หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริการล่ามภาษามือสำหรับรายการโทรทัศน์

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-OSMO-222B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริการล่ามภาษามือสำหรับรายการโทรทัศน์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

TSCO 2444.25 : ล่ามภาษามือ  (Sign language Interpreter) เสนอสร้างรหัสใหม่


1 2643 นักแปล ล่าม และนักภาษาศาสตร์อื่นๆ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงานล่ามภาษามือตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความเข้าใจในวัฒนธรรมคนหูหนวกและมีทัศนคติที่ดีในการให้บริการเป็นล่ามภาษามือต่อคนหูหนวก แปล หรือ ถ่ายทอดใจความภาษาพูดเป็นภาษามือ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ และ ผู้รับบริการ มีความเข้าใจในการแปลของล่ามภาษามือ รักษาความลับของผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง ไม่ละเมิดสิทธิของผู้รับบริการล่ามภาษามือและผู้เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา สาขาล่ามเพื่อการสื่อสาร อาชีพล่ามภาษามือ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
) จรรยาบรรณของวิชาชีพล่ามภาษามือ โดยสมาคมล่ามภาษามือแห่งประเทศไทย 2) ประกาศที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกำหนด3) มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามภาษามือที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกำหนด4) พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25565) ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ว่าด้วยบริการล่ามภาษามือ พ.ศ. 25616) ประกาศ กสทช. เรื่อง ข้อกำหนดระดับความรู้ ความสามารถของล่ามภาษามือสำหรับการให้บริการโทรทัศน์7) ประกาศ กสทช. เรื่อง แนวทางการจัดทําล่ามภาษามือ คําบรรยายแทนเสียงและเสียงบรรยายภาพสําหรับการให้บริการโทรทัศน8)    ประกาศ กสทช. เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์9)    ประกาศ กสทช. เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010201

ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

PC1.ต้องทักทาย แนะนำตัวเอง และพูดคุยกับผู้รับบริการว่าจะมาทำหน้าที่ล่ามภาษามือต่อผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความคุ้นชินการใช้ภาษามือในการสื่อสาร

1010201.01 182760
1010201

ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

PC 2. ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการให้บริการล่ามภาษามือแก่คนหูหนวก

1010201.02 182761
1010201

ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

PC 3. ปฏิบัติงานล่ามภาษามือด้วยความเข้าใจในวัฒนธรรมคนหูหนวกและชุมชนคนหูหนวก

1010201.03 182762
1010201

ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

PC 4. ต้องเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิของคนหูหนวกที่เป็นผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง

1010201.04 182763
1010201

ปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

PC 5. ปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพล่ามภาษามือ อย่างเคร่งครัด ไม่สร้างความเสื่อมเสียที่ส่งผลกระทบต่อผู้ร่วมวิชาชีพล่ามภาษามือ

1010201.05 182764
1010202

การใช้ภาษามือไทยในการล่ามภาษามือสำหรับคนหูหนวก เพื่อสื่อสารกับคนทั่วไป

PC 1. ทำหน้าที่ล่ามภาษามือโดยจับประเด็น ถอดความหมาย แปลความหมายและถ่ายทอดใจความสำคัญด้วยภาษามือไทยได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

1010202.01 182765
1010202

การใช้ภาษามือไทยในการล่ามภาษามือสำหรับคนหูหนวก เพื่อสื่อสารกับคนทั่วไป

PC 2. ประเมินสถานการณ์แล้วเลือกใช้การแปลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เนื้อหา และ รูปแบบรายการ

1010202.02 182766
1010202

การใช้ภาษามือไทยในการล่ามภาษามือสำหรับคนหูหนวก เพื่อสื่อสารกับคนทั่วไป

PC 3. ใช้ภาษามือตามโครงสร้าง ไวยากรณ์ ได้แก่ท่ามือ ตำแหน่งของมือ การเคลื่อนไหวของมือ ทิศทางของฝ่ามือ และการแสดงสีหน้า

1010202.03 182767
1010203

การทำงานร่วมกันของล่ามภาษามือ

PC 1. ล่ามภาษามือตกลงรายละเอียดการทำงานร่วมกัน ก่อนปฏิบัติงาน 

1010203.01 182768
1010203

การทำงานร่วมกันของล่ามภาษามือ

PC 2. ร่วมปรึกษากับทีมล่ามภาษามือเพื่อพัฒนาตนเองหลังการปฏิบัติงาน

1010203.02 182769
1010204

ฟังและแปลความเป็นภาษามือสำหรับคนหูหนวก /ดูและแปลความเป็นภาษาพูด เพื่อสื่อสารกับนักข่าวหรือผู้ชม

