หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานพิมพ์ดิจิทัลขั้นสูง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-XPFT-583A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานพิมพ์ดิจิทัลขั้นสูง

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานพิมพ์ดิจิทัล (Digital Printing Operator)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะเกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการจัดการสีขั้นสูง และกำหนดรูปแบบตัวอย่างชิ้นงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพ งานพิมพ์ดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30203.1

ปฏิบัติงานด้านการจัดการสีขั้นสูง

1.1 พิมพ์ test chart และ อ่านค่าสีได้

30203.1.01 184338
30203.1

ปฏิบัติงานด้านการจัดการสีขั้นสูง

1.2 ใช้อุปกรณ์/โปรแกรมเสริม (Plug-in) ที่เกี่ยวข้องในการทำระบบการจัดการสีได้อย่างถูกต้อง

30203.1.02 184339
30203.1

ปฏิบัติงานด้านการจัดการสีขั้นสูง

1.3 แก้ปัญหางานพิมพ์ดิจิทัลที่มีการจัดการสีเข้ามาเกี่ยวข้องให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

30203.1.03 184340
30203.1

ปฏิบัติงานด้านการจัดการสีขั้นสูง

1.4 ถ่ายทอดวิธีการผลิตงานพิมพ์ดิจิตอลที่มีการจัดการสีเข้ามาเกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับเครื่องพิมพ์ภายในองค์กร

30203.1.04 184341
30203.2

กำหนดรูปแบบตัวอย่างของชิ้นงาน

2.1 สร้าง Page Layout ของงานพิมพ์ดิจิทัล

30203.2.01 184342
30203.2

กำหนดรูปแบบตัวอย่างของชิ้นงาน

2.2 ขึ้นตัวอย่างชิ้นงานสำเร็จ (mock-up) ตามความต้องการของลูกค้า

30203.2.02 184343

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

การปรับตั้งเครื่องพิมพ์ดิจิทัล โปรแกรมประมวลผล (RIP) ของเครื่องพิมพ์ดิจิทัล โหมดสีของงานพิมพ์และตัวอักษร ระบบการจัดการสี อุปกรณ์วัดค่าสี และวิธีการเลือกใช้ การประเมินปริมาณวัสดุที่ต้องการใช้ในการผลิต วัสดุใช้พิมพ์ วิธีการตรวจสอบวัสดุใช้พิมพ์ และใช้เครื่องมือวัดสี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ปฏิบัติงานด้านการจัดการสี

2.    การวิเคราะห์และแก้ปัญหา

3.    ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิธีการผลิตงานพิมพ์ดิจิทัลที่มีการจัดการสีเข้ามาเกี่ยวข้อง

4.    ใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการทำระบบการจัดการสี

5.    ขึ้นรูปชิ้นงานสำเร็จ

6.    สร้าง page layout ของงานพิมพ์ดิจิทัล 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การจัดการสี

2.    โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการจัดการสี และการกำหนดรูปแบบงานตัวอย่าง

3.    กระบวนการการแก้ปัญหา

4.    งานหลังพิมพ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    ด้านความรู้

    ผลการสอบ

    ด้านทักษะ

    1.1    แบบบันทึกคะแนนรายการตรวจสอบ (checklist)

    1.2    แบบบันทึกคะแนนรายการตรวจสอบ (checklist)

    1.3 แบบบันทึกคะแนนการสังเกต



    ด้านพฤติกรรม (จิตพิสัย)

    แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 3 ปี

    (ง) วิธีการประเมิน

    ด้านความรู้

    ข้อสอบปรนัยและผลการสอบ

    ด้านทักษะ

    1.1    แฟ้มสะสมผลงาน

    1.2    สาธิตการทำงาน

    1.3 สังเกตการปฏิบัติงาน

    ด้านพฤติกรรม (จิตพิสัย)

    สังเกตพฤติกรรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

N/A

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    การแก้ปัญหาการจัดการสี เช่น การปรับตั้งหรือกำหนดการใช้ค่าโปรไฟล์สี (ICC Profile)

2.    อุปกรณ์วัดค่าสี เช่น เครื่องวัดค่าพิกัดสี (spectrophotometer) โปรแกรมการจัดการสี (CMS) เป็นต้น

3.    การถ่ายทอด เช่นการสอนปากเปล่า การจัดทำสื่อการสอน หรือคู่มือ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤติกรรมปรากฏในคู่มือการประเมินสมรรถนะบุคคล 



ยินดีต้อนรับ