หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องพิมพ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-BCGR-472A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องพิมพ์

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่น



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติตรวจสอบระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์ออฟเซต และรู้วิธีการป้องกันภัยส่วนบุคคล มีทักษะในการทำงานขั้นพื้นฐานทั่วไป และปฏิบัติงานภายใต้คำสั่งของช่างพิมพ์ออฟเซต

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือการใช้งานประจำเครื่องพิมพ์และพระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
303031

ตรวจสอบระบบป้องกันอันตรายของเครื่องพิมพ์

1.1 ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันอันตรายของเครื่องพิมพ์ให้พร้อมใช้งาน

303031.01 201481
303031

ตรวจสอบระบบป้องกันอันตรายของเครื่องพิมพ์

1.2 การบำรุงรักษาระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์

303031.02 201482
303032

ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2.1 ใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้ตรงตามข้อกำหนดของโรงพิมพ์

303032.01 201483
303032

ป้องกันภัยส่วนบุคคล

2.2 ปฎิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงาน

303032.02 201484

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ต้องมีความรู้ทางด้านการพิมพ์ออฟเซต ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน หรือต้องมีทักษะการใช้เครื่องพิมพ์ เป็นต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ปฏิบัติด้านการตรวจสอบเครื่องป้องกันอันตรายได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการใช้งาน

2.    ปฏิบัติด้านการตรวจสอบจุดเซ็นเซอร์ป้องกันอัตรายได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการใช้งาน

3.    ปฏิบัติด้านการตรวจสอบสวิทซ์ฉุกเฉินสำหรับหยุดเครื่องพิมพ์ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการใช้งาน

4.    บำรุงรักษาระบบป้องกันอันตรายได้ถูกต้องตามคู่มือการใช้งาน

5.    รายงานความผิดปกติของระบบป้องกันอันตรายของเครื่องพิมพ์ได้

6.    ความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจ

7.    ความพร้อมด้านการเตรียมเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

8.    ตระหนักถึงการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของการปฏิบัติงาน

9.    ติดป้ายหรือแสดงสัญลักษณ์บนภาชนะหรือสถานที่เก็บสารเคมี

10.    เลือกใช้สารเคมีได้

11.    เก็บรักษาสารเคมีและกำจัดสารเคมีได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้พื้นฐานด้านอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร

2.    ระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์ออฟเซต

3.    วิธีการรายงานความผิดปกติของระบบป้องกันอันตรายของเครื่องพิมพ์

4.    ความรู้พื้นฐานด้านอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

5.    ความรู้ด้านการเตรียมความพร้อมส่วนบุคคล

6.    ระเบียบและวินัยในการทำงาน

7.    ความรู้พื้นฐานด้านความปลอดภัยในการใช้สารเคมี

8.    ความรู้ด้านอันตรายจากสารเคมี

9.    ความรู้ด้านการกำจัดสารเคมีและสิ่งที่ปนเปื้อนจากสารเคมี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    ผลการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของหน่วยพิมพ์ตามข้อกำหนดการใช้งานเครื่องพิมพ์และงานพิมพ์

2.    ผลการควบคุมปริมาณการจ่ายน้ำการปรับสมดุลของหน่วยหมึกหน่วยน้ำตามประเภทของกระดาษใช้พิมพ์ และภาพพิมพ์

3.    ผลการควบคุมปริมาณการจ่ายหมึกพิมพ์การปรับสมดุลของหน่วยหมึกหน่วยน้ำตามประเภทของกระดาษใช้พิมพ์ และภาพพิมพ์

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    โครงสร้างของส่วนป้อนของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่น

2.    ระบบการทำงานของส่วนป้อนของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่น

3.    ระบบหมึกพิมพ์ของส่วนพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่น

4.    ระบบความชื้นของส่วนพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่น

5.    ระบบพิมพ์ของส่วนพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่น

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

N/A



(ง)    วิธีการประเมิน

N/A

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    การตรวจสอบเครื่องป้องกัน ได้แก่ สภาพมั่นคงและแข็งแรงพร้อมใช้งาน ตำแหน่งที่ถูกต้อง เครื่องป้องกันไม่ถูกถอดออกหรือถูกปิดระบบ

2.    การตรวจสอบจุดเซ็นเซอร์ป้องกันอันตราย ได้แก่ สภาพพร้อมทำงาน การทำงานเป็นปกติ

3.    การตรวจสอบสวิทซ์ฉุกเฉินสำหรับหยุดเครื่องพิมพ์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ต้องมีสภาพพร้อมใช้งานทุกจุด

4.    การบำรุงรักษาระบบป้องกันอัตรายจากเครื่องพิมพ์ ได้แก่ การดูแลรักษาความสะอาด การใช้งาน และการรายงานผู้ที่เกี่ยวข้องหากเครื่องป้องกันทำงานผิดปกติ

5.    การเตรียมความพร้อมตนเอง ได้แก่ ความพร้อมและความสมบูรณ์ด้านร่างกายและจิตใจ

6.    เครื่องป้องกันอัตรายส่วนบุคคล ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านเครื่องแต่งกาย เช่น ถุงมือ รองเท้า ผ้าปิดปาก ปิดจมูก เครื่องป้องกันเสียง เป็นต้น

7.    ระเบียบและวินัยในการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับเครื่องจักร ได้แก่ การปฏิบัติตามข้อควรระวังและข้อห้ามต่าง ๆ ในการทำงาน

8.    สารเคมีที่ใช้ในการทำงานด้านการพิมพ์ ได้แก่ หมึกพิมพ์ น้ำมัน น้ำยาหรือสารเคมีเพื่อทำความสะอาดเครื่องพิมพ์และร่างกาย น้ำยาฟาวน์เทน รวมถึงเศษวัสดุต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนกับสารเคมี เป็นต้น

9.    สารเคมีทุกชนิดต้องได้รับการติดป้ายหรือแสดงสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอันตราย

10.    การเก็บรักษาให้เป็นไปตามมาตรฐานโรงพิมพ์และตามวิธีการที่ผู้ผลิตกำหนด

11.    การเลือกใช้สารเคมีต่าง ๆ ให้คำนึงถึง การเลือกประเภทให้ถูกต้องกับการใช้งาน ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น

12.    การกำจัดสารเคมีให้เป็นไปตามมาตรฐานโรงพิมพ์และตามวิธีการที่ผู้ผลิตกำหนด

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

 18.1 การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

 18.2 การทดสอบโดยการประเมินการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

 18.3 การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)



ยินดีต้อนรับ