หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่กลาง (Intermediate)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-IMGC-440B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่กลาง (Intermediate)

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักเทคโนโลยีสื่อสัญญาณโทรคมนาคมด้านระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถอ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ สายอากาศ สายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อติดตั้งตามแบบที่กำหนด จัดเรียงลำดับขั้นตอน พร้อมจัดสรร ทรัพยากรที่ใช้ในการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่เหมาะสมตามแบบที่กำหนดให้ ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้และบันทึกและสรุปรายงานผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาการสื่อสารโทรคมนาคม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
3521 ช่างเทคนิคด้านการแพร่ภาพกระจายเสียงและโสตทัศนูปกรณ์3522 ช่างเทคนิควิศวกรโทรคมนาคม7422 ช่างติดตั้งและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20203.01 อ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1.1 อ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 20203.01.01 184729
20203.01 อ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1.2 ติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 20203.01.02 184730
20203.02 จัดเตรียมเครื่องมือ, วัสดุและอุปกรณ์, สายอากาศ, สายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อติดตั้ง 2.1 เลือกใช้เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง 20203.02.01 184731
20203.02 จัดเตรียมเครื่องมือ, วัสดุและอุปกรณ์, สายอากาศ, สายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อติดตั้ง 2.2 เลือกใช้วัสดุที่ใช้ในการติดตั้ง 20203.02.02 184732
20203.02 จัดเตรียมเครื่องมือ, วัสดุและอุปกรณ์, สายอากาศ, สายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อติดตั้ง 2.3 เตรียมอุปกรณ์ (Equipment) ที่ใช้ในการติดตั้ง 20203.02.03 184733
20203.02 จัดเตรียมเครื่องมือ, วัสดุและอุปกรณ์, สายอากาศ, สายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อติดตั้ง 2.4 เลือกใช้สายอากาศและสายนำสัญญาณที่ใช้ในการติดตั้ง 20203.02.04 184734
20203.03 จัดเรียงลำดับขั้นตอน พร้อมจัดสรร ทรัพยากรที่ใช้ในการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.1 จัดลำดับขั้นตอนการติดตั้ง 20203.03.01 184735
20203.03 จัดเรียงลำดับขั้นตอน พร้อมจัดสรร ทรัพยากรที่ใช้ในการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.2 มอบหมายกำลังพลและมอบหมายงาน 20203.03.02 184736
20203.03 จัดเรียงลำดับขั้นตอน พร้อมจัดสรร ทรัพยากรที่ใช้ในการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.3 เลือกวัสดุอุปกรณ์ สายอากาศ และสายนำสัญญาณเพื่อจ่ายให้กำลังพลในแต่ละขั้นตอน 20203.03.03 184737
20203.04 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4.1 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศสายนำสัญญาณ และแหล่งจ่ายไฟฟ้า 20203.04.01 184738
20203.04 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4.2 กำหนดพิกัดความเผื่อของสายนำสัญญาณและสายไฟฟ้า 20203.04.02 184739
20203.04 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4.3 ติดตั้งระบบสายดิน (Grounding)  20203.04.03 184740
20203.04 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4.4 จัดทำป้ายสัญลักษณ์ (Labeling) โดยพิมพ์ข้อความ และกำหนดขนาดตามแบบที่กำหนด 20203.04.04 184741
20203.05 บันทึกและสรุป รายงานผล 5.1 บันทึกภาพก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการทุกขั้นตอนที่ระบุไว้ตามเอกสารการจัดลำดับขั้นตอนการทำงาน 20203.05.01 184742
20203.05 บันทึกและสรุป รายงานผล 5.2 บันทึกค่าพารามิเตอร์ ในแต่ละขั้นตอนการติดตั้ง 20203.05.02 184743
20203.05 บันทึกและสรุป รายงานผล 5.3 ทำการบันทึกผลลัพธ์ที่ได้จากการวัดค่าและทดสอบในแต่ละขั้นตอนเป็นลายลักษณ์อักษร 20203.05.03 184744
20203.05 บันทึกและสรุป รายงานผล 5.4 ทำการจัดเก็บภาพแสดงค่าต่างๆ ที่ได้จากเครื่องมือวัดในรูปเอกสาร และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 20203.05.04 184745

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงรายละเอียดการถอดแบบระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่กำหนดให้

2.  ทักษะการติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณ

3.  ทักษะการเข้าหัวต่อ(Connector)สายนำสัญญาณและสายไฟฟ้า

4.  ทักษะการติดตั้งระบบสายดิน (Grounding) ตามมาตรฐานวิศวกรรม

5.  ทักษะการจัดทำป้ายสัญลักษณ์(labeling)โดยพิมพ์ข้อความ และขนาด ให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนด

