หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ทำแม่พิมพ์สกรีน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-GQCP-568A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ทำแม่พิมพ์สกรีน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำแม่พิมพ์สกรีนชำนาญการ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    มีความรู้ความชำนาญการในการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำแม่พิมพ์สกรีน โดยมีทักษะการทำแผนบำรุงรักษา และดำเนินการบำรุงรักษาตามแผนที่กำหนด ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเป็นไปตามมาตรฐานของผู้ผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ หรือมาตรฐานของสถานประกอบการ ตลอดจนรายงานประวัติการซ่อมบำรุงเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำแม่พิมพ์สกรีนให้ผู้บริหารทราบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานทำแม่พิมพ์สกรีน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202171

กำหนดแผนการบำรุงรักษา

1.1 ศึกษาคู่มือเครื่องมือและอุปกรณ์

202171.01 184222
202171

กำหนดแผนการบำรุงรักษา

1.2 กำหนดจุด ตำแหน่ง และระยะเวลาการบำรุงรักษา

202171.02 184223
202171

กำหนดแผนการบำรุงรักษา

1.3 กำหนดวิธีการบำรุงรักษา

202171.03 184224
202171

กำหนดแผนการบำรุงรักษา

1.4 ทำแผนการบำรุงรักษา

202171.04 184225
202172

ติดตามและควบคุมการบำรุงรักษา

2.1 ติดตามผลการบำรุงรักษาตามแผนที่กำหนด

202172.01 184226
202172

ติดตามและควบคุมการบำรุงรักษา

2.2 จัดทำรายงานผลการบำรุงรักษา

202172.02 184227
202172

ติดตามและควบคุมการบำรุงรักษา

2.3 จัดทำประวัติการซ่อมบำรุง

202172.03 184228

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพช่างทำแม่พิมพ์สกรีน ระดับ 4 และจบการศึกษาระดับตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป และสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การระบุจุดหรือตำแหน่งการบำรุงรักษา และการกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษา

2.    การเขียนบันทึกและรายงานการบำรุงรักษา

3.    การสังเกตความผิดปกติของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำแม่พิมพ์สกรีน

4.    การจัดเก็บข้อมูลประวัติการซ่อมบำรุงเครื่องมือและอุปกรณ์อย่างเป็นระบบ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักการและความสำคัญของการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์

2.    ส่วนประกอบของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำแม่พิมพ์สกรีน

3.    เทคนิคการทำแผนซ่อมบำรุงเครื่องมือและอุปกรณ์

4.    หลักการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำแม่พิมพ์สกรีน

5.    โครงสร้างและส่วนประกอบของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำแม่พิมพ์สกรีน

6.    การทำงานของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำแม่พิมพ์สกรีน

7.    หลักการเขียนรายงานและบันทึกประวัติการซ่อมบำรุงเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำแม่พิมพ์สกรีน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    บันทึกรายการจากการสังเกต

2.    บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

3.    แผนการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์

4.    รายงานผลการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์

5.    ความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำแม่พิมพ์สกรีน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือพร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม    

(ง) วิธีการประเมิน    

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    การบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำแม่พิมพ์สกรีน ได้แก่ การซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (preventive maintenance) โดยผู้ปฏิบัติงานประจำเครื่อง

2.    ตำแหน่งในการบำรุงรักษา การกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษา และวิธีการบำรุงรักษา ให้เป็นไปตามคู่มือการซ่อมบำรุง

3.    เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุในการบำรุงรักษา ได้แก่ อุปกรณ์ประจำเครื่องและสารหล่อลื่นต่างๆ 

4.    วัสดุและส่วนประกอบต่างๆ ได้แก่ วัสดุและส่วนประกอบที่ต้องเปลี่ยนแปลงตามอายุการใช้งาน เช่น หลอดไฟเครื่องฉายแสงทำแม่พิมพ์ เป็นต้น

5.    การตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำแม่พิมพ์สกรีน ได้แก่ เสียงที่ดังขึ้น ความร้อนที่สูงขึ้น แรงสั่นสะเทือนที่สูงขึ้น หรือ กลิ่นเหม็นไหม้ เป็นต้น

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

N/A    

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ



ยินดีต้อนรับ