PC 1.ฟังและแปลข้อมูลเป็นภาษามือไทยให้คนหูหนวกเข้าใจเนื้อหาสาระของรายการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ สอดคล้องกับเนื้อหาและรูปแบบรายการ

1010204.01 182770
1010204

ฟังและแปลความเป็นภาษามือสำหรับคนหูหนวก /ดูและแปลความเป็นภาษาพูด เพื่อสื่อสารกับนักข่าวหรือผู้ชม

PC 2.ประสานผู้ควบคุมรายการ ผู้จัดทำเนื้อหา ผู้ผลิตสื่อ เพื่อศึกษาข้อมูลก่อนดำเนินรายการ

1010204.02 182771
1010204

ฟังและแปลความเป็นภาษามือสำหรับคนหูหนวก /ดูและแปลความเป็นภาษาพูด เพื่อสื่อสารกับนักข่าวหรือผู้ชม

PC 3. ฟังและแปลเป็นภาษามือไทยโดยแปลตามหรือแปลพร้อมตามเนื้อหาสาระและลำดับของการดำเนินรายการ

1010204.03 182772
1010204

ฟังและแปลความเป็นภาษามือสำหรับคนหูหนวก /ดูและแปลความเป็นภาษาพูด เพื่อสื่อสารกับนักข่าวหรือผู้ชม

PC 4.แต่งกายได้เหมาะสม คนหูหนวกดูสบายตา ไม่ดึงดูดความสนใจไปจากการดูภาษามือ แต่งกายเรียบง่าย ไม่มีลวดลาย และให้เหมาะสมกับกาลเทศะ เป็นไปตามประกาศของ กสทช. 

1010204.04 182773

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

สามารถสื่อสารด้วยภาษามือไทย และใช้ภาษาไทยได้เป็นดี  

    2) สามารถแปลจากภาษามือไทยเป็นภาษาพูดไทย ภาษาพูดไทยเป็นภาษามือไทย หรือภาษามือไทยเป็นข้อความภาษาไทย หรือการสื่อสารแบบอื่น ๆ ที่คนหูหนวกใช้สื่อสารให้เป็นภาษาไทยได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

    3) สามารถสื่อสารและทำความเข้าใจได้กับล่ามภาษามือคนหูหนวกและล่ามภาษามือคนหูดี

    4) สามารถจับประเด็นได้อย่างครบถ้วน

    5) สามารถทำงานร่วมกันกับผู้ประกอบวิชาชีพล่ามภาษามือด้วยกันได้    

    6) สามารถเลือกใช้คำศัพท์ วลี หรือประโยค ภาษามือไทย ภาษาพูดไทย ที่มีเหมาะสมสอดคล้องสถานการณ์

    7) สามารถปฏิบัติงานในห้องบันทึกและส่งสัญญาณกระจายภาพและเสียงได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับภาษามือไทย มาตรฐานภาษามือไทยตามที่สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยเผยแพร่

2)    ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานล่ามที่ดี ตามคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือ

3)    ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษามือสำหรับกิจการโทรทัศน์ 

4)    ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสื่อเพื่อคนพิการหูหนวก วิธีปฏิบัติการทำงานในห้องบันทึกและส่งสัญญาณกระจายภาพและเสียง

5)    ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของคนหูหนวก

6)    ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพล่ามภาษามือ

7)    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ประกาศ ระเบียน ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

14.1    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1) หนังสือหรือเอกสารรับรองผ่านการอบรมหลักสูตรความรู้ความสามารถ ของการเป็นล่ามภาษามือตามประกาศ กสทช. เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้ และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์

    2) หนังสือหรือเอกสารรับรองผ่านหลักสูตรการอบรมการเป็นล่ามภาษามือสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ (Training for Television Sign Language Interpreter)

3) ระบุ อธิบายหรือแสดงท่าภาษามือไทยสำหรับงานโทรทัศน์ได้

4) ระบุหรืออธิบายความรู้การปฏิบัติหน้าที่งานล่ามภาษามือที่ดี

5)    ระบุหรืออธิบายวัฒนธรรมของคนหูหนวก และการอยู่ร่วมกันในสังคนคนหูหนวก

6)    ระบุหรืออธิบายการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพล่ามภาษามือ

7)    ระบุหรืออธิบายกฎหมาย ข้อบังคับ หรือระเบียนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือ

8)    หนังสือรับรองความรู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ เอกสารการศึกษาหรือการฝึกอบรมที่เกี่ยวกับภาษามือไทยหรือการประกอบอาชีพล่ามภาษามือ หรือการปฏิบัติงานล่ามภาษามือสำหรับงานบริการคนหูหนวก....



