หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การพิมพ์สกรีนและการแก้ไขปัญหาระหว่างการพิมพ์สกรีนขั้นต้น

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-ERXL-569A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การพิมพ์สกรีนและการแก้ไขปัญหาระหว่างการพิมพ์สกรีนขั้นต้น

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยช่างพิมพ์สกรีน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้เบื้องต้นในการพิมพ์ และการแก้ปัญหาระหว่างการพิมพ์สกรีน โดยทำตามขั้นตอนและวิธีการที่สถานประกอบการกำหนด โดยมีการควบคุมดูแลจากหัวหน้าช่าง ตลอดจนดูแลทำความสะอาดเครื่องพิมพ์หลังพิมพ์งานเสร็จ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์สกรีน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
301051 ปฏิบัติการพิมพ์สกรีน 1.1 ป้อนชิ้นงานให้ตรงตำแหน่งพิมพ์ 301051.01 184229
301051 ปฏิบัติการพิมพ์สกรีน 1.2 เติมหมึกพิมพ์สกรีน 301051.02 184230
301051 ปฏิบัติการพิมพ์สกรีน 1.3 ควบคุมการกลบและปาดหมึกพิมพ์ 301051.03 184231
301051 ปฏิบัติการพิมพ์สกรีน 1.4 นำสิ่งพิมพ์ออกจากแท่นพิมพ์  301051.04 184232
301051 ปฏิบัติการพิมพ์สกรีน 1.5 ทำความสะอาดแม่พิมพ์สกรีนขณะพิมพ์งาน 301051.05 184233
301052 การทำแห้งสิ่งพิมพ์ 2.1 ทำแห้งสิ่งพิมพ์ตามใบสั่งงาน 301052.01 184234
301052 การทำแห้งสิ่งพิมพ์ 2.2 ตรวจสอบการแห้งตัวของหมึกพิมพ์ 301052.02 184235
301052 การทำแห้งสิ่งพิมพ์ 2.3 จัดวางและจัดเก็บสิ่งพิมพ์ 301052.03 184236
301053 การทำความสะอาดหลังพิมพ์งาน 3.1 ทำความสะอาดแท่นพิมพ์ 301053.01 184237
301053 การทำความสะอาดหลังพิมพ์งาน 3.2 ทำความสะอาดอุปกรณ์การพิมพ์อย่างถูกวิธี 301053.02 184238
301053 การทำความสะอาดหลังพิมพ์งาน 3.3 จัดเก็บอุปกรณ์อย่างถูกวิธี 301053.03 184239
301053 การทำความสะอาดหลังพิมพ์งาน 3.4 จัดเก็บวัสดุเหลือใช้อย่างถูกวิธี 301053.04 184240

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีประสบการณ์ทำงานด้านการพิมพ์สกรีนมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือจบการศึกษาระดับตั้งแต่ ม.3 ขึ้นไป


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  อ่านใบสั่งงานได้

2.  เตรียมกรอบแม่พิมพ์ การทำความสะอาดแม่พิมพ์

3.  การเตรียมหมึกพิมพ์

4.  การพิมพ์สกรีน (การปาด การกลบ) 

5.  การป้อนวัสดุพิมพ์และจัดเก็บชิ้นงาน

6. การทำแห้งของชิ้นงานพิมพ์ 

7. การตรวจสอบการแห้งตัวของหมึกพิมพ์

8. การทำความสะอาดและจัดเก็บวัสดุและอุปกรณ์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์สกรีน

2.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหมึกพิมพ์สกรีน 

3.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำความสะอาดกรอบแม่พิมพ์สกรีน

4.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดเก็บชิ้นงานให้เหมาะสม

5.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเคมีภัณฑ์สำหรับงานพิมพ์สกรีน

6.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจสอบการแห้งตัวของหมึกพิมพ์

7.    หลักการทำความสะอาดเครื่องพิมพ์และการกำจัดเคมีภัณฑ์ในการพิมพ์สกรีน

8.    หลักการเก็บรักษาวัสดุ และอุปกรณ์อย่างถูกวิธี

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. บันทึกรายการจากการสังเกต

    2. บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

    3. ใบรวบรวมสถิติการพิมพ์และจำนวนของเสีย

    4. งานพิมพ์ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติตรงตามใบสั่งงาน

    5. งานพิมพ์มีคุณภาพตรงตามใบสั่งงานที่ระบุ

    6. ความสะอาดของเครื่องพิมพ์และบริเวณพื้นที่พิมพ์หลังการทำงาน

    7. วัสดุและอุปกรณ์ที่ได้รับการจัดเก็บอย่างถูกวิธี

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

    การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์และสารเคมีพร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม    

(ง) วิธีการประเมิน

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1. การพิมพ์สกรีน คือขั้นตอนการพิมพ์งานตั้งแต่เริ่มทำความสะอาดแม่พิมพ์ การใส่หมึก การปรับตั้งต่าง ๆ จนถึงขั้นตอนเอาการจัดวางและจัดเก็บสิ่งพิมพ์

2. การตรวจสอบการแห้งตัวของหมึกพิมพ์ เป็นการตรวจสอบการแห้งตัวอย่างง่าย เช่นการใช้การสังเกตอย่างง่าย 

3. การพิมพ์สกรีน เป็นภาพลายเส้น พื้นตาย เท่านั้น

4. การป้อนวัสดุพิมพ์ เป็นการป้อนวัสดุพิมพ์ให้ได้ฉาก และพร้อมสำหรับการพิมพ์ 

5. การจัดเก็บชิ้นงาน จะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง ป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ฝุ่น การซ้อนทับของงานพิมพ์ เป็นต้น

6. การปาดและกลบหมึกพิมพ์ จะต้องทำตามขั้นตอน ใช้ความเร็วสม่ำเสมอ เพื่อให้งานพิมพ์ที่ได้มีคุณภาพ และความหนาของหมึกตรงตามค่าที่กำหนดเอาไว้

7. การทำความสะอาดเครื่องพิมพ์และบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน ต้องปฏิบัติตามหลักการทำงานของสถานประกอบการ และหลักการทำความสะอาด

8. วัสดุเหลือใช้ ได้แก่ วัสดุใช้พิมพ์ หมึกพิมพ์ สารเคมีต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการพิมพ์

9. การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

       N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



ยินดีต้อนรับ