6.  ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานในการติดตั้ง

7.  ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงปริมาณคนและวัสดุ อุปกรณ์สายอากาศ สายนำสัญญาณ ที่ใช้ในการติดตั้งตามแบบที่กำหนดให้

8.  ความสามารถในการจัดทำเอกสารรายงานส่งมอบงานที่รวบรวม ได้แก่ ภาพการดำเนินการ,ค่าพารามิเตอร์,ค่าแสดงคุณภาพสัญญาณ,แบบการติดตั้ง,ใบแสดงปริมาณงาน เพื่อการตรวจรับงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า, สัญลักษณ์ทางเรขาคณิต,สัญลักษณ์ทางเครื่องกล,สัญลักษณ์ทางวิศวกรรมสื่อสารโทรคมนาคม,สัญลักษณ์ทางโยธาที่มีใช้ในแบบ เป็นต้น

2.  ความรู้เกี่ยวกับศัพท์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า-สื่อสาร , ศัพท์ทางวิศวกรรมเครื่องกล ,ศัพท์ทางวิศวกรรมโยธา เป็นต้น

3.  ความรู้เกี่ยวกับมาตราส่วนในระบบเมตริก , มาตราส่วนในระบบ SI, ตัวเลขในระบบอารบิกและโรมัน ,ระบบเลขฐาน ต่าง ๆ ที่จำเป็น (เลขฐาน 2,8,10,16 ) เป็นต้น

4.  ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะและวิธีการใช้เครื่องมือ ใช้ในการติดตั้งตามแบบที่กำหนดให้

5.  ความรู้เกี่ยวกับสายนำสัญญาณ& Wave guide

6.  ความรู้เกี่ยวกับประเภทของสายอากาศ

7.  ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์รับ-ส่ง สัญญาณคลื่นวิทยุ

8.  ความรู้เกี่ยวการการเข้าหัว connector สายนำสัญญาณ

9.  ความรู้เกี่ยวกับสายอากาศและการปรับมุมทิศทาง

10.  ความรู้เกี่ยวกับระบบ Grounding

11.  ความรู้ด้านวงจรไฟฟ้า

12.  ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการ (Project Management)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1.  ผลจากการทดสอบ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1.  ผลจากการทดสอบ

      2.  ผลจากสัมภาษณ์

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบทดสอบภาคปฏิบัติ

     2. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้ ผลจากการสัมภาษณ์ ผลจากแบบทดสอบภาคทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

      ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. แบบที่ใช้ติดตั้งและคู่การติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำหนดให้นั้น ประกอบด้วย

      1.1  สัญลักษณ์  ได้แก่ สัญลักษณ์ทางไฟฟ้า, สัญลักษณ์ทางเรขาคณิต,สัญลักษณ์ทางเครื่องกล,สัญลักษณ์ทางวิศวกรรมสื่อสารโทรคมนาคม,สัญลักษณ์ทางโยธา เป็นต้น

      1.2  ศัพท์ทางเทคนิค ได้แก่  ศัพท์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า-สื่อสาร, ศัพท์ทางวิศวกรรมเครื่องกล, ศัพท์ทางวิศวกรรมโยธา เป็นต้น

      1.3  มาตราส่วน ได้แก่ มาตราส่วนในระบบเมตริก, มาตราส่วนในระบบ SI, ตัวเลขในระบบ

อารบิกและโรมัน, ระบบเลขฐาน ต่าง ๆ ที่จำเป็น (เลขฐาน 2, 8, 10, 16) เป็นต้น

2.  คู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่หมายถึงคู่มือการติดตั้งอุปกรณ์ระบบเครื่องรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นต้น

3.  เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง ได้แก่ สว่าน, ค้อน ,ประแจ, ไขควง เป็นต้น

4.  วัสดุที่ใช้ในงานติดตั้ง ได้แก่ วัสดุที่ใช้ในการเจาะยึด ได้แก่ แคล้มจับยึด,พุกเป็นต้น, หัวต่อแบบต่าง ๆ (Connectors)และวัสดุที่ใช้งานภายในอาคาร (Indoor) เช่น Rack, Ladder, wire way เป็นต้นและวัสดุที่ใช้งานภายนอกอาคาร (Outdoor) เช่น ตัวยึดจับสายอากาศ,Ladder ,Bar ground เป็นต้น

5.  อุปกรณ์ที่ทำการติดตั้ง (Equipment) ได้แก่ เครื่องรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่, แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) ตัวกรองสัญญาณ ตัวรวมสัญญาณ ตัวแยกสัญญาณ เป็นต้น

6.  สายอากาศ (antenna) ได้แก่ สายอากาศแถวลำดับ (Array antenna) และสายอากาศแผ่นระนาบ (Planar antenna) เป็นต้น

