หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจแก้สายกระจายใยแก้วนำแสงประยุกต์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-HIGL-453B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจแก้สายกระจายใยแก้วนำแสงประยุกต์

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างโครงข่ายปลายทางด้านเครือข่ายใยแก้วนำแสง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถเตรียมการตรวจแก้ ตรวจสอบเหตุเสีย วิเคราะห์ปัญหา แก้ไขปัญหาและทดสอบผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาการสื่อสารโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
3521 ช่างเทคนิคด้านการแพร่ภาพกระจายเสียงและโสตทัศนูปกรณ์3522 ช่างเทคนิควิศวกรโทรคมนาคม7422 ช่างติดตั้งและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20306.01 เตรียมการตรวจแก้ 1.1 ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล 20306.01.01 184854
20306.01 เตรียมการตรวจแก้ 1.2 เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือ 20306.01.02 184855
20306.01 เตรียมการตรวจแก้ 1.3 ติดต่อลูกค้าขออนุญาตเข้าปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานการให้บริการลูกค้าของผู้ให้บริการ 20306.01.03 184856
20306.02 ตรวจสอบเหตุเสียและวิเคราะห์ปัญหา 2.1 สวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 20306.02.01 184857
20306.02 ตรวจสอบเหตุเสียและวิเคราะห์ปัญหา 2.2 ติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัย 20306.02.02 184858
20306.02 ตรวจสอบเหตุเสียและวิเคราะห์ปัญหา 2.3 ตรวจสอบเหตุเสีย 20306.02.03 184859
20306.02 ตรวจสอบเหตุเสียและวิเคราะห์ปัญหา 2.4 วิเคราะห์ปัญหาและหาสาเหตุเสีย 20306.02.04 184860
20306.03 แก้ไขปัญหาและทดสอบผล 3.1 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 20306.03.01 184861
20306.03 แก้ไขปัญหาและทดสอบผล 3.2 ทดสอบผลการแก้ไข 20306.03.02 184862

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลในการตรวจแก้

2.  ทักษะการใช้บันได เช่น การยกลงจากรถ การยกขึ้นยกลง การเคลื่อนย้าย การพาด การขึ้น การยืนปฏิบัติงาน การลง การเก็บ เป็นต้น 

3.  ทักษะความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูงและใกล้สายไฟฟ้า

4.  ทักษะการใช้เครื่องมือตรวจสอบเหตุเสียต่าง เช่น Optical Power Meter, PON Power Meter, OTDR, Visual Fault Locator, Inspection Microscope

5.  ทักษะการซ่อมสายกระจายใยแก้วนำแสง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่จำเป็นในการตรวจแก้

2.  ความรู้เกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจแก้

3.  ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

4.  ความรู้เกี่ยวกับวิธีการวัดกำลังและการลดทอนสัญญาณแสง

5.  ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคำนวณค่าการลดทอนสัญญาณแสง และวิเคราะห์ประเมินคุณภาพสัญญาณ

6.  ความรู้เกี่ยวกับวิธีการซ่อมสายกระจายใยแก้วนำแสง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ผลจากการทดสอบ

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1.  ผลจากการทดสอบ

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

    ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

    1.  การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบทดสอบภาคปฏิบัติ

    2.  ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้ผลจากแบบทดสอบภาคทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)  คำแนะนำ

     ไม่มี

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

1.  วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ เช่น สายกระจายใยแก้วนำแสง อุปกรณ์ต่อสายกระจายใยแก้วนำแสง เป็นต้น

2.  เครื่องมือที่ใช้ เช่น Optical Power Meter, PON Power Meter, OTDR, Visual Fault Locator, Inspection Microscope เป็นต้น

3.  สวมใส่และติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพการทำงาน และเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

4.  ตรวจสอบเหตุเสีย  โดยอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เช่น Optical Power Meter, PON Power Meter, OTDR, Visual Fault Locator, Inspection Microscope

5.  กรณีเกิดเหตุเสียกับสายกระจายใยแก้วนำแสงอาจมีการติดตั้งสายใหม่ หรือซ่อมแซมจุดที่เสียหาย โดยขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ให้บริการแต่ละราย หรือขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น สายมีระยะทางไกล ติดตั้งสายใหม่ยาก เป็นต้น

6.  วัดกำลังแสงจาก OLT ทั้งที่จุดต้นทางและปลายทางของสายกระจายใยแก้วนำแสง โดยต้นทาง วัดกำลังแสงที่ออกจากพอร์ตที่กำหนดในตู้พักปลายทาง และที่ปลายทางวัดกำลังแสงที่ปลายสายกระจายใยแก้วนำแสงที่เข้าหัวคอนเนคเตอร์แล้วโดยใช้ Optical Power Meter

7.  วัดการสูญเสียของสัญญาณแสงของสายกระจายใยแก้วนำแสง โดยรวมคอนเนคเตอร์ทั้งสองด้าน

8.  กำลังแสงที่ตู้พักปลายทางและที่บ้านลูกค้าต้องมีค่าไม่ต่ำกว่าที่ผู้ให้บริการกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้

    1. สมรรถนะย่อย 20306.01 เตรียมการตรวจแก้ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ

    2. สมรรถนะย่อย 20306.02 ตรวจสอบเหตุเสียและวิเคราะห์ปัญหา ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ

    3. สมรรถนะย่อย 20306.03 แก้ไขปัญหาและทดสอบผล ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