หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพงานไสสันทากาวเบื้องต้นหลังตัดเจียนแล้ว

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-CHWB-618A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพงานไสสันทากาวเบื้องต้นหลังตัดเจียนแล้ว

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยช่างไสสันทากาว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ความสามารถพื้นฐานในการตรวจสอบงานหนังสือที่ได้จากการไสสันทากาวหลังตัดเจียนแล้ว  ในเรื่องความเรียบร้อยของรูปเล่ม  และลงบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานไสสันทากาว

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานหลังพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนดคุณภาพงานไสสันทากาว

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40202.1

ตรวจสอบคุณภาพรูปเล่มหนังสือ

1.2 ตรวจสอบความเรียบร้อยของปกและสันหนังสือ

184467
40202.1

ตรวจสอบคุณภาพรูปเล่มหนังสือ

1.1 ตรวจความสะอาดของรูปเล่มหนังสือได้เรียบร้อย (ไม่มีรอยขีดข่วน รอยสกปรก)


184468
40202.2

ลงบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานไสสันทากาว

2.1 ลงบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานของแต่ละงานครบถ้วนตามใบกำกับงานที่กำหนด

184469

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีประสบการณ์ทำงานด้านการไสสันทากาวมาไม่น้อยกว่า 3 เดือน หรือจบการศึกษาระดับตั้งแต่ ปวช ทางด้านการพิมพ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การพินิจพิเคราะห์คุณภาพงานไสสันทากาวด้วยตาอย่างรอบคอบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. คุณภาพงานไสสันทากาว

2. การใช้ภาษาในการลงบันทึกข้อมูลปฏิบัติงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. บันทึกรายการจากการสังเกต

        2.  บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

        3.  แบบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

แบบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

N/A    

(ง)    วิธีการประเมิน

    1. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้การสัมภาษณ์

    2. การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้การประเมินจากการสังเกต และใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

 (ก)  คำแนะนำ 

    1. การตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้น เป็นการตรวจสอบด้วยตาเปล่า โดยตรวจสอบดังนี้

-  ความสะอาดของรูปเล่มหนังสือ ต้องไม่มีรอยขีดข่วน รอยสกปรกติดบนหนังสือ

-  ความเรียบร้อยของปกและสันหนังสือ โดยปกและเนื้อในต้องตัดเจียนมาเสมอเท่ากัน  

-  สันหนังสือต้องตรง ไม่โค้ง  ความหนากาวพอดี ไม่มากเกิน หรือน้อยเกินไป  

-  ขนาดสันต้องเท่ากันตลอดแนวสันหนังสือ โดยใช้การวัดด้วยไม้บรรทัด เพื่อให้การตรวจสอบแน่นอนขึ้น

-  แนวหักสันหนังสือมีขนาดพอดี และมีรอยลึกที่เหมาะสม    

    2. การลงบันทึกข้อมูลปฏิบัติงาน เป็นการบันทึกปริมาณงานที่ไสสันทากาว ทั้งที่เป็นงานคุณภาพดี และงานที่ไม่ได้คุณภาพ   ระยะเวลาทำงาน และปัญหาในงานไสสันทากาว

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    N/A    

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1     การสัมภาษณ์ (รายละเอียดตามคู่มือการประเมิน หน้า......)

18.2     การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

18.3     การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