หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริการอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บสิ่งของมีค่า

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-2-035ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริการอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บสิ่งของมีค่า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการบริการอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บสิ่งของมีค่า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดเตรียมการดำเนินการให้ความคุ้มครอง ขนส่งและจัดเก็บสิ่งของมีค่า การดำเนินการให้ความคุ้มครองหรือคุ้มกันขณะขนย้ายของมีค่า การขนส่งสิ่งของมีค่า และการจัดเก็บสิ่งของมีค่า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.04.146.1 จัดเตรียมการดำเนินการให้ความคุ้มครอง ขนส่งและจัดเก็บสิ่งของมีค่า 1.1 ระบุประเภทสิ่งของมีค่าที่ต้องการให้ความคุ้มครองจัดเก็บอย่างปลอดภัย 1.04.146.1.01 45032
1.04.146.1 จัดเตรียมการดำเนินการให้ความคุ้มครอง ขนส่งและจัดเก็บสิ่งของมีค่า 1.2 ระบุข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบในทรัพย์สินของลูกค้า 1.04.146.1.02 45033
1.04.146.1 จัดเตรียมการดำเนินการให้ความคุ้มครอง ขนส่งและจัดเก็บสิ่งของมีค่า 1.3 จัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับหน้าที่การคุ้มครองป้องกัน และจัดเก็บสิ่งของมีค่า 1.04.146.1.03 45034
1.04.146.1 จัดเตรียมการดำเนินการให้ความคุ้มครอง ขนส่งและจัดเก็บสิ่งของมีค่า 1.4 ระบุลักษณะนิสัยของบุคคลที่จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ความคุ้มครองและจัดเก็บสิ่งของมีค่า 1.04.146.1.04 45035
1.04.146.1 จัดเตรียมการดำเนินการให้ความคุ้มครอง ขนส่งและจัดเก็บสิ่งของมีค่า 1.5 จัดทำแผนงานสำหรับการให้ความคุ้มครองและจัดเก็บสิ่งของมีค่า 1.04.146.1.05 45036
1.04.146.1 จัดเตรียมการดำเนินการให้ความคุ้มครอง ขนส่งและจัดเก็บสิ่งของมีค่า 1.6 กำหนดนโยบายและแนวทางวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินสดสิ่งของมีค่า ภายในและออกไปภายนอกอาคารสถานที่ 1.04.146.1.06 45037
1.04.146.1 จัดเตรียมการดำเนินการให้ความคุ้มครอง ขนส่งและจัดเก็บสิ่งของมีค่า 1.7 ระบุโอกาสหรือภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะเคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าเข้าออกหรือภายในอาคารสถานที่ 1.04.146.1.07 45038
1.04.146.1 จัดเตรียมการดำเนินการให้ความคุ้มครอง ขนส่งและจัดเก็บสิ่งของมีค่า 1.8 ระบุทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับอำนวยความสะดวกการทำหน้าที่ให้ความคุ้มครองและจัดเก็บของมีค่า 1.04.146.1.08 45039
1.04.146.1 จัดเตรียมการดำเนินการให้ความคุ้มครอง ขนส่งและจัดเก็บสิ่งของมีค่า 1.9 มอบหมายงานการให้ความคุ้มครองและจัดเก็บสิ่งของมีค่าอย่างชัดเจน 1.04.146.1.09 45040
1.04.146.2 ดำเนินการให้ความคุ้มครองหรือคุ้มกันขณะขนย้ายของมีค่า 2.1 กำหนดเส้นทางที่จะใช้ 1.04.146.2.01 45041
1.04.146.2 ดำเนินการให้ความคุ้มครองหรือคุ้มกันขณะขนย้ายของมีค่า 2.2 ประเมินภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละครั้ง 1.04.146.2.02 45042
1.04.146.2 ดำเนินการให้ความคุ้มครองหรือคุ้มกันขณะขนย้ายของมีค่า 2.3 ขอรับความช่วยเหลือหากจำเป็น 1.04.146.2.03 45043
1.04.146.2 ดำเนินการให้ความคุ้มครองหรือคุ้มกันขณะขนย้ายของมีค่า 2.4 ดำเนินการคุ้มครองอย่างใกล้ชิด 1.04.146.2.04 45044
1.04.146.2 ดำเนินการให้ความคุ้มครองหรือคุ้มกันขณะขนย้ายของมีค่า 2.5 รับมือกับภัยคุกคาม 1.04.146.2.05 45045
1.04.146.2 ดำเนินการให้ความคุ้มครองหรือคุ้มกันขณะขนย้ายของมีค่า 2.6 จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1.04.146.2.06 45046
1.04.146.3 ขนส่งสิ่งของมีค่า 3.1 กำหนดเส้นทางที่จะใช้ 1.04.146.3.01 45047
1.04.146.3 ขนส่งสิ่งของมีค่า 3.2 ประเมินภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละครั้ง 1.04.146.3.02 45048
1.04.146.3 ขนส่งสิ่งของมีค่า 3.3 ขอรับความช่วยเหลือหากจำเป็น 1.04.146.3.03 45049
1.04.146.3 ขนส่งสิ่งของมีค่า 3.4 ดำเนินการขนส่งสิ่งของมีค่า 1.04.146.3.04 45050
1.04.146.3 ขนส่งสิ่งของมีค่า 3.5 รับมือกับภัยคุกคาม 1.04.146.3.05 45051
1.04.146.3 ขนส่งสิ่งของมีค่า 3.6 จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1.04.146.3.06 45052
1.04.146.4 จัดเก็บสิ่งของมีค่า 4.1 ระบุทางเลือกการจัดเก็บที่จำเป็น 1.04.146.4.01 45053
1.04.146.4 จัดเก็บสิ่งของมีค่า 4.2 จัดเก็บสิ่งของในที่จัดเก็บ 1.04.146.4.02 45054
1.04.146.4 จัดเก็บสิ่งของมีค่า 4.3 จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1.04.146.4.03 45055

