หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนพิมพ์งานพิมพ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-NYYU-604A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนพิมพ์งานพิมพ์

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานใช้เครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน  พิมพ์งานพิมพ์ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการพิมพ์ที่โรงพิมพ์กำหนด  และถูกต้องตามใบสั่งงานพิมพ์    รวมทั้งแก้ปัญหาพื้นฐานที่เกิดขึ้นในการใช้เครื่องพิมพ์พิมพ์งานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบการวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ช่างพิมพ์ออฟเซต

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30403.1

ใส่แม่พิมพ์

1.1 ตรวจสอบความถูกต้องของแม่พิมพ์ให้ตรงกับใบสั่งงานก่อนใส่

30403.1.01 192455
30403.1

ใส่แม่พิมพ์

1.2 ใส่แม่พิมพ์บนโมแม่พิมพ์ในแต่ละหน่วยพิมพ์ให้ถูกต้องตามลักษณะเครื่องพิมพ์และคู่มือการใช้เครื่องพิมพ์

30403.1.02 192456
30403.1

ใส่แม่พิมพ์

1.3 ตรวจสอบแม่พิมพ์ที่ใส่ในแต่ละหน่วยพิมพ์ให้มีความเรียบร้อย  

30403.1.03 192457
30403.2

ร้อยกระดาษเข้าเครื่อง

2.1 ตรวจสอบม้วนกระดาษให้ถูกต้องตามข้อมูลงานพิมพ์จากใบสั่งงานพิมพ์   

30403.2.01 192469
30403.2

ร้อยกระดาษเข้าเครื่อง

2.2 เลือก tower  เพื่อร้อยกระดาษให้เหมาะสมกับงานพิมพ์ที่พิมพ์ และลักษณะเครื่องพิมพ์ที่ใช้พิมพ์

30403.2.02 192470
30403.2

ร้อยกระดาษเข้าเครื่อง

2.3 ปรับตำแหน่งโมแม่พิมพ์ ให้ระยะ cut off ตรงกันทุกม้วน

30403.2.03 192471
30403.2

ร้อยกระดาษเข้าเครื่อง

2.4 ใส่ clush ที่หน่วยพิมพ์ในหน่วยพิมพ์ที่ใช้งานให้ถูกต้องตามคู่มือการใช้เครื่อง 

30403.2.04 192472
30403.2

ร้อยกระดาษเข้าเครื่อง

2.5 เตรียมหัวกระดาษเพื่อร้อยเข้าหน่วยพิมพ์ให้ถูกต้องตามคู่มือการใช้เครื่อง

30403.2.05 192473
30403.2

ร้อยกระดาษเข้าเครื่อง

2.6 เดินเครื่องพิมพ์เพื่อพากระดาษร้อยเข้าหน่วยพิมพ์จนถึงหน่วยพับให้ครบตามลักษณะงานพิมพ์ โดยไม่เกิดปัญหากระดาษขาด หรือยับ

30403.2.06 192474
30403.3

ปรับระยะตัดให้ตรงกับตำแหน่งภาพพิมพ์

3.1 ปรับให้ภาพพิมพ์ที่ตัดแล้วให้มีตำแหน่งตรงกันทุกม้วนพิมพ์

30403.3.01 192481
30403.3

ปรับระยะตัดให้ตรงกับตำแหน่งภาพพิมพ์

3.2 ปรับให้ภาพพิมพ์ที่ตัดแล้วมีแต่ละหน้าครบถ้วน

30403.3.02 192482
30403.4

ปรับตั้งหน่วยพับ

4.1    ปรับตั้งรูปแบบการพับและจำนวนครั้งของการพับให้ถูกต้องตามใบสั่งพิมพ์

30403.4.01 194771
30403.4

ปรับตั้งหน่วยพับ

4.2 ปรับตั้งระยะพับให้เหมาะสมตามลักษณะงานพิมพ์

30403.4.02 194772
30403.4

ปรับตั้งหน่วยพับ

4.3 ตรวจสอบตำแหน่งม้วนกระดาษให้ตรงกันทุกม้วนก่อนเข้าหน่วยพับ

30403.4.03 194773
30403.5

พิมพ์และตรวจสอบการเรียงหน้า

5.1 ตรวจสอบสิ่งพิมพ์มีการเรียงหน้าถูกต้องตามตัวอย่างงานพิมพ์และใบสั่งพิมพ์

30403.5.01 194774
30403.6

ปรับตำแหน่งภาพพิมพ์บนกระดาษ (register)

