หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-SDWL-603A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานเตรียมเครื่องพิมพ์ป้อนม้วนสำหรับงานพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน  โดยใส่ม้วนกระดาษ ปรับตั้งส่วนพิมพ์  ส่วนพับ  ส่วนทำแห้ง และส่วนควบคุมให้สามารถพิมพ์งานได้ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานพิมพ์ที่กำหนด  และตามลักษณะงานพิมพ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ช่างพิมพ์ออฟเซต

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30402.1

เตรียมหมึกพิมพ์ และใส่หมึกพิมพ์ในเครื่อง

1.1 ตรวจสอบชนิดหมึกพิมพ์ให้ถูกต้องตามใบสั่งงาน 

30402.1.01 192415
30402.1

เตรียมหมึกพิมพ์ และใส่หมึกพิมพ์ในเครื่อง

1.2 ผสมสีให้ถูกต้องตามใบสั่งงาน หรือตัวอย่างสี

30402.1.02 192416
30402.1

เตรียมหมึกพิมพ์ และใส่หมึกพิมพ์ในเครื่อง

1.3 ใส่หมึกพิมพ์ในหน่วยพิมพ์ให้ถูกต้องตามสีของหน่วยพิมพ์

30402.1.03 192417
30402.2

ปรับตั้งส่วนพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

2.1 ตรวจสอบความหนาของผ้ายางให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของเครื่องพิมพ์

30402.2.01 192423
30402.2

ปรับตั้งส่วนพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

2.2 ตรวจสอบค่าการรองหนุนของแต่ละหน่วยพิมพ์ให้เหมาะสมกับวัสดุใช้พิมพ์และถูกต้องตามข้อกำหนดของเครื่องพิมพ์

30402.2.02 192424
30402.2

ปรับตั้งส่วนพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

2.3 ตรวจสอบอัตราการเบียดของลูกกลิ้งทั้งในระบบความชื้นและระบบหมึกให้มีความถูกต้องตามข้อกำหนดของเครื่องพิมพ์

30402.2.03 192425
30402.2

ปรับตั้งส่วนพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

2.4 ตรวจสอบอัตราการเปิดปิดของลิ้นควบคุมการจ่ายหมึกพิมพ์ให้ทำงานถูกต้องตามข้อกำหนดของเครื่องพิมพ์

30402.2.04 192426
30402.2

ปรับตั้งส่วนพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

2.5 ปรับพื้นที่การจ่ายน้ำและหมึกพิมพ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของงานพิมพ์

30402.2.05 192427
30402.2

ปรับตั้งส่วนพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

2.6 ปรับตั้งการจ่ายหมึกตามพื้นที่พิมพ์บนแม่พิมพ์  (presetting) ให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของเครื่องพิมพ์

30402.2.06 192428
30402.3

ปรับตั้งส่วนพับ

3.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์และความคมของเข็มจิกกระดาษให้มีความพร้อมในการทำงาน

30402.3.01 192434
30402.3

ปรับตั้งส่วนพับ

3.2 ตรวจสอบความสมบูรณ์และความคมของใบมีดตัด (cutting blade) .ให้มีความพร้อมในการทำงาน

30402.3.02 192435
30402.3

ปรับตั้งส่วนพับ

3.3 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบพับให้มีความพร้อมในการทำงาน

30402.3.03 192436
30402.3

ปรับตั้งส่วนพับ

3.4 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบมีดกริ้ปเปอร์ (gripper blade)

30402.3.04 192437
30402.3

ปรับตั้งส่วนพับ

3.5 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของยางรองตัดให้มีความพร้อมในการทำงาน

30402.3.05 192438
30402.3

ปรับตั้งส่วนพับ

3.6 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบมีดผ่ากระดาษให้มีความพร้อมในการทำงาน

30402.3.06 192439
30402.3

ปรับตั้งส่วนพับ

3.7 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของลูกกลิ้งพากระดาษ (nipping roller) ให้มีความพร้อมในการทำงาน

30402.3.07 192440
30402.4

ปรับตั้งส่วนควบคุม

4.1 ตรวจสอบการทำงานของส่วนควบคุมให้มีความพร้อมที่จะใช้งานพิมพ์ และถูกต้องตามข้อกำหนดของเครื่องพิมพ์ 30402.4.01 192450
30402.4

ปรับตั้งส่วนควบคุม

4.2 ตรวจสอบการทำงานของส่วนควบคุมเมื่อได้รับข้อมูล preset .ให้ปรับหมึกพิมพ์และปรับน้ำได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับการพิมพ์

