หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมงานก่อนพิมพ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-XFEB-575A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมงานก่อนพิมพ์

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์สกรีน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ในการเตรียมแม่พิมพ์และตรวจสภาพแม่พิมพ์   การเตรียมหมึกพิมพ์สกรีน สามารถปฏิบัติงานด้วยตนเอง ตามขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้องและสามารถตรวจสอบหมึกพิมพ์ตามข้อกำหนดที่ระบุเอาไว้ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์สกรีน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
301021

ผสมหมึกพิมพ์

1.1 ผสมหมึกพิมพ์สกรีนให้ตรงตามที่กำหนด

301021.01 184277
301021

ผสมหมึกพิมพ์

1.2 ตรวจสอบหมึกพิมพ์สกรีนให้ตรงตามที่กำหนด

301021.02 184278
301022

เตรียมแม่พิมพ์

2.1  การเตรียมลำดับแม่พิมพ์ในการพิมพ์

301022.01 184279
301022

เตรียมแม่พิมพ์

2.2 ตรวจสอบสภาพแม่พิมพ์สกรีน  

301022.02 184280
301023

เตรียมแปรงปาดและแปรงกลบหมึกพิมพ์

3.1 ตรวจสอบสภาพแปรงปาดและแปรงกลบ

301023.01 184281
301023

เตรียมแปรงปาดและแปรงกลบหมึกพิมพ์

3.2  ติดตั้งยางปาดเข้ากับด้ามแปรงปาด

301023.02 184282
301023

เตรียมแปรงปาดและแปรงกลบหมึกพิมพ์

3.3 ลับคมยาง

301023.03 184283

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีประสบการณ์ทำงานด้านการพิมพ์สกรีนมาไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือจบการศึกษาระดับตั้งแต่ ม.6 ขึ้นไป และผ่านหน่วยสมรรถนะ 30108 ความปลอดภัยในการทำงาน (ในกรณีผู้เข้าทดสอบไม่ผ่านหน่วยสมรรถนะ 30108 ความปลอดภัยในการทำงานมาก่อน ให้จัดการทดสอบร่วมกับการสอบสมรรถนะนี้)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  การผสมหมึกพิมพ์

2.  การตรวจสอบหมึกพิมพ์

3.  การอ่านค่าและการตรวจสอบหมึกพิมพ์

4.  การตรวจสอบแม่พิมพ์

5.  การอ่านองศาสกรีนและองศาผ้าสกรีน

6.  การจัดลำดับการพิมพ์งาน

7.  การตรวจสอบแปรงปาดและแปรงกลบ

8.  การติดตั้งแปรงปาดและแปรงกลบ

9.  การลับคมยาง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เรื่องหมึกพิมพ์

2.    ความรู้การตรวจสอบหมึกพิมพ์

3.    ความรู้เกี่ยวกับแม่พิมพ์สกรีน

4.    ความรู้เรื่องการตรวจสอบแม่พิมพ์

5.    ความรู้เรื่องลำดับการพิมพ์และปัจจัยที่ส่งผล

6.    ความรู้เรื่องแปรงปาดและแปรงกลบหมึกพิมพ์พิมพ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. บันทึกรายการจากการสังเกต

    2. บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

    3. หมึกพิมพ์ที่ได้เตรียมตามใบสั่งงาน

    4. ผลการบันทึกค่าการตรวจสอบหมึกพิมพ์

    5. แม่พิมพ์ที่ผ่านการตรวจสอบและมีการจัดลำดับการพิมพ์

    6. แปรงปาดและแปรงกลบหมึกพิมพ์ที่ติดตั้งเรียบร้อยพร้อมใช้งาน

(ข)     หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์และสารเคมีพร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม    

 (ง) วิธีการประเมิน

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1.    ประเภทของหมึกพิมพ์ ได้แก่ หมึกพิมพ์ฐานน้ำ หมึกพิมพ์ฐานน้ำมัน หมึกพิมพ์พลาสติซอล หมึกพิมพ์ยูวี

2.    องค์ประกอบหลักของหมึกพิมพ์ ได้แก่ สารให้สี ตัวทำละลาย และสารเติมแต่ง

3.    คุณสมบัติของหมึกพิมพ์สกรีน ได้แก่ ความอิ่มตัวสี ความละเอียดสี ความโปร่งแสง ความมันเงา ความหนืด ความทนทานต่อสภาพอากาศ ความทนทานต่อสารเคมี การเกาะติด ความเป็นพิษของหมึกพิมพ์ ลักษณะการไหลของหมึกพิมพ์ ได้แก่ การไหลแบบพลาสติกเทียม การไหลแบบธิกโซโทรปี

4.    ดูสภาพทั่วไปของแม่พิมพ์ คือมีความสมบูรณ์ ไม่มีรอยขาด มีขนาดและเบอร์ผ้าตามใบสั่งงาน

5.    ลำดับการพิมพ์งาน ได้แก่ ลำดับที่เหมาะสมในการพิมพ์งานสกรีนที่มากกว่า 1 สีขึ้นไป โดยพิจารณาจากองศาของผ้าสกรีน องศาของงานพิมพ์ 

6.    แปรงปาดและแปรงกลบหมึกพิมพ์ หมายถึง ด้ามแปรง และยาง 

7.    การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

         N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ



ยินดีต้อนรับ