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือรักษาความปลอดภัยทั่วไป

-    ทักษะในการสังเกตและประเมินระดับความเสี่ยงภายในสถานที่ทำการ 

-    ทักษะในการวิเคราะห์ภัยคุกคาม 

-    ทักษะในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

-    ทักษะในการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรเกี่ยวกับการรับขนสัมภาระหรือสิ่งของมีค่า และการรับฝากเก็บรักษาสิ่งของมีค่า

-    ความรู้เกี่ยวกับหลักการความระมัดระวังรอบคอบในการรับฝากทรัพย์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ





(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    การสัมภาษณ์

-    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    การสาธิตการปฏิบัติงาน

-    การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    การจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

สิ่งของมีค่า อาจรวมถึง

    เงินสด 

    อัญมณี หินมีค่า

    ทองคำ

    เอกสารสำคัญ

    งานศิลปะ

    ทรัพย์สินใด ๆ 



ข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบในทรัพย์สินของลูกค้า หมายรวมถึง

    กฎหมายที่เกี่ยวกับการฝากทรัพย์

    หลักความระมัดระวังรอบคอบ



ลักษณะนิสัยของบุคคลที่จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ความคุ้มครองและจัดเก็บสิ่งของมีค่า เช่น

    ระมัดระวัง ตื่นตัว รอบคอบ

    ช่างสังเกต

    ใส่ใจรายละเอียด

    รักษาความลับได้

    มีความเชื่อมั่น



แผนงานสำหรับการให้ความคุ้มครองและจัดเก็บสิ่งของมีค่า อาจรวมถึง

    การระบุเส้นทางที่ปลอดภัยที่สุด หรือเส้นทางที่สั้นที่สุด

    การระบุเส้นทางที่เป็นทางเลือก

    การประเมินความเสี่ยง

    การระบุช่วงเวลาที่เหมาะสม

    การมอบหมายหน้าที่ให้พนักงาน

    การระบุทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการให้ความคุ้มครองและจัดเก็บสิ่งของมีค่า

    การจัดเตรียมเอกสารเกี่ยวกับแผนงานที่ได้จัดทำขึ้น



การกำหนดนโยบายและแนวทางวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินสด สิ่งของมีค่า อาจรวมถึง

•     การกำหนดมูลค่าสูงสุดของสิ่งของที่จะรับฝาก รับคุ้มครอง หรือรับขนย้าย 

•     การระบุถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลรักษาความปลอดภัย

•     กระบวนการในการระบุถึงความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยง

•     การกำหนดมาตรการดำเนินการต่าง ๆ ในกรณีที่มีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น

•     การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนให้แก่ผู้ให้บริการดูแลรักษาความปลอดภัย



ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น อาจรวมถึง

    อุบัติเหตุที่เกิดกับยานพาหนะในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่เก็บสิ่งของมีค่า

    สถานการณ์ผิดปกติ ต้องสงสัย

    การบุกรุก

    การโจรกรรมหรือคำขู่ต่าง ๆ 

    ปัจจัยเสี่ยงทางธรรมชาติ เช่น ฝนตก พายุ หรือมีภัยธรรมชาติ

    ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากวัสดุสิ่งของนั้นเอง เช่น มูลค่าของสิ่งของ และ/หรือ ปริมาณของสิ่งของ



