หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมและวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-TMCZ-607A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมและวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

หัวหน้าช่างพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์ โดยวิเคราะห์หาสาเหตุต่าง ๆ ที่มีผลต่อคุณภาพ ได้แก่  สมบัติของวัสดุทางการพิมพ์   การใช้เครื่องพิมพ์  เพื่อนำมาใช้เลือกวัสดุทางการพิมพ์ที่เหมาะสม และใช้เครื่องพิมพ์ได้ถูกต้อง  รวมทั้งการเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาในงานพิมพ์ที่เกิดขึ้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30406.1

วิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์เปรียบเทียบกับตัวอย่างงานพิมพ์และอนุมัติคุณภาพงานพิมพ์ 

1.1 วางแผนการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดคุณภาพของโรงพิมพ์และข้อกำหนดของลูกค้า 

30406.1.01 194814
30406.1

วิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์เปรียบเทียบกับตัวอย่างงานพิมพ์และอนุมัติคุณภาพงานพิมพ์ 

1.2 เลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ให้ถูกต้องกับรายการที่ต้องตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

30406.1.02 194815
30406.1

วิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์เปรียบเทียบกับตัวอย่างงานพิมพ์และอนุมัติคุณภาพงานพิมพ์ 

1.3 ใช้เครื่องมือวัดและวิเคราะห์คุณภาพได้ถูกต้องตรงกับรายการที่ต้องตรวจสอบคุณภาพ

30406.1.03 194816
30406.1

วิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์เปรียบเทียบกับตัวอย่างงานพิมพ์และอนุมัติคุณภาพงานพิมพ์ 

1.4 วิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์ให้ได้คุณภาพงานพิมพ์ที่ดีโดยเปรียบเทียบกับตัวอย่างงานพิมพ์

30406.1.04 194817
30406.1

วิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์เปรียบเทียบกับตัวอย่างงานพิมพ์และอนุมัติคุณภาพงานพิมพ์ 

1.5 อนุมัติคุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ถูกต้องตรงตามข้อกำหนดคุณภาพของโรงพิมพ์และข้อกำหนดของลูกค้า

30406.1.05 194818
30406.2

วิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์และเสนอแนะแนวทางแก้ไข

2.1 วิเคราะห์ปัญหาการพิมพ์ออฟเซตที่เกิดจากหมึกพิมพ์ กระดาษ น้ำยาฟาวน์เทน แม่พิมพ์ และผ้ายางได้

30406.2.01 194819
30406.2

วิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์และเสนอแนะแนวทางแก้ไข

2.2 วิเคราะห์ปัญหาการพิมพ์ออฟเซตที่เกิดจากเครื่องพิมพ์และการควบคุมเครื่องพิมพ์ได้

30406.2.02 194820
30406.2

วิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์และเสนอแนะแนวทางแก้ไข

2.3 วิเคราะห์ปัญหาการพิมพ์ออฟเซตที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงานได้

30406.2.03 194821
30406.2

วิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์และเสนอแนะแนวทางแก้ไข

2.4 รายงานปัญหาการพิมพ์ออฟเซตและเสนอแนะแนวทางแก้ไข

30406.2.04 194822

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีประสบการณ์ทำงานด้านการพิมพ์มาไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่า ปวส. ด้านการพิมพ์

2. ผ่าน 30408 ความปลอดภัยในการทำงานด้านพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

3. ผ่าน 30409 ความปลอดภัยในโรงพิมพ์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การจัดทำเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ตรงตามความต้องการของลูกค้าหรือตามที่โรงพิมพ์กำหนด

2.    การกำหนดรายการที่ตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ได้สอดคล้องกับเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพที่กำหนดขึ้น

3.    การจัดทำแผนตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ได้ครอบคลุมกับรายการตรวจสอบที่กำหนดขึ้น

4.    การเลือกเครื่องมือหรือแบบทดสอบเพื่อควบคุมและวิเคราะห์คุณภาพได้ตรงตามรายการที่ตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

5.    การเลือกเครื่องมือวัดและวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์ได้ถูกต้องกับวิธีการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

6.    การใช้เครื่องมือวัดและวิเคราะห์คุณภาพอย่างถูกวิธีและถูกต้องกับข้อกำหนดที่กำหนดขึ้น

7.    เขียนรายงานผลการวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ได้

8.    การเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซต 

9.    การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซตได้อย่างถูกต้อง

10.    การแก้ไขปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซต 

11.    รายงานผลปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการพิมพ์ออฟเซตได้ 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ข้อกำหนดหรือมาตรฐานต่าง ๆ ทางการพิมพ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพงานพิมพ์

