หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนวัสดุและควบคุมการใช้วัสดุ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-BSZQ-565A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนวัสดุและควบคุมการใช้วัสดุ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำแม่พิมพ์สกรีนชำนาญการ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ความชำนาญการในการบริหารวัสดุคงคลัง และการควบคุมการใช้วัสดุในการทำแม่พิมพ์สกรีน สามารถจัดทำรายงานผลการใช้วัสดุ และมีการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
 ผู้ประกอบวิชาชีพงานทำแม่พิมพ์สกรีน    

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202141

บริหารวัสดุคงคลัง

1.1 กำหนดรายการวัสดุในการทำแม่พิมพ์

202141.01 184203
202141

บริหารวัสดุคงคลัง

1.2 กำหนดปริมาณการใช้วัสดุในการทำแม่พิมพ์

202141.02 184204
202141

บริหารวัสดุคงคลัง

1.3 กำหนดสภาวะการเก็บรักษาวัสดุที่ถูกต้อง

202141.03 184205
202142

ควบคุมการใช้วัสดุ

2.1 เก็บข้อมูลสถิติการใช้วัสดุ

202142.01 184206
202142

ควบคุมการใช้วัสดุ

2.2 วิเคราะห์แนวโน้มการใช้วัสดุ

202142.02 184207
202142

ควบคุมการใช้วัสดุ

2.3 รายงานปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไขการใช้วัสดุ

202142.03 184208

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพช่างทำแม่พิมพ์สกรีน ระดับ 3 และจบการศึกษาระดับตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป และสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    กำหนดและให้คำแนะนำรายการวัสดุในการทำแม่พิมพ์สกรีนแก่แผนกจัดซื้อ

2.    กำหนดปริมาณการใช้วัสดุในการทำแม่พิมพ์สกรีน

3.    กำหนดแนวทางในการเก็บรักษาวัสดุในการทำแม่พิมพ์ให้ถูกวิธี

4.    การเก็บข้อมูลสถิติ

5.    บริหารจัดการการใช้งานวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับวัสดุและการเก็บรักษาวัสดุในการทำแม่พิมพ์สกรีน

2.    ความรู้ด้านสถิติและคณิตศาสตร์เบื้องต้น

3.    การบริหารวัสดุคงคลัง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    บันทึกรายการจากการสังเกต

2.    บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

3.    แนวทางการบริหารวัสดุคงคลัง

4.    รายงานผลการบริหารวัสดุคงคลัง

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือพร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม    

(ง) วิธีการประเมิน

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ 

1.    การกำหนดรายการวัสดุในการทำแม่พิมพ์ เช่น การกำหนดลักษณะกรอบสกรีน ประเภทกาวอัด ผ้าสกรีน เคมีภัณฑ์ในการทำแม่พิมพ์สกรีน เป็นต้น 

2.    การกำหนดปริมาณการใช้ครอบคลุมถึงการกำหนดปริมาณเผื่อเสียในการผลิต เช่น การกำหนดปริมาณการผสมกาวอัด หรือเคมีภัณฑ์อื่นๆ ในการทำแม่พิมพ์สกรีน

3.     การกำหนดสภาวะการเก็บรักษาวัสดุในการทำแม่พิมพ์สกรีนให้เป็นไปตามหลักวิชาการและคู่มือการใช้งานวัสดุ

4.    การเก็บสถิติและการวิเคราะห์แนวโน้มการใช้วัสดุในการทำแม่พิมพ์สกรีน มีเป้าหมายในการบริหารวัสดุคงคลัง และการควบคุมต้นทุนในการทำแม่พิมพ์สกรีน

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

N/A        

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ



ยินดีต้อนรับ