6.1 ปรับตำแหน่งเครื่องหมายพับให้ตรงกับระยะพับ

30403.6.01 194775
30403.6

ปรับตำแหน่งภาพพิมพ์บนกระดาษ (register)

6.2 ปรับเครื่องหมายรีจิสเตอร์แต่ละสีบนภาพพิมพ์ให้ตรงกัน

30403.6.02 194776
30403.7

ปรับสีภาพพิมพ์ (ปริมาณการจ่ายหมึก และสมดุลน้ำ-หมึก)

7.1 ปรับสมดุลการจ่ายน้ำและหมึกพิมพ์ ให้ถูกต้อง

30403.7.01 194777
30403.7

ปรับสีภาพพิมพ์ (ปริมาณการจ่ายหมึก และสมดุลน้ำ-หมึก)

7.2 ตรวจสอบสีภาพพิมพ์ให้ถูกต้องตามแผ่นปรู๊ฟสี

30403.7.02 194778
30403.7

ปรับสีภาพพิมพ์ (ปริมาณการจ่ายหมึก และสมดุลน้ำ-หมึก)

7.3 ปรับการจ่ายหมึกพิมพ์แต่ละสีเพื่อให้สีถูกต้องตามแผ่นปรู๊ฟสี

30403.7.03 194779
30403.7

ปรับสีภาพพิมพ์ (ปริมาณการจ่ายหมึก และสมดุลน้ำ-หมึก)

7.4 ควบคุมความสม่ำเสมอของสีบนภาพพิมพ์แต่ละฉบับ (เล่ม)

30403.7.04 194780

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีประสบการณ์ทำงานด้านการพิมพ์มาไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่า ปวช. ด้านการพิมพ์

2. ผ่าน 30408 ความปลอดภัยในการทำงานด้านพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

3. ผ่าน 30409 ความปลอดภัยในโรงพิมพ์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ความสามารถในการใส่แม่พิมพ์ในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนให้ถูกต้องตามลักษณะเครื่องพิมพ์และคู่มือการใช้เครื่องพิมพ์

2.    ความสามารถในการเลือกtower  เพื่อร้อยกระดาษให้เหมาะสมกับงานพิมพ์ที่พิมพ์ และลักษณะเครื่องพิมพ์

3.    ความสามารถในการร้อยกระดาษเข้าเครื่องให้ถูกต้องตามคู่มือการใช้เครื่อง

4.    ความสามารถในการปรับตำแหน่งโมแม่พิมพ์ ให้ระยะ cut off ตรงกันทุกม้วน

5.    ความสามารถในการใส่ clush ที่หน่วยพิมพ์ในหน่วยพิมพ์ให้ถูกต้องตามคู่มือการใช้เครื่อง 

6.    ความสามารถในการเดินเครื่องพิมพ์เพื่อพากระดาษร้อยเข้าหน่วยพิมพ์จนถึงหน่วยพับให้ครบตามลักษณะงานพิมพ์ โดยไม่เกิดปัญหากระดาษขาด หรือยับ

7.    ความสามารถในการปรับระยะตัดให้ตรงกับตำแหน่งภาพพิมพ์

8.    ความสามารถในการปรับตั้งรูปแบบการพับและจำนวนครั้งของการพับให้ถูกต้องตามใบสั่งพิมพ์

9.    ความสามารถในการปรับตั้งระยะพับให้เหมาะสมตามลักษณะงานพิมพ์

10.    ความสามารถในการปรับตั้งม้วนกระดาษให้ตรงกันทุกม้วนก่อนเข้าหน่วยพับ

11.    ความสามารถในการพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

12.    ความสามารถในการตรวจสอบสิ่งพิมพ์มีการเรียงหน้าถูกต้องตามตัวอย่างงานพิมพ์และใบสั่งพิมพ์

13.    ความสามารถในการปรับตำแหน่งภาพพิมพ์บนกระดาษ โดยให้เครื่องหมายพับให้ตรงกับระยะพับ และเครื่องหมายรีจิสเตอร์แต่ละสีบนภาพพิมพ์ให้ตรงกัน