7.  สายนำสัญญาณ (transmission line) ได้แก่ Wave guide แบบต่าง เช่น รูปไข่, วงกลม เป็นต้น

8.  ขั้นตอนในการติดตั้งได้แก่ การนำของเข้าพื้นที่, การวัดระยะ, การกำหนดจุดยึดเจาะ, การกำหนดวิธีการติดตั้ง, การวัดค่าสัญญาณ เป็นต้นโดยจะต้องกำหนดลำดับการติดตั้งก่อนและหลังของแต่ละขั้นตอน

9.  กำลังพลและมอบหมายงานหมายถึง จำนวนผู้ปฏิบัติงานเพื่อปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนว่าใช้จำนวนคนเท่าไรเท่าไรและให้ทำงานอะไรบ้าง

10. จ่ายวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศ และสายนำสัญญาณให้กำลังพลในแต่ละขั้นตอนที่กำหนด

11. ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณตามขั้นตอนที่กำหนดไว้โดยทำการยึดจับเข้ากับเสาและรางสายนำสัญญาณให้แข็งแรงคงทน

12. ติดตั้งแหล่งจ่ายไฟฟ้าพร้อมเดินสายไฟฟ้าเข้าตัวอุปกรณ์ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

13. กำหนดพิกัดความเผื่อของสายนำสัญญาณและสายไฟฟ้าตามข้อกำหนด ตามสภาพแวดล้อมในสถานที่ปฏิบัติงานเช่น การเผื่อสายนำสัญญาณไว้ 1-1.5 เมตร ก่อนการปรับแต่งคุณภาพสัญญาณ เป็นต้น

14. สามารถเข้าหัวต่อ (Connectors) สายนำสัญญาณตามขั้นตอนและคุณลักษณะทางกายภาพที่กำหนดจากบริษัทผู้ผลิต

15. ติดตั้งอุปกรณ์ (เครื่องรับ-ส่ง) ตามแบบที่กำหนดและแข็งแรงคงทน

16.  ติดตั้งระบบสายดิน (Grounding) ที่สายอากาศ สายนำสัญญาณ และ อุปกรณ์ ตามมาตรฐานวิศวกรรมโดยใช้สาย THW สีเขียวตามขนาดที่กำหนดในแบบทำการติดตั้งกับแผ่น Bar ground ที่มีเดิมอยู่แล้วหรือทำการติดตั้งขึ้นมาใหม่

17.  จัดทำ labeling โดยพิมพ์ข้อความ และขนาด ให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดให้ เช่น ใช้แผ่นสังกะสีตอกข้อความ TX, RX แล้วยึดติดกับสายนำสัญญาณเป็นต้น

18.  ภาพก่อนดำเนินการติดตั้ง และหลังดำเนินการนั้นจะบันทึกด้วยกล้อง digital จับในส่วนที่สำคัญในขั้นตอนนั้นๆ เช่น สภาพพื้นที่ ภาพขณะทำการติดตั้งตัวอุปกรณ์ สายนำสัญญาณ สายอากาศ เป็นต้น

19.  ค่าพารามิเตอร์ ในแต่ละขั้นการติดตั้งทุกขั้นตอนจะบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแฟ้มข้อมูล spread sheet (excel file, word) เช่นค่า กำลังส่งสัญญาณของเครื่องส่ง ค่าความไวในการรับของเครื่องรับ ระดับสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน เป็นต้น

20.  ผลลัพธ์ที่ได้จากการวัดค่าและทดสอบในแต่ละขั้นตอน จะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแฟ้มข้อมูล spread sheet (excel file, word) เป็นต้น

21.  ค่าที่แสดงจากเครื่องมือวัดได้แก่ ภาพกราฟ , ตารางแสดงค่ากำลัง,ค่า Signal to noise ratio S/N ค่าการสะท้อนกำลังงานที่ขั้วของสายอากาศ เป็นต้น

22.  จัดรวบรวมข้อมูล จากข้อ 1-4 มาจัดทำเป็นรูปเล่มเอกสารส่งมอบงานต้องมีใบสรุปปริมาณงาน เพื่อการตรวจรับงานประกอบด้วย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้

   1. สมรรถนะย่อย 20203.01 อ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์

   2. สมรรถนะย่อย 20203.02 จัดเตรียมเครื่องมือ, วัสดุและอุปกรณ์, สายอากาศ, สายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อติดตั้งตามแบบที่กำหนด ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์

   3. สมรรถนะย่อย 20203.03 จัดเรียงลำดับขั้นตอน พร้อมจัดสรร ทรัพยากรที่ใช้ในการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามแบบที่กำหนดให้ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์

   4. สมรรถนะย่อย 20203.04 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์

   5. สมรรถนะย่อย 20203.05 บันทึกและสรุป รายงานผล ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