หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-GGCD-543A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
N/A

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20102.1

ปรับตั้งแก้ไขไฟล์ต้นฉบับโดยใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์

1.1 แก้ไขขนาดงาน แก้ไขชนิดและขนาดของตัวอักษร และสามารถจัดการรูปภาพที่มีการเชื่อมโยง (link) ได้อย่างถูกต้อง


20102.1.01 184060
20102.1

ปรับตั้งแก้ไขไฟล์ต้นฉบับโดยใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์

1.2 เปลี่ยนแปลงแก้ไข (change/convert file) และการจัดเก็บไฟล์งาน (save file) ได้ถูกต้องตามชนิดของกระบวนการทำงานที่จะดำเนินการต่อ


20102.1.02 184061
20102.1

ปรับตั้งแก้ไขไฟล์ต้นฉบับโดยใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์

1.3 ออกแบบและแก้ไขการตัดตก (bleeding) ของไฟล์งานได้อย่างถูกต้อง

20102.1.03 184062
20102.1

ปรับตั้งแก้ไขไฟล์ต้นฉบับโดยใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์

1.4 จัดการชดเชยการพิมพ์เหลื่อม (trapping) ของงานพิมพ์สีได้อย่างถูกต้อง


20102.1.04 184063
20102.2

ตรวจสอบความถูกต้องของรูปภาพงานพิมพ์

2.1 จัดการเรื่องความละเอียดของรูปภาพ (resolution) และภาพลายเส้นได้อย่างถูกต้อง

20102.2.01 184064
20102.3

ปรับแก้ไขโทนการผลิตภาพสีและการใช้โปรไฟล์สี

3.1 ปฏิบัติการปรับแก้ไขโทนการผลิตภาพสี (tone and color corrections) ได้อย่างถูกต้อง


20102.3.01 184065
20102.3

ปรับแก้ไขโทนการผลิตภาพสีและการใช้โปรไฟล์สี

3.2 แก้ไขโหมดสีของไฟล์งาน จัดการแก้ไขและฝังค่าโปรไฟล์สีของงานพิมพ์ได้ถูกต้องตามมาตรฐานทางการพิมพ์และชนิดของวัสดุใช้พิมพ์

20102.3.02 184066
20102.4

กำหนดรูปแบบชิ้นงานให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์

4.1 ออกแบบไฟล์งานให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์ หรือความต้องการของลูกค้า

20102.4.01 184067

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้หรือผ่านการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้

2. ผ่านหน่วยสมรรถนะ 20101 ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์แก้ไขงาน ทั้งเรื่องของชนิด ขนาดตัวอักษร การจัดการรูปภาพที่มีการเชื่อมโยง (link)การเปลี่ยนแปลงแก้ไข (change/convert file) และการจัดเก็บไฟล์งาน (save file)

2.    ออกแบบและแก้ไขการตัดตก (bleeding) ไฟล์งาน

3.    การกำหนดการซ้อนทับของสี (trapping)

4.    การจัดการไฟล์รูปภาพและรายละเอียดของไฟล์งานพิมพ์

5.    การใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์ปรับแก้ไขโทนการผลิตภาพสี (tone and color corrections) การแก้ไขโหมดสีของไฟล์งาน และการเปลี่ยนค่าโปรไฟล์สีของงานพิมพ์ได้

6.    การใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์ปรับตั้งไฟล์ตามมาตรฐานทางการพิมพ์

7.    การใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์จัดการออกแบบไฟล์งานในเรื่องของงานหลังพิมพ์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านงานก่อนพิมพ์

