หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินผลและวางแผนการปรับปรุงคุณภาพการผลิต

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-AOBK-552A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินผลและวางแผนการปรับปรุงคุณภาพการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
N/A

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20111.1

พัฒนาคุณภาพการผลิต

1.1 ตรวจสอบ และวิเคราะห์กระบวนการทำงาน

20111.1.01 184109
20111.1

พัฒนาคุณภาพการผลิต

1.2 พัฒนาการทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้


20111.1.02 184110
20111.1

พัฒนาคุณภาพการผลิต

1.3 ประเมินผลความคืบหน้าของการผลิตงานพิมพ์


20111.1.03 184111
20111.2

นำเสนอข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร

2.1 ทำรายงานเพื่อนำเสนอข้อมูลประสิทธิภาพการผลิต

20111.2.01 184112
20111.2

นำเสนอข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร

2.2 ให้ข้อเสนอแนะกับผู้บริหาร


20111.2.02 184113
20111.3

ควบคุมวางแผนการผลิต

3.1 ควบคุมแผนการทำงาน และติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

20111.3.01 184114
20111.3

ควบคุมวางแผนการผลิต

3.2 ป้องกันปัญหาของเครื่องจักร และวัสดุทางการพิมพ์


20111.3.02 184115
20111.3

ควบคุมวางแผนการผลิต

3.3 จัดหาวัสดุที่เหมาะสมกับเครื่องจักร

20111.3.03 184116

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้, สามารถจดบันทึกคำภาษาอังกฤษได้ หรือผ่านการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป

2. ผ่านคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระดับ 4

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การตรวจสอบ และผลบันทึกการวิเคราะห์กระบวนการทำงาน

2.    ใบรายงานผล/สรุปการประเมินความก้าวหน้าในกระบวนการผลิต

3.    จัดทำรายงานประสิทธิภาพการผลิต

4.    จัดทำเอกสารเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิต

5.    จัดทำเอกสารสรุปการผลิต ปัญหาที่เกิด และใบรายงานประสิทธิภาพการทำงาน

6.    การวางแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

7.    เลือกวัสดุให้เหมาะสมกับเครื่องจักร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การวิเคราะห์กระบวนการทำงาน

2.    การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการผลิต

3.    สถิติ และเครื่องมือในการประเมินผล

4.    ประสิทธิภาพ และกำลังการผลิต

5.    ขั้นตอนการผลิตงานพิมพ์

6.    การวางแผนการผลิตงานพิมพ์ สถิติ และเครื่องมือในการวิเคราะห์

7.    ขั้นตอนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรทางด้านทางการพิมพ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    ผลการตรวจสอบ การวิเคราะห์กระบวนการทำงาน และใบสรุปผลการประเมินความก้าวหน้าในกระบวนการผลิต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 3 ปี สามารถวิเคราะห์กระบวนการทำงาน  การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการผลิต ใบสรุปผลการประเมินความก้าวหน้าในกระบวนการผลิต มีการกำหนดสถานการจำลองที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน

 (ง) วิธีการประเมิน

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือแผนการพัฒนากระบวนการทำงาน การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1.    การดูแลบุคลากร ได้แก่ การกำหนดค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่พนักงาน

2.    การวางแผนบุคลากร เช่น การกำหนดตัวบุคคลในการปฏิบัติงาน การนำแนวทางมาใช้

3.    การพัฒนาบุคลากร เช่น การฝึกอบรม การส่งเสริมการศึกษาต่อ การดูงาน

4.    การทำงานเป็นทีม คือ การประสานการทำงานของบุคคลในแผนกต่าง ๆ

5.    แนวทาง เช่น กิจกรรม 5ส Kaizen, Kanban

6.    เขียนรายงานประสิทธิภาพการผลิต เช่น การสรุปข้อมูลการผลิตในรูปแบบกราฟ หรือแผนภูมิ

7.    จัดทำข้อเสนอแนะ เช่น คำแนะนำ ข้อดีข้อเสีย และคาดการณ์แนวโน้ม

8.    ควบคุมแผนการทำงาน คือ ควบคุมตารางการทำงานของบุคลากรและเครื่องจักรให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

9.    ปัญหาของเครื่องจักร เช่น เครื่องหยุดทำงานขณะใช้งานปกติ

10.    วัสดุทางการพิมพ์ เช่น แม่พิมพ์ กระดาษชนิดต่าง ๆ ชนิดของพลาสติก

11.    เครื่องจักรทางการพิมพ์ เช่น เครื่องผลิตแม่พิมพ์ เครื่องพิมพ์ดิจิทัล เป็นต้น

12.    เครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น  การวิเคราะห์โดยใช้ความถี่ในการเกิดปัญหา (Pareto Chart) การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแนวคิด 4M (Man, Machine, Material, Method) เป็นต้น

    (ก) คำแนะนำ

            N/A

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

            N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



ยินดีต้อนรับ