14.2     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1)    หนังสือรับรองความสามารถการทำหน้าที่ล่ามภาษามือ อาทิ เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงานเป็นล่ามภาษามือไทยหรือการฝึกงานล่ามภาษามือสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ ที่ออกให้โดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ อาทิ สมาคม สมาพันธ์ ชมรม เครือข่ายที่ให้บริการคนหูหนวก องค์กรเครือข่ายล่ามภาษามือ

2)    หนังสือคำขอหรือสัญญาว่าจ้าง ปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามภาษามือในลักษณะงานล่ามที่เกี่ยวกับการให้บริการโทรทัศน์ ที่ออกให้โดยหน่วยงานหรือผู้รับบริการ (ในที่นี่หมายถึงหน่วยงานรัฐ เอกชน นิติบุคคล หรือคนหูหนวก หรือคนหูดีที่ร้องขอใช้บริการล่ามภาษามือ)

3)    แสดงหรือสาธิตการปฏิบัติหน้าที่ฟังและแปลภาษามือสำหรับคนหูหนวกในงานล่ามสำหรับการให้บริการโทรทัศน์

4)    แสดงความสามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์สำหรับการให้บริการโทรทัศน์

5)    หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงได้ถึงการปฏิบัติหน้าที่ล่ามภาษามือ อาทิ รางวัล วิดีทัศน์ สื่อที่ผ่านช่องทางสาธารณะ ที่ได้รับอนุญาติจากผู้รับบริการให้เผยแพร่เพื่อประกอบการประเมินตามหน่วยสมรรถนะนี้



14.3    คำแนะนำในการประเมิน

1)    ผู้รับการประเมินต้องเป็นสมาชิกขององค์กรเครือข่ายล่ามภาษามือ เช่น สมาคมล่ามภาษามือแห่งประเทศไทย ชมรมล่ามภาษามือคนหูหนวกแห่งประเทศไทย

2)    เจ้าหน้าที่สอบทำการประเมินล่ามภาษามือหูหนวกให้จัดประเมินโดยคำนึงถึงระดับการได้ยินและวิธีการสื่อสารเป็นรายบุคคล 

3)    หลักฐานใด ๆ ที่ใช้ประกอบการประเมินตามหน่วยสมรรถนะนี้ต้องไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือความลับของผู้รับบริการหรือต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานหรือบุคคลที่ขอรับบริการ

4)    เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ตามข้อ 14.1 และ 14.2 หรือให้ครอบคลุมเกณฑ์ปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

คำอธิบายรายละเอียด 

    การปฏิบัติงานแปลหรือถ่ายทอดภาษามือสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ การถ่ายทอดภาษาพูด ข้อความเป็นภาษามือไทย ให้มีความชัดเจน เข้าใจง่าย ด้วยท่าทางและสีหน้าอารมณ์ได้เหมาะสมตามสถานการณ์และกาละเทศะ มีความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน มีความสามารถในแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า มีความเข้าใจและปฏิบัติตนตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ อาทิ มาตรฐานการให้บริการ มาตรฐานด้านเทคนิคและความเหมาะสมของรูปแบบรายการกับบริการโทรทัศน์ที่มีบริการล่ามภาษามือคำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพ

คำอธิบาย

1)    คนหูหนวกที่ไม่สามารถใช้ภาษามือไทยได้ หมายถึง คนหูหนวกที่ไม่ได้เข้ารับการศึกษาหรือไม่จบการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของคนหูหนวก คนหูหนวกที่ไม่สามารถใช้ภาษามือไทยมาตรฐานในการสื่อสาร แต่สามารถใช้ภาษากาย และการอ่านปาก 

2)    ล่ามภาษามือคนหูดี หมายถึง คนหูดีผู้ทำหน้าที่ล่ามภาษามือ 

3)    ล่ามภาษามือคนหูหนวก หมายถึง คนหูหนวกผู้ทำหน้าที่ล่ามภาษามือ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณไม่เพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้

1)    ประเมินภาคความรู้ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 

2)    ประเมินภาคความรู้ด้วยเอกสารรับรองการศึกษาฝึกอบรม

3)    ประเมินความรู้และความสามารถจากประสบการณ์ด้วยแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