30402.4.02 192451

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีประสบการณ์ทำงานด้านการพิมพ์มาไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่า ปวช. ด้านการพิมพ์

2. ผ่าน 30408 ความปลอดภัยในการทำงานด้านพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

3. ผ่าน 30409 ความปลอดภัยในโรงพิมพ์

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ความสามารถในการเตรียมหมึกพิมพ์และใส่หมึกพิมพ์ในรางหมึกของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

2.    ความสามารถในการผสมสีหมึกพิมพ์ได้ถูกต้องตามตัวอย่างสี

3.    ความสามารถใช้เครื่องมือวัดเทียบสี วัดค่า และอ่านค่า จากเครื่องมือวัดได้

4.    ความสามารถในการปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ในส่วนพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน ได้แก่  การรองหนุนโมยาง  การปรับตั้งระบบทำชื้น และระบบหมึก   การปรับตั้งกลไกควบคุมการจ่ายหมึกพิมพ์ให้ทำงานถูกต้อง และเหมาะสมกับพื้นที่ของงานพิมพ์

5.    ความสามารถในการปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ในส่วนพับของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนได้แก่ การตรวจสอบความพร้อมของเข็มจิกกระดาษ  ใบมีดตัด  ใบพับ  ใบมีดกริ๊ปเปอร์  ยางรองตัด  ใบมีดผ่ากระดาษ  และลูกกลิ้งพากระดาษให้มีความพร้อมในการทำงาน 

6.    ความสามารถในการปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ในส่วนทำแห้งของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนได้แก่ถังแก๊ส  เตาอบ  ลูกกลิ้งทำความเย็น ให้มีความพร้อมในการทำงาน

7.    ความสามารถในการปรับตั้งมีดตัดในส่วน sheeter ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนรวมถึงการตรวจสอบความสมบูรณ์ของมีดตัดให้มีความพร้อมในการทำงาน

8.    ความสามารถในการปรับตั้งส่วนควบคุมของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนให้มีความพร้อมในการทำงาน

9.    ความสามารถในการใช้เครื่องมือในการปรับตั้งส่วนต่าง ๆ ในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน  เช่น ไมโครมิเตอร์ในวัดความหนาผ้ายาง  

10.    ความสามารถในการคำนวณการรองหนุนผ้ายางที่โมยาของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

11.    ความสามารถในการปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนอย่างปลอดภัย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับประเภทและสมบัติของหมึกพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

2.    ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีสีในการผสมสีหมึกพิมพ์

3.    ประเภทของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

4.    โครงสร้าง ส่วนประกอบและลักษณะการทำงานของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

5.    ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน 

6.    วิธีการปรับตั้งส่วนป้อนกระดาษของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

7.    วิธีการปรับตั้งส่วนพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

8.    วิธีการปรับตั้งส่วนพับของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

9.    วิธีการปรับตั้งส่วนทำแห้งของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

10.    วิธีการปรับตั้งส่วนตัดแผ่น (sheeter) ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

11.    วิธีการปรับตั้งส่วนควบคุมของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    ผลจากการผสมสีหมึกพิมพ์ที่ได้จากการผสมหมีกพิมพ์ตามใบสั่งงาน

2.    ผลจากการใส่หมึกพิมพ์ในรางหมึกของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

3.    การรองหนุนแต่ละหน่วยพิมพ์ได้เหมาะสมกับวัสดุใช้พิมพ์และถูกต้องตามข้อกำหนดของเครื่องพิมพ์

4.    การเบียดของลูกกลิ้งทั้งในระบบความชื้นและระบบหมึกมีความถูกต้องตามข้อกำหนดของเครื่องพิมพ์

5.    อัตราการเปิดปิดของลิ้นควบคุมการจ่ายหมึกพิมพ์ถูกต้องตามข้อกำหนดของเครื่องพิมพ์

6.    ผลงานพิมพ์จากการปรับพื้นที่การจ่ายน้ำและหมึกพิมพ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ของงานพิมพ์

7.    ผลงานพิมพ์จากการปรับตั้งการจ่ายหมึกตามพื้นที่พิมพ์บนแม่พิมพ์  (presetting) .ให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของเครื่องพิมพ์

