หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบความปลอดภัยในการทำงาน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-VRMP-572A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบความปลอดภัยในการทำงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยช่างพิมพ์สกรีน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้เบื้องต้นในความปลอดภัยในการทำงาน การใช้สารเคมี การแต่งกาย การบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์สกรีน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
301081 ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการปฏิบัติงาน 1.1 ระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์สกรีน 301081.01 184258
301081 ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการปฏิบัติงาน 1.2 การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล 301081.02 184259
301082 การดูแลสภาพแวดล้อมสถานที่ปฏิบัติงาน 2.1 รักษาความสะอาดในพื้นที่ปฏิบัติงาน 301082.01 184260
301082 การดูแลสภาพแวดล้อมสถานที่ปฏิบัติงาน 2.2 เก็บรักษาสารเคมีในการพิมพ์สกรีนได้ถูกต้อง 301082.02 184261
301082 การดูแลสภาพแวดล้อมสถานที่ปฏิบัติงาน 2.3 ทิ้งขยะสารเคมีต่างๆได้ถูกต้องตามกฎความปลอดภัยการทำงาน 301082.03 184262

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีประสบการณ์ทำงานด้านการพิมพ์สกรีนมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือจบการศึกษาระดับตั้งแต่ ม.3 ขึ้นไป


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์สกรีน

2. การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

3. ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี

4. การจัดลำดับการใช้อุปกรณ์และสารเคมี

5. การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากสารเคมี 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1.ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี

    2.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเคมีภัณฑ์สำหรับงานพิมพ์สกรีน

    3.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์สกรีนและอุปกรณ์ป้องกันอันตราย

    4.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันอันตราย

    5.ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

    6.ความรู้เรื่องกฎความปลอดภัยในการทำงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. บันทึกรายการจากการสังเกต

    2. บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

    3. การแต่งกายของผู้ปฏิบัติงาน

    4. เอกสารการอบรมความปลอดภัยในการทำงาน

    5. บันทึกสถิติความปลอดภัย และแบบฟอร์มต่าง ๆ 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์และสารเคมีพร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม    

(ง) วิธีการประเมิน

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

    1. ความปลอดภัยในการทำงานการทำงานที่ไม่มีอันตราย ไม่อยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

    2. กฎความปลอดภัย เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน หรือประกาศกระทรวงแรงงาน หรือกฎที่สถานประกอบการกำหนดขึ้น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



ยินดีต้อนรับ