หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาบุคลากรและส่งเสริมบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-JTJU-588A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาบุคลากรและส่งเสริมบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานพิมพ์ดิจิทัล (Digital Printing Operator)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะเกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการถ่ายทอดความรู้ และการสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ และใช้โปรแกรมทางด้านการพิมพ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพ งานพิมพ์ดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30208.1

การถ่ายทอดความรู้และการสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์และใช้โปรแกรมทางด้านการพิมพ์ได้ 

3.1 การวางแผนการผลิต

30208.1.01 184367
30208.1

การถ่ายทอดความรู้และการสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์และใช้โปรแกรมทางด้านการพิมพ์ได้ 

3.2 ควบคุมแผนการทำงาน และติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

30208.1.02 184368
30208.1

การถ่ายทอดความรู้และการสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์และใช้โปรแกรมทางด้านการพิมพ์ได้ 

3.3 ป้องกันปัญหาของเครื่องจักร และวัสดุทางการพิมพ์

30208.1.03 192340
30208.1

การถ่ายทอดความรู้และการสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์และใช้โปรแกรมทางด้านการพิมพ์ได้ 

3.4 จัดหาวัสดุที่เหมาะสมกับเครื่องจักร และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร

30208.1.04 192341
30208.2

การประเมินประสิทธิภาพการถ่ายทอดองค์ความรู้

2.1 วัดและประเมินผลการเรียน

30208.2.01 184369
30208.2

การประเมินประสิทธิภาพการถ่ายทอดองค์ความรู้

2.2 วางแผนการพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน

30208.2.02 184370

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

เทคนิคการถ่ายทอดความรู้ การสอนงาน การประเมินประสิทธิภาพการถ่ายทอดองค์ความรู้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การเขียนแผนการพัฒนาบุคลากร

2.    การกำหนดนโยบาย วิธีการ และเขียนแผนการทำงานเป็นทีม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

การบริหารทรัพยากรมนุษย์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    ด้านความรู้

    ผลการสอบ

    ด้านทักษะ

    แบบบันทึกการสัมภาษณ์และคะแนนการสัมภาษณ์ (checklist การสัมภาษณ์)

    ด้านพฤติกรรม (จิตพิสัย)

    แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 3 ปี มีประสบการณ์การบริหาร การเขียนแผนการทำงาน หรือการนำทีม มีการกำหนดสถานการจำลองที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน

 (ง) วิธีการประเมิน

    ด้านความรู้

    ข้อสอบปรนัย

    ด้านทักษะ

    สัมภาษณ์

    ด้านพฤติกรรม (จิตพิสัย)

    สังเกตพฤติกรรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1.    การดูแลบุคลากร ได้แก่ การกำหนดค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่พนักงาน

2.    การวางแผนบุคลากร เช่น การกำหนดตัวบุคคลในการปฏิบัติงาน การนำแนวทางมาใช้

3.    การพัฒนาบุคลากร เช่น การฝึกอบรม การส่งเสริมการศึกษาต่อ การดูงาน

4.    การทำงานเป็นทีม คือ การประสานการทำงานของบุคคลในแผนกต่างๆ

5.    แนวทาง เช่น กิจกรรม 5ส Kaizen, Kanban

    (ก) คำแนะนำ

    N/A

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤติกรรมปรากฏในคู่มือการประเมินสมรรถนะบุคคล 



ยินดีต้อนรับ