8.    ส่วนประกอบในส่วนพับ ได้แก่ เข็มจิกกระดาษ  ใบมีดตัด  ใบพับ  ใบมีดกริ๊ปเปอร์  ยางรองตัด  ใบมีดผ่ากระดาษ ลูกกลิ้งพากระดาษมีความสมบูรณ์ และพร้อมในการใช้งาน

9.    ผลงานจากการปรับตั้งส่วนพับของเครื่องพิมพ์ออฟเซตให้พับงานพิมพ์ได้ถูกต้อง เรียบร้อย

10.     การทำงานของส่วนควบคุมมีความพร้อมที่จะใช้งานพิมพ์ และถูกต้องตามข้อกำหนดของเครื่องพิมพ์

11.    ผลงานจากการปรับตั้งส่วนควบคุมให้ปรับหมึกพิมพ์และปรับน้ำได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับการพิมพ์

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1..   แบบสัมภาษณ์

2.  แบบทดสอบความรู้ในการเตรียมเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

ในการประเมินทักษะการเตรียมเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนควรระบุประเภทเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนใช้ทดสอบ และมีคู่มือการใช้เครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนประกอบการทดสอบด้วย

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบความรู้และการสัมภาษณ์

2.    การประเมินทักษะจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้การสังเกต  และผลงานที่ได้จากเตรียมเครื่องพิมพ์ และใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ

1.    เลือกหมึกพิมพ์ให้เหมาะสมกับงานที่ได้รับตามใบสั่งของโรงพิมพ์โดยพิจารณาจากป้ายกำกับกระป๋องหมึกพิมพ์

2.    ผสมหมึกพิมพ์ให้ได้สีที่ถูกต้องตามใบสั่งของโรงพิมพ์หรือตัวอย่างสี  โดยใช้เครื่องมือวัดเทียบสี  และมองเปรียบเทียบด้วยตา

3.    ผ้ายางสำหรับการพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนมี  2 ประเภท ได้แก่ประเภทไม่มีฟองอากาศ (noncompressible) มีความหนา 1.65 มม.  และประเภทมีฟองอากาศ (compressible) มีความหนา1.95 มม.  การใช้ผ้ายางให้ถูกต้องตามคู่มือการใช้เครื่องพิมพ์ และลักษณะการพิมพ์

4.    การตรวจสอบความหนาของผ้ายางใช้ไมโครมิเตอร์วัดความหนาเพื่อคำนวณการรองหนุนให้ถูกต้อง

5.    การตรวจสอบค่าการรองหนุนจะตรวจสอบหลังใส่ผ้ายางในโมผ้ายางแล้วโดยการใช้ cylinder gauge หรือดูแถบเส้นหมึกพิมพ์บนโมผ้ายางที่ได้จากการกดโมพิมพ์บนโมผ้ายางโดยควรมีความหนาเส้นประมาณ 15-17 มม.

6.    การตรวจสอบอัตราการเบียดระหว่างลูกกลิ้งกับลูกกลิ้ง ใช้ฟิลเลอร์เกจ หรือดูความหนาของเส้นแรงกด (nip) เมื่อหมุนแยกจากกัน  โดยต้องเป็นไปตามคู่มือการใช้งานเครื่องพิมพ์

7.    การตรวจสอบอัตราการเบียดระหว่างลูกกลิ้งแตะแม่พิมพ์กับโมแม่พิมพ์ดูความหนาของเส้นแรงกด (nip) บนโมแม่พิมพ์  โดยต้องมีความหนาตามคู่มือการใช้งานเครื่องพิมพ์

8.    กลไกการเปิดปิดของลิ้นควบคุมการจ่ายหมึกพิมพ์มี 2 ระบบ ได้แก่ ระบบสปริง และระบบสไลด์โดยต้องปรับ calibrate การเปิดปิดของลิ้นควบคุม ให้จ่ายหมึกสม่ำเสมอกันตลอดความกว้างเครื่องพิมพ์  โดยเครื่องวัด ink film บน ink fountain หรือดูความสม่ำเสมอหมึกพิมพ์บนลูกกลิ้ง ink fountain ในรางหมึกโดยทำเดือนละครั้ง หรือเมื่อมีการล้างหมึกออกจากระบบหมึก

9.    การปรับตั้งการจ่ายหมึกพิมพ์ให้ใช้งานพิมพ์มาปรับพื้นที่การจ่ายน้ำและหมึกพิมพ์ของแต่ละหน่วยพิมพ์เพื่อปิดระบบทำชื้นและระบบหมึกในส่วนนอกพื้นที่กระดาษ

