หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการผลิตและแก้ไขปัญหา

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-DFHW-587A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการผลิตและแก้ไขปัญหา

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานพิมพ์ดิจิทัล (Digital Printing Operator)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะเกี่ยวข้องกับทักษะ, ความรู้ที่จำเป็นในการตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นงานตามใบสั่งและความรู้ที่จำเป็นในการวางแผนการผลิตงานพิมพ์ และแก้ปัญหาการผลิตงานพิมพ์ดิจิทัล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพ งานพิมพ์ดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30207.1

วางแผนการผลิตงานพิมพ์ดิจิทัล

1.1 วางแผนกระบวนการผลิตงานพิมพ์ดิจิตอลให้สอดคล้องกับกำลังการผลิต

30207.1.01 184358
30207.1

วางแผนการผลิตงานพิมพ์ดิจิทัล

1.2 ควบคุม ดูแล กระบวนการผลิตงานพิมพ์ดิจิทัลตามแผนการทำงาน

30207.1.02 184359
30207.2

แก้ปัญหาการผลิตงานพิมพ์ดิจิทัล

2.1 วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านงานพิมพ์ดิจิทัลให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

30207.2.01 184360
30207.2

แก้ปัญหาการผลิตงานพิมพ์ดิจิทัล

2.2 กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหางานพิมพ์ดิจิทัลได้

30207.2.02 184361
30207.2

แก้ปัญหาการผลิตงานพิมพ์ดิจิทัล

2.3 วางแผนป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำของงานพิมพ์ดิจิทัลได้

30207.2.03 184362
30207.3

ควบคุมการวางแผนการผลิต

3.1 การวางแผนการผลิต

30207.3.01 184363
30207.3

ควบคุมการวางแผนการผลิต

3.2 ควบคุมแผนการทำงาน และติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

30207.3.02 184364
30207.3

ควบคุมการวางแผนการผลิต

3.3 ป้องกันปัญหาของเครื่องจักร และวัสดุทางการพิมพ์

30207.3.03 184365
30207.3

ควบคุมการวางแผนการผลิต

3.4 จัดหาวัสดุที่เหมาะสมกับเครื่องจักร และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร

30207.3.04 184366

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เกี่ยวกับหลักการวางแผนการผลิต ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหาทางการพิมพ์ดิจิทัล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถวางแผนการผลิต

2.    ความสามารถในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปตามแผน

3.    มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา

4.    การจัดทำเอกสารสรุปการผลิต ปัญหาที่เกิด และใบรายงานประสิทธิภาพการทำงาน

5.    การวางแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

6.    การเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับเครื่องจักร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับหลักการวางแผนการผลิต

2.    ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหา

3.    การวางแผนการผลิตงานพิมพ์ สถิติ และเครื่องมือในการวิเคราะห์

4.    ขั้นตอนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรทางด้านทางการพิมพ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    ด้านความรู้

    ผลการสอบ

    ด้านทักษะ

    แบบบันทึกการสัมภาษณ์และคะแนนการสัมภาษณ์ (checklist การสัมภาษณ์)

    ด้านพฤติกรรม (จิตพิสัย)

    แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 

3 ปี สามารถสร้างแผนการผลิต แผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการประเมิน    จะต้องมีการจำลองสถานการที่เหมาะสม

    (ง) วิธีการประเมิน

    ด้านความรู้

    ข้อสอบปรนัย

    ด้านทักษะ

    สัมภาษณ์

    ด้านพฤติกรรม (จิตพิสัย)

    สังเกตพฤติกรรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

N/A

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    กำลังการผลิต คือ ความสามารถในการผลิตงานพิมพ์ดิจิทัลขององค์กร

2.    แผนการทำงาน คือ ตารางการทำงานของบุคลากร และเครื่องจักรในองค์กร

3.    ปัญหาด้านงานพิมพ์ดิจิทัล เช่น ปัญหาเรื่องรูปภาพ ตัวอักษร เป็นต้น

4.    ผลการผลิต เช่น จำนวนผลิต จำนวนเผื่อเสีย จำนวนของเสีย ปัญหาในการผลิตและการแก้ไข

5.    ควบคุมแผนการทำงาน คือ ควบคุมตารางการทำงานของบุคลากรและเครื่องจักรให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

6.    ปัญหาของเครื่องจักร เช่น เครื่องหยุดทำงานขณะใช้งานปกติ

7.    วัสดุทางการพิมพ์ เช่น แม่พิมพ์ กระดาษชนิดต่าง ๆ ชนิดของพลาสติก

8.    เครื่องจักรทางการพิมพ์ เช่น เครื่องผลิตแม่พิมพ์ เครื่องพิมพ์ดิจิทัล เป็นต้น

9.    เครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น  การวิเคราะห์โดยใช้ความถี่ในการเกิดปัญหา (Pareto Chart) การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแนวคิด 4M (Man, Machine, Material, Method) เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤติกรรมปรากฏในคู่มือการประเมินสมรรถนะบุคคล 



ยินดีต้อนรับ