ทรัพยากรที่จำเป็น อาจรวมถึง

    ยานพาหนะสำหรับการขนส่ง

    ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อสำหรับจัดเก็บสิ่งของมีค่า

    อาวุธที่จำเป็น และเครื่องป้องกัน

    วิทยุสื่อสาร

    เครื่องกักกัน กีดขวาง

    กล้องวงจรปิด และสัญญาณเตือนภัย

    ตู้นิรภัย



การให้ความคุ้มครองและขนย้ายสิ่งของมีค่า อาจรวมถึง

    คำร้องขอจากลูกค้าบุคคลสำคัญ

    การให้บริการในวาระพิเศษที่ทำให้หน่วยงานมีรายได้และได้รับเงินสดเพิ่มสูงขึ้น

    การรับมือกับสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้น เช่น การโจรกรรมหรือการข่มขู่

•     การให้บริการพิเศษแก่ลูกค้าพิเศษ

•     การให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายเงินสด



การกำหนดเส้นทางที่จะใช้ในการขนย้ายสิ่งของมีค่า อาจเกี่ยวกับ

    การเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุด

    การเลือกเส้นทางที่เร็วที่สุด

    การประเมินความเสี่ยงหรือภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละเส้นทาง

    การระบุปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ช่วงระยะเวลา สภาพอากาศ สภาพการจราจร เหตุการณ์พิเศษ จำนวนคน

    การประเมินจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เช่น การพกพาอาวุธ การโจรกรรม หรือการข่มขู่ การบุกโจมตี



การขอรับความช่วยเหลือ อาจรวมถึง

    ความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายใน

    ความช่วยเหลือจากหน่วยงานรักษาความปลอดภัยจากภายนอก

    ขอรับการสนับสนุนจากส่วนราชการ



การคุ้มครองอย่างใกล้ชิด อาจรวมถึง

•     การติดตามคุ้มครองลูกค้าหรือพนักงานที่ทำการขนย้ายสิ่งของมีค่า

•     การปิดเส้นทางสำหรับลูกค้าหรือพนักงานที่ทำการขนย้ายสิ่งของมีค่า

•    การตรวจตรา/ตรวจสอบดูแลการขนย้ายสิ่งของมีค่า

•     การจัดเตรียมเครื่องกีดขวาง/สิ่งกีดขวางเพื่อขัดขวางผู้ที่จะกระทำความผิด

•     การสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าและพนักงาน



การรับมือกับภัยคุกคาม อาจเกี่ยวกับ

    การปฏิบัติตามขั้นตอนและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กร

    ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของบุคคลมากกว่าทรัพย์สิน

    แจ้งรายละเอียดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทราบ

    ขอความช่วยเหลือเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ปลอดภัยเพียงพอที่จะทำได้

    แจ้งเหตุการณ์หรือให้ปากคำต่อเจ้าหน้าที่



การจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาจรวมถึง

    รายละเอียดของงาน

    เอกสารการขนส่ง และหรือเอกสารการนำเข้าสินค้า

    คำร้องขอสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย

    เอกสารหรือบันทึกขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายใน

    รายงานบันทึกการรักษาความปลอดภัย

    รายงานเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อความปลอดภัย

    เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการธนาคาร เช่น การรับฝากเงิน การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ



ดำเนินการขนส่งสิ่งของมีค่า อาจรวมถึง

•     การเคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าภายในอาณาบริเวณพื้นที่ขององค์กร

•     การเคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าจากภายนอกเข้ามาในอาณาบริเวณพื้นที่ขององค์กร

•     การเคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าจากอาณาบริเวณพื้นที่ขององค์กรออกไปนอกพื้นที่

•     การขนส่งไปยังธนาคาร

•     การเตรียมเงินทอนหรือเงินเดือนพนักงานที่รับมาจากธนาคารหรือที่อื่น ๆ



ทางเลือกในการจัดเก็บ อาจรวมถึง

•     ตู้นิรภัยต่าง ๆ 

•     พื้นที่จัดเก็บรักษาความปลอดภัยที่อยู่นอกพื้นที่อาณาบริเวณขององค์กร

•     ตู้หรือลิ้นชักที่สามารถปิดล็อกได้



การจัดเก็บสิ่งของในที่จัดเก็บ อาจรวมถึง

    ยืนยันความถูกต้อง ความเป็นของแท้/ของจริง มูลค่า ปริมาณ และลักษณะที่มองเห็นได้ทั่วไปของสิ่งของมีค่า

    ให้คำแนะนำแก่ลูกค้าเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการจัดเก็บสิ่งของมีค่า 

    ชี้แจงความรับผิดชอบของหน่วยงาน มูลค่าความเสียหายที่หน่วยงานรับชดใช้

    ขอรับคำยืนยันจากลูกค้า และลงลายมือชื่อเพื่อรับทราบและอนุญาต

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