2.    การควบคุมคุณภาพการพิมพ์

3.    เครื่องมือหรือแบบทดสอบตามมาตรฐานการพิมพ์และข้อกำหนดคุณภาพ

4.    ประเภทและสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุทางการพิมพ์

5.    วิธีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานการพิมพ์และข้อกำหนดคุณภาพ

6.    เทคนิคการเขียนรายงานและการวิเคราะห์ผลการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

7.    การใช้งานเครื่องมือตรวจสอบตามคู่มือการใช้งาน

8.    ความรู้ด้านเครื่องพิมพ์และการควบคุมเครื่องพิมพ์ตามคู่มือการใช้งาน

9.    ความรู้ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีผลต่อคุณภาพงานพิมพ์

10.    การรายงานผลปัญหาทางการพิมพ์ออฟเซต

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.  บันทึกรายการจากการสังเกต

2.  บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

3.  แผนการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ที่ครอบคลุมจุดตรวจสอบทุกจุด

4. การเลือกเครื่องมือหรือแบบทดสอบให้สอดคล้องกับวิธีการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

5. รายงานและวิเคราะห์ผลการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

6.  การจัดเตรียมเครื่องมือวิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์

7.  งานพิมพ์ที่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง

8.  ใบรายงานปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาทางการพิมพ์

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. แบบทดสอบ

2. แบบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

1.    สัมภาษณ์

2.    ปฏิบัติให้คณะกรรมการดู

(ง) วิธีการประเมิน

1.    การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบ และแบบสัมภาษณ์

2.    การประเมินทักษะจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้การสังเกต รายงานผลการวิเคราะห์ปัญหางานพิมพ์ออฟเซต และใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    การกำหนดเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพ ได้แก่ คุณภาพที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า หรือคุณภาพที่เป็นไปตามที่โรงพิมพ์กำหนด ครอบคลุมวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ

2.    การกำหนดรายการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ ได้แก่ การกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพงานพิมพ์ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพที่ต้องการ 

3.    การจัดทำแผนตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ ได้แก่ กำหนดแผนการตรวจสอบคุณภาพตามจุดตรวจสอบต่างๆ ข้อกำหนดในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ กำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

4.    เครื่องมือหรือแบบทดสอบเพื่อควบคุมคุณภาพ ได้แก่ แบบทดสอบ (testform) และแถบควบคุมคุณภาพ (control strip)

5.    เครื่องมือการวัดและวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์ ได้แก่ เครื่องวัดความดำ เครื่องสเปกโทรเดนซิโตมิเตอร์ กล้องส่องเม็ดสกรีน และเครื่องมือวัดค่าต่าง ๆ ที่ใช้ทางการพิมพ์ 

6.    วิธีการตรวจสอบและสภาวะการทดสอบคุณภาพงานพิมพ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของโรงพิมพ์ หรือข้อกำหนดการทดสอบตามมาตรฐานสากล ครอบคลุมการทดสอบวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และมาตรฐานสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ

7.    วิธีการรายงานผล ได้แก่ การส่งข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการอ่านผลข้อมูลการทดสอบ

8.    เครื่องมือในการตรวจสอบปัญหาการพิมพ์ออฟเซต เช่น กล้องส่องเม็ดสกรีน เครื่องวัดความดำ เครื่องสเปกโทรเดนซิโตมีเตอร์ เครื่องสเปกโทรโฟโต้มีเตอร์

9.    ปัญหาทางการพิมพ์ เช่น ขึ้นพื้น (tinting) สกัม (scum) การพิมพ์พร่า (slur) การพิมพ์ซ้อน (doubling)  ซับหลัง (setoff) เป็นต้น

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.  กำหนดเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพ ได้แก่ คุณภาพที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า หรือคุณภาพที่เป็นไปตามที่โรงพิมพ์กำหนด ครอบคลุมวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ

2.กำหนดรายการที่ต้องตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ ได้แก่ การกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพงานพิมพ์ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการตรวจสอบคุณภาพที่ต้องการ 

3. ทำแผนตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ ได้แก่ กำหนดแผนการตรวจสอบคุณภาพตามจุดตรวจสอบต่าง ๆ ข้อกำหนดในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ กำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

4. เลือกเครื่องมือหรือแบบทดสอบเพื่อควบคุมคุณภาพให้เหมาะสมกับรายการที่ต้องตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

5. เลือกเครื่องมือวัดและวิเคราะห์ให้ถูกต้องกับการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

6. ใช้เครื่องมือวัดโดยวิธีการตรวจสอบและกำหนดสภาวะการทดสอบคุณภาพงานพิมพ์กำหนดวิธีการรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

    18.2 การทดสอบโดยการประเมินการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

    18.3 การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

 



ยินดีต้อนรับ