14.    ความสามารถในการปรับสมดุลการจ่ายน้ำและหมึกพิมพ์ ให้ได้สีหมึกพิมพ์ถูกต้อง และไม่เกิดปัญหาการพิมพ์

15.    ความสามารถในการปรับการจ่ายหมึกพิมพ์แต่ละสีเพื่อให้สีถูกต้องตามแผ่นปรู๊ฟสี และมีความสม่ำเสมอของสีบนภาพพิมพ์แต่ละฉบับ (เล่ม)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับประเภทของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

2.    ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง ส่วนประกอบ และการทำงานของส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

3.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใส่แม่พิมพ์ในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

4.    ความรู้เกี่ยวกับการร้อยกระดาษเข้าเครื่องให้เหมาะสมกับงานพิมพ์ที่พิมพ์ และลักษณะเครื่องพิมพ์ และถูกต้องตามคู่มือการใช้เครื่อง

5.     ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้พิมพ์งานพิมพ์ได้คุณภาพงานถูกต้องตรงกับใบสั่งงาน 

6.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปรับตั้งส่วนป้อนกระดาษให้มีระยะ cut off ตรงกันทุกม้วน

7.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปรับตั้งส่วนพับ/ตัดของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

8.    ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการพับในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

9.    ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพงานพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

10.    ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีสีทางการพิมพ์

11.    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือควบคุมคุณภาพ ได้แก่  แถบควบคุมคุณภาพ  เครื่องวัดความดำ  

12.    ความรู้เกี่ยวกับประเภทของหมึกพิมพ์ และสมบัติของหมึกพิมพ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    บันทึกรายการจากการสังเกต

2.    บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

3.    ความถูกต้องของการใส่แม่พิมพ์ในเครื่องพิมพ์

4.    ความเรียบร้อยของแม่พิมพ์ที่ใส่ในเครื่องพิมพ์

5.    ความถูกต้องของม้วนกระดาษที่ร้อยใส่ในเครื่องพิมพ์

6.    ความถูกต้องของระยะ cut off ของม้วนกระดาษตรงกันทุกม้วน

7.    การเดินม้วนกระดาษในเครื่องพิมพ์ราบรื่น ไม่ติดขัด

8.    ผลงานแผ่นพิมพ์ที่ตัดแล้วมีขนาดถูกต้องตรงกับทุกม้วน และภาพพิมพ์ไม่ถูกตัดขาด

9.    ผลงานแผ่นพับที่พับแล้วมีรูปแบบการพับถูกต้องตามใบสั่งพิมพ์

10.    ผลงานพิมพ์ที่พับแล้วมีการเรียงหน้าถูกต้องตามตัวอย่างงานพิมพ์และใบสั่งพิมพ์

11.    ผลงานพิมพ์มีภาพพิมพ์ทุกสีตรงกันทุกฉบับ

12.    ผลงานพิมพ์มีสีภาพพิมพ์ให้ถูกต้องตามแผ่นปรู๊ฟสีและสม่ำเสมอสีเหมือนกันทุกฉบับ

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.  แบบสัมภาษณ์

2.  แบบทดสอบ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ในการประเมินทักษะการใช้เครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อวนม้วนควรระบุประเภทเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อวนม้วนที่ใช้ทดสอบ และมีคู่มือการใช้เครื่องประกอบการทดสอบด้วย

(ง)    วิธีการประเมิน

    1. การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบและการสัมภาษณ์

    2. การประเมินทักษะจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้การสังเกต และใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    การตรวจสอบก่อนใส่แม่พิมพ์บนโมแม่พิมพ์  โดยตรวจสอบหน้าภาพพิมพ์และสีที่จะพิมพ์ตรงกับโมแม่พิมพ์

2.    ระบบการใส่แม่พิมพ์ในเครื่องพิมพ์ของบริษัทต่าง ๆ ไม่เหมือนกันต้องศึกษาจากคู่มือการใช้เครื่อง

3.    การตรวจสอบความเรียบร้อยของแม่พิมพ์ที่ใส่ในแต่ละหน่วยพิมพ์  เป็นการตรวจสอบให้แม่พิมพ์แนบสนิทกับโมแม่พิมพ์ไม่มีรอยบุบ รอยนูน  หรือขี้หมึกติดผิวโม

