ามในกระบวนการยุติธรรม)

5)    ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของคนหูหนวก

6)    ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพล่ามภาษามือ

7)    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ประกาศ ระเบียน ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    ระบุ อธิบายหรือแสดงท่าภาษามือ ตามมาตรฐานภาษามือไทย สำหรับงานบริการคนหูหนวกเกี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมาย

2)    ระบุหรืออธิบายความรู้การปฏิบัติหน้าที่งานล่ามภาษามือที่ดี

3)    ระบุหรืออธิบายวัฒนธรรมของคนหูหนวก และการอยู่ร่วมกันในสังคนคนหูหนวก

4)    ระบุหรืออธิบายการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพล่ามภาษามือ

5)    ระบุหรืออธิบายกฎหมาย ข้อบังคับ หรือระเบียนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือ

6)    หนังสือรับรองความรู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ เอกสารการศึกษาหรือการฝึกอบรมที่เกี่ยวกับภาษามือไทยหรือการประกอบอาชีพล่ามภาษามือ หรือการปฏิบัติงานล่ามภาษามือสำหรับงานบริการคนหูหนวกเกี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมาย 

14.2     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    หนังสือหรือเอกสารรับรองประสบการณ์การทำงานเป็นล่ามภาษามือในกระบวนการทางกฎหมาย เช่น แจ้งความ ไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาท ทำนิติกรรมสัญญา

2)    เอกสารทางการศึกษาหรือเอกสารรับรองผลการเรียนรู้ด้านกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรมหรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการล่ามภาษามือในกระบวนการทางกฎหมาย อาทิ การให้ปากคำ การแจ้งความ ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท ทำนิติกรรมสัญญา



3)    หนังสือรับรองความสามารถการทำหน้าที่ล่ามภาษามือ อาทิ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานเป็นล่ามภาษามือไทยหรือการฝึกงานล่ามภาษามือ ที่ออกให้โดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ อาทิ สมาคม สมาพันธ์ ชมรม เครือข่ายที่ให้บริการคนหูหนวก องค์กรเครือข่ายล่ามภาษามือ

4)    หนังสือคำขอหรือสัญญาว่าจ้าง ปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามภาษามือในลักษณะงานล่ามที่เกี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมาย ที่ออกให้โดยหน่วยงานหรือผู้รับบริการ (ในที่นี่หมายถึงหน่วยงานรัฐ เอกชน นิติบุคคล หรือคนหูหนวก หรือคนหูดีที่ร้องขอใช้บริการล่ามภาษามือ)

5)    แสดงหรือสาธิตการปฏิบัติหน้าที่ฟังและแปลภาษามือสำหรับช่วยคนหูหนวกในสถานการณ์เกี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมาย อาทิ การให้ปากคำ การแจ้งความ ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท ทำนิติกรรมสัญญา

6)    หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงได้ถึงการปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือในกระบวนการทางกฎหมาย อาทิ วิดีทัศน์ สื่อที่ผ่านช่องทางสาธารณะ ที่ได้รับอนุญาติจากผู้รับบริการให้เผยแพร่เพื่อประกอบการประเมินตามหน่วยสมรรถนะนี้



14.3     คำแนะนำในการประเมิน

1)    ผู้รับการประเมินต้องเป็นสมาชิกขององค์กรเครือข่ายล่ามภาษามือ เช่น สมาคมล่ามภาษามือแห่งประเทศไทย ชมรมล่ามภาษามือคนหูหนวกแห่งประเทศไทย

2)    เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินล่ามภาษามือหูหนวกให้จัดประเมินโดยคำนึงถึงระดับการได้ยินและวิธีการสื่อสารเป็นรายบุคคล 

3)    หลักฐานใด ๆ ที่ใช้ประกอบการประเมินตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือความลับของผู้รับบริการหรือต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานหรือบุคคลที่ขอรับบริการ

4)    เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ตามข้อ 14.1 และ 14.2 หรือให้ครอบคลุมเกณฑ์ปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ล่ามภาษามือทำหน้าที่เป็นล่ามภาษามือเพื่อการสื่อสารให้กับคนหูหนวก ในการรับบริการกระบวนการทางกฎหมาย อาทิ การให้ปากคำ การแจ้งความ ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท ทำนิติกรรมสัญญาให้กับคนหูหนวก โดยสามารถใช้ภาษามือไทยที่ความถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน ด้วยคำศัพท์  ไวยกรณ์ ที่ถูกต้องเหมาะกับสถานการณ์  รักษาความลับข้อมูลในกระบวนการทางกฎหมายของคนหูหนวกไม่เผยแพร่ต่อบุคคลทั่วไป มีทัศนคติที่ดีต่อคนหูหนวก เคารพการตัดสินใจของคนหูหนวก วางตัวเป็นกลาง ไม่ชี้แนะนำ แนะนำ ให้คำปรึกษา และไม่เข้าข้างคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

คำอธิบาย

1)    คนหูหนวกที่ไม่สามารถใช้ภาษามือไทยได้ หมายถึง คนหูหนวกที่ไม่ได้เข้ารับการศึกษาหรือไม่จบการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของคนหูหนวก คนหูหนวกที่ไม่สามารถใช้ภาษามือไทยมาตรฐานในการสื่อสาร แต่สามารถใช้ภาษากาย และการอ่านปาก 

2)    ล่ามภาษามือคนหูดี หมายถึง คนหูดีผู้ทำหน้าที่ล่ามภาษามือ 

3)    ล่ามภาษามือคนหูหนวก หมายถึง คนหูหนวกผู้ทำหน้าที่ล่ามภาษามือ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

1)    ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

2)    ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

3)    ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