2.    การปรับตั้งและแก้ไขไฟล์งาน และเทคนิคการทำไฟล์งานพิมพ์

3.    รายละเอียด (resolution) ของไฟล์รูปภาพสำหรับงานพิมพ์

4.    โปรแกรมงานก่อนพิมพ์ในเรื่องการปรับตั้งและจัดการสี

5.    โหมดสีและค่าโปรไฟล์สีของงานพิมพ์

6.    มาตรฐานทางการพิมพ์

7.    โปรแกรมงานก่อนพิมพ์ในเรื่องการกำหนดรูปแบบงานหลังพิมพ์

8.    ขั้นตอนของงานหลังพิมพ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    หลักฐานการบันทึกวีดีโอ หรือผลจากการสังเกตการณ์ในการใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์จัดการไฟล์งาน การจัดการกับภาพที่มีการเชื่อมโยง (link) การเปลี่ยนแปลงแก้ไข (change/convert file) วิธีการจัดเก็บไฟล์งาน (save file) และการใช้เทคนิคการชดเชยการพิมพ์เหลื่อม

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2 ปี มีการเตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องให้พร้อมใช้งาน มีการกำหนดสถานการจำลองที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน

(ง) วิธีการประเมิน

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือไฟล์ต้นฉบับที่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1.    ปรับตั้งและแก้ไขงานในเรื่องของตัวอักษร รูปภาพ การฝังการเชื่อมโยงรูปภาพ ( Link ) โดยใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์บนคอมพิวเตอร์

2.    การจัดเก็บไฟล์งานให้ถูกต้องตามชนิดของกระบวนการทำงานที่จะดำเนินการต่อ เช่น การแปลงรูปภาพให้นำไปทำต้นฉบับทางการพิมพ์ได้ หรือการเปลี่ยนไฟล์งานให้สามารถเปิดบนโปรแกรมเฉพาะทางด้านการพิมพ์

3.    ออกแบบการตัดตก (bleeding) ได้แก่ การออกแบบหรือแก้ไขขนาดสิ่งพิมพ์ในไฟล์งานให้สอดคล้องกับกระบวนการงานหลังพิมพ์ในเรื่องการตัด การเจียนและการเก็บเล่ม

4.    ชดเชยการพิมพ์เหลื่อม (trapping) ได้แก่ การกำหนดรูปแบบและระยะการซ้อนทับของสีเข้มทับบนสีอ่อนเพื่อป้องกันปัญหาการพิมพ์เหลื่อม

5.    ความละเอียด (resolution) ของรูปภาพและภาพลายเส้น ได้แก่ ไฟล์รูปภาพที่สามารถนำไปทำแม่พิมพ์แล้วภาพมีความคมชัดไม่แตก สามารถนำไปพิมพ์งานที่มีคุณภาพสูงได้

6.    โทนการผลิตภาพสี ได้แก่ โทนภาพสว่าง โทนกลาง และโทนมืด ( tone reproduction )

7.    โหมดสีของไฟล์ทางด้านการพิมพ์ ได้แก่ โหมดสี CMYK RGB bitmap แพนโทน (pantone) หรือ โหมดสีพิเศษ

8.    ค่าโปรไฟล์สี ได้แก่ ข้อมูลลักษณะเฉพาะของสีบนวัสดุใช้พิมพ์แต่ละประเภท

9.    มาตรฐานทางการพิมพ์ เช่น ISO 12647-2 / มอก. 2260 เล่ม 2-2551 มาตรฐานทางด้านการควบคุมกระบวนการการผลิตในงานแยกสีฮาล์ฟโทน ปรู๊ฟ และพิมพ์เล่ม 2 กระบวนการพิมพ์ออฟเซต, มาตรฐานการพิมพ์ที่ควบคุมสมดุลเทา (GRACoL 7) และมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

10.    งานหลังพิมพ์ เช่น รูปแบบการพับงานพิมพ์ การตัด เจียนแบบต่าง ๆ ปั๊มขาด ดุนนูน และกระบวนการวิธีการเข้าเล่มแบบต่าง ๆ เช่น การเข้าเล่มแบบไสสันทากาว เย็บมุงหลังคา เป็นต้น

    (ก) คำแนะนำ

            N/A

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

            N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือไฟล์ต้นฉบับที่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



ยินดีต้อนรับ