4.    ข้อมูลงานพิมพ์ที่ตรวจสอบประกอบด้วยชื่องานพิมพ์  พิมพ์รูปแบบ  (format) หน้าเดียว/สองหน้า  จำนวนหน้า จำนวนสี  จำนวนหน้า เพื่อกำหนดจำนวนม้วนกระดาษที่ร้อยเข้าเครื่องและเลือก tower ที่เหมาะสม

5.    การเลือก tower ร้อยกระดาษ จะพิจารณาจากจำนวนหน้า  จำนวนสี  ลำดับหน้าสิ่งพิมพ์

6.    การปรับตำแหน่งโมแม่พิมพ์  โดยใช้การใส่ mark หรือ สังเกตจาก ตำแหน่ง gap ของโมแม่พิมพ์ต้องตรงกัน

7.    การพิมพ์จำเป็นต้องให้ clush on  ในหน่วยพิมพ์ที่ใช้พิมพ์ และต้องปลด clush ในหน่วยพิมพ์ที่ไม่ใช้งาน

8.    การเตรียมหัวกระดาษโดยฉีกและพับปลายกระดาษเป็นรูปสามเหลี่ยม  ให้ด้านยาวอยู่ด้าน operator 

9.    การเดินเครื่องพิมพ์ช้า ๆ ที่ crawling speed เพื่อพากระดาษร้อยเข้าเครื่องพิมพ์ ตามหน่วยพิมพ์ที่ใช้งาน และรูปแบบงานพิมพ์ จนถึงหน่วยพับ ( folding unit) ตามจำนวนม้วน

10.    ระยะตัดเป็นระยะ cut off  โดยพิจารณาจากงานพิมพ์แต่ละม้วนพิมพ์ต้องมีตำแหน่งเลขหน้าตรงกันทุกหน้า

11.    รูปแบบการพับมีหลายวิธี  ได้แก่  การพับตั้งฉาก  การพับขนานรวมถึงการปรับจำนวนครั้งของการพับให้ได้ขนาดสิ่งพิมพ์ที่ถูกต้องตามรายละเอียดงานพิมพ์

12.    ระยะพับหมายถึง การพับแบบให้ขอบเสมอเท่ากัน หรือเหลื่อมกัน  โดยมักจะพับเหลื่อมเพื่อนำไปใช้ในเครื่องสอดยก  (inserting machine) หรือ เพื่อให้ขอบตัดเจียนมีน้อยลง

13.    ตำแหน่งม้วนกระดาษก่อนเข้าหน่วยพับมีความสำคัญต่อตำแหน่งภาพพิมพ์บนกระดาษ  ถ้าตำแหน่งม้วนไม่ตรงกันมีผลให้ขอบกระดาษไม่ตรงกันได้

14.    การปรับสมดุลการจ่ายน้ำและหมึกพิมพ์ โดยไม่ให้เกิดปัญหาการพิมพ์ เช่น สกัม  รอยน้ำ

15.    การปรับปริมาณหมึกพิมพ์แต่ละสีที่จ่ายบนวัสดุใช้พิมพ์ต้องควบคุมให้สม่ำเสมอทุกฉบับ

16.    สีบนภาพพิมพ์แต่ละฉบับมีความสม่ำเสมอให้อยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ (ค่า +/-  ของค่าความดำแต่ละสี)โดยค่าความดำของหมึกพิมพ์แต่ละสีต้องควบคุมให้ได้ตามข้อกำหนดคุณภาพของโรงพิมพ์  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดกระดาษ และหมึกพิมพ์ที่ใช้

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    วิธีการและขั้นตอนในการใส่แม่พิมพ์ในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

2.    วิธีการและขั้นตอนในการร้อยม้วนกระดาษในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

3.    วิธีการและขั้นตอนในการปรับตั้งหน่วยพับ/ตัดของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

4.    วิธีการและขั้นตอนในการปรับจ่ายหมึกและจ่ายน้ำของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

5.    วิธีการและขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

6.    วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งอุปกรณ์ทำแห้ง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

    18.2 การทดสอบโดยการประเมินการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

    18.3 การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

 



ยินดีต้อนรับ