10.    การปรับตั้งระบบทำชื้นให้ใช้งานพิมพ์ตรวจสอบของแต่ละหน่วยพิมพ์เพื่อปิดระบบน้ำในส่วนที่ไม่ใช้งาน

11.    การปรับปริมาณการจ่ายหมึกมากน้อยตามกลไกของเครื่องพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่มี 2 ระบบ คือ ระบบสปริง และเลื่อนสไลด์

12.    การตรวจสอบความสมบูรณ์ของเข็มจิกกระดาษตรวจสอบก่อนเดินเครื่องพิมพ์ โดยดูจำนวนเข็มจิกมีครบถ้วน  และอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมใช้งาน  การตรวจสอบความคม โดยดูจากปลายเข็มต้องแหลมคม  

13.    การตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบมีดตัดก่อนเดินเครื่องพิมพ์  โดยดูจากสภาพและความสมบูรณ์ของฟันใบมีดตัดตรวจสอบ ความคมใบมีดตรวจสอบจากผลงานที่ได้ซึ่งต้องตรวจสอบเมื่อเดินเครื่องพิมพ์แล้ว โดยดูได้จากรอยตัด ต้องไม่มีรอยกระชากขาดโดยต้องร้อยกระดาษ และเดินเครื่องพิมพ์แล้ว

14.    การตรวจสอบความสมบูรณ์ใบพับ  ขึ้นกับลักษณะเครื่องพิมพ์ โดยศึกษาได้จากคู่มือการใช้เครื่องพิมพ์

15.    การตรวจสอบความสมบูรณ์ใบกริปเปอร์  ต้องไม่ลื่น  จับกระดาษได้มั่นคง

16.    ส่วนควบคุม มีการควบคุมแรงตึงม้วน  การควบคุมตำแหน่งภาพพิมพ์ให้ตรงกันทุกสี  (register)  การ Preset ปรับจ่ายหมึกและน้ำ  การวัดความดำหมึกพิมพ์การควบคุมระยะ cut off การควบคุม slide กระดาษการควบคุมความเร็ว  การลงโม  การจ่ายหมึก และจ่ายน้ำ

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ตรวจสอบชนิดหมึกพิมพ์สำหรับการพิมพ์ป้อนม้วนให้ถูกต้องกับกระบวนการพิมพ์แบบ Heat set แบบ Cold set หรือแบบ UV ที่กำหนดในใบงาน

2.    วิธีการและขั้นตอนในการใช้อุปกรณ์การผสมสี และเครื่องมือวัดสี

3.    วิธีการและขั้นตอนในการใส่ม้วนกระดาษในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนได้ถูกต้อง สามารถวิ่งกระดาษได้ราบรื่น ต่อเนื่อง ไม่เกิดปัญหาในการพิมพ์

4.    วิธีการและขั้นตอนในการปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ในส่วนพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน ได้แก่  การรองหนุนโมยาง  การปรับตั้งระบบทำชื้น และระบบหมีก   การปรับตั้งกลไกควบคุมการจ่ายหมึกพิมพ์ให้ทำงานถูกต้อง และเหมาะสมกับพื้นที่ของงานพิมพ์

5.    วิธีการและขั้นตอนในการปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ในส่วนพับของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนได้แก่ การตรวจสอบความพร้อมของเข็มจิกกระดาษ  ใบมีดตัด  ใบพับ  ใบมีดกริ๊ปเปอร์  ยางรองตัด  ใบมีดผ่ากระดาษ  และลูกกลิ้งพากระดาษให้มีความพร้อมในการทำงาน 

6.    วิธีการและขั้นตอนในการปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ในส่วนทำแห้งของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนได้แก่ถังแก๊ส  เตาอบ  ลูกกลิ้งทำความเย็น ให้มีความพร้อมในการทำงาน

7.    วิธีการและขั้นตอนในการปรับตั้งมีดตัดในส่วน sheeter ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนรวมถึงการตรวจสอบความสมบูรณ์ของมีดตัดให้มีความพร้อมในการทำงาน

8.    วิธีการและขั้นตอนในการปรับตั้งส่วนควบคุมของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนให้มีความพร้อมในการทำงาน

9.    วิธีการและขั้นตอนในการใช้เครื่องมือในการปรับตั้งส่วนต่าง ๆ ในเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน  เช่น ไมโครมิเตอร์ในวัดความหนาผ้ายาง  


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

    18.2 การทดสอบโดยการประเมินการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

    18.3 การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

 



ยินดีต้อนรับ