หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASM-AEVW-083A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

     1219 ผู้จัดการดำานการบริการธุรกิจและการบริหารจัดการ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบด้วยทักษะและความรู้ในการปฏิบัติและประพฤติตนอย่างถูกต้องตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักปฏิบัติการสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ นักบริหารพื้นที่เช่าเชิงพาณิชย์ในโครงการที่อยู่อาศัย ผู้จัดการอาคารที่อยู่อาศัย ผู้จัดการนิติบุคคลที่อยู่อาศัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
จรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ข้อบังคับอาคารชุด กฎระเบียบการอยู่อาศัยและการจราจร มติที่ประชุมที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A1011 จัดการบริหารความขัดแย้งตามหลักวิชาชีพ 1) ต้องรู้หลักวิชาชีพ A1011.01 183698
A1011 จัดการบริหารความขัดแย้งตามหลักวิชาชีพ 2) ต้องรู้จรรยาบรรณวิชาชีพ A1011.02 183699
A1011 จัดการบริหารความขัดแย้งตามหลักวิชาชีพ 3) สามารถเจรจากับมวลชนได้ A1011.03 183700
A1012 ให้ความเห็นต่อเจ้าของร่วมตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ 1) ต้องวิเคราะห์ปัญหาได้ A1012.01 183701
A1012 ให้ความเห็นต่อเจ้าของร่วมตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ 2) ต้องประมวลความรู้ที่เกี่ยวข้องได้ A1012.02 183702
A1012 ให้ความเห็นต่อเจ้าของร่วมตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ 3) ต้องประมวลความรู้หลักจรรยาบรรณวิชาชีพได้ A1012.03 183703
A1012 ให้ความเห็นต่อเจ้าของร่วมตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ 4) ต้องสามารถวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาได้ A1012.04 183704
A1013 ปฏิบัติงานโดยใช้หลักจรรยาบรรณวิชาชีพ 1) ต้องรู้หลักจรรยาบรรณวิชาชีพ A1013.01 183705
A1013 ปฏิบัติงานโดยใช้หลักจรรยาบรรณวิชาชีพ 2) ต้องสามารถนำหลักจรรยาบรรณวิชาชีพมาประยุกต์ใช้กับกรณีต่างๆในการบริหารจัดการได้ A1013.02 183706
A1013 ปฏิบัติงานโดยใช้หลักจรรยาบรรณวิชาชีพ 3) ต้องรู้หลักวิชาชีพ A1013.03 183707

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  • ตามเกณฑ์ระดับวิชาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะด้านการเจรจาต่อรองเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพต่างๆ

  • ทักษะในการสื่อสารทั้งการเขียนและการพูดให้เข้ากับสถานการณ์ จุดประสงค์และกับบุคคลที่แตกต่างกัน

  • ทักษะในเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้พนักงานตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ

  • ทักษะในเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับการละเมิดจรรยาบรรณวิชาชีพ

  • ทักษะในการโน้มน้าวและการหาหลักฐานสนับสนุนในข้อเสนอแนะด้านจรรยาบรรณต่างๆ

  • ทักษะในการสืบค้นความจริง และวินิจฉัยเหตุการณ์ต่างๆด้วยความเป็นกลางและไม่ขัดต่อจรรยาบรรณ

  • ทักษะด้านจิตวิทยามวลชน เช่น การไกล่เกลี่ยการประนีประนอม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เรื่องจรรณยาบรรณวิชาชีพ

  • ความรู้เรื่องศีลธรรมจรรยา

  • ความรู้เชิงจิตวิทยา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

                   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • หนังสือผ่านงาน หนังสือรับรองการทำงาน

  • หนังสือชมเชย โล่ประกาศเกียรติคุณ

  • หนังสือรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

  • ผลการทดสอบสัมภาษณ์/สอบปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • หลักฐานการสำเร็จการศึกษา

  • หลักฐานแสดงหน่วยกิตจากการอบรม หรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์สิน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



               หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง



               1.  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



               2. ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย หรือผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ



               3. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



               4. ขอบเขตด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน 




  • สอบข้อเขียน

  • สอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



คำแนะนำ  



ผู้ทดสอบต้องมีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการบริหารจัดการทรัพย์สินในความรับผิดชอบของตนเองโดยไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง




  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. กฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบการปฏิบัติ






  • พ.ร.บ อาคารชุด

  • พ.ร.บ จัดสรร

  • จรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย

  • ระเบียบข้อบังคับการอยู่อาศัย

  • มติที่ประชุมที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย

  • กฎหมายอื่นๆที่อาจเกี่ยวข้อง

    1. ทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดชอบ






  • ทรัพย์สินของเจ้าของร่วม

  • ทรัพย์สินส่วนกลาง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

      การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



18.1  สำหรับนักปฏิบัติการสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ระดับ 3 และนักบริหารพื้นที่เช่าเชิงพาณิชย์ในโครงการที่อยู่อาศัย ระดับ 3




  • ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนเป็นข้อสอบปรนัย

  • ทดสอบโดยการสัมภาษณ์ตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้



18.2  สำหรับผู้จัดการอาคารที่อยู่อาศัย ระดับ 4




  • ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนเป็นข้อสอบปรนัย

  • ทดสอบโดยการสัมภาษณ์ตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้



18.3 สำหรับผู้จัดการนิติบุคคลที่อยู่อาศัย ระดับ 5, 6




  • ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนเป็นข้อสอบปรนัย

  • ทดสอบโดยการสอบสัมภาษณ์ตามแบบฟอร์มที่กำหนด 



18.4  สำหรับผู้จัดการนิติบุคคลที่อยู่อาศัย ระดับ 7




  • ทดสอบโดยการสอบสัมภาษณ์ตามแบบฟอร์มที่กำหนด



 



ยินดีต้อนรับ