หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รายงานผลการปฏิบัติงาน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-QOBH-687A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รายงานผลการปฏิบัติงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานส่งออก - นำเข้า (ผู้ชำนาญการศุลกากร) ระดับ 5 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ชำนาญการศุลกากร ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานสรุปรายงานผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ผล ให้ข้อเสนอแนะและเตรียมแนวทางการปรับปรุงแก้ไขอย่างเหมาะสม 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์    

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาคกฎระเบียบพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดน 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03641

สรุปรายงานผลการดำเนินงาน

1. จัดเตรียมรายงานผลการดำเนินงานอย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด


03641.01 173281
03641

สรุปรายงานผลการดำเนินงาน

2. จัดทำเอกสารสรุปรายงานผลการดำเนินงานอย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด

03641.02 173282
03642

วิเคราะห์ผล ให้ข้อเสนอแนะและเตรียมแนวทางการปรับปรุงแก้ไขอย่างเหมาะสม

1. วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานอย่างครอบคลุม ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด


03642.01 173283
03642

วิเคราะห์ผล ให้ข้อเสนอแนะและเตรียมแนวทางการปรับปรุงแก้ไขอย่างเหมาะสม

2. เตรียมแนวทางการนำข้อมูลไปปรับปรุงแก้ไขได้อย่างเหมาะสม

03642.02 173284

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-ไม่มี-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติงานสรุปรายงานผลการดำเนินงาน

     1.1 สามารถจัดเตรียมรายงานผลการดำเนินงานอย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด

     1.2 สามารถจัดทำเอกสารสรุปรายงานผลการดำเนินงานอย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด

2. ปฏิบัติงานวิเคราะห์ผล ให้ข้อเสนอแนะและเตรียมแนวทางการปรับปรุงแก้ไขอย่างเหมาะสม

     2.1 สามารถวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานอย่างครอบคลุม ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

     2.2 สามารถเตรียมแนวทางการนำข้อมูลไปปรับปรุงแก้ไขได้อย่างเหมาะสม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค

2. กฎระเบียบพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดน

3. พิธีการศุลกากรการตรวจปล่อยสินค้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค

      2. เอกสารรายงานผลการดำเนินงาน

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. ใบผ่านการอบรมเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากร

      2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

      3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร

      4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร

(ค)  คำแนะนำการประเมิน

      ประเมินการการควบคุม การกำกับ การตรวจสอบเอกสารการส่งออก-นำเข้า และการผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน

(ง)  วิธีการประเมิน

      1. พิจารณาหลักฐานความรู้

      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ 

      1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดทำใบขนสินค้าเพื่อการผ่านแดนตามระเบียบของกรมศุลกากรในการผ่านแดน

      2.  ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดการตรวจปล่อยสินค้านำเข้าสู่ประเทศไทย

 (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

       1. การเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจด้านโลจิสติกส์ ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Responsiveness) และเพิ่มความปลอดภัย และความเชื่อถือในกระบวนการนำส่งสินค้าและบริการ (Reliability and Security) รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ จากอุตสาหกรรม “โลจิสติกส์” และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ดังนี้

           1) การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบ “โลจิสติกส์” ในภาคการผลิต

           2) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งและ “โลจิสติกส์”

           3) การพัฒนาธุรกิจ “โลจิสติกส์”

           4) การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า

           5) การพัฒนาข้อมูลและกำลังคนด้าน “โลจิสติกส์” 

       2. การปรับปรุงคุณภาพของบริการด้าน “โลจิสติกส์” (Logistics Quality Improvement Strategy) ในปัจจุบันนั้น การดำเนินการทางธุรกิจในแต่ละบริษัท ส่วนมากต่างฝ่ายก็ทำงานของตน ประโยชน์ในเชิงบูรณาการขององค์กรต่ำ เพราะแต่ละฝ่ายไม่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน ดังนั้น จึงต้องเปลี่ยนการดำเนินงานให้มีกระบวนการรวมตัว เพื่อให้สามารถใช้ปัจจัยหรือทรัพยากรทั้งหมดแบบมีประสิทธิผล ทั้งนี้ ตามทฤษฎีของ ไมเคิล อี พอร์เตอร์ (Michael E. Porter) มีกลยุทธ์ที่ใช้ 3 ลักษณะ คือ

           1) ความเป็นผู้นำทางต้นทุน (Cost Leadership)

           2) การสร้างความแตกต่าง (Differentiation)

           3) การมุ่งเฉพาะ (Focus)

       การจัดการคุณภาพมีความสำคัญต่อบริษัทใน 2 แนวทาง คือเพิ่มรายได้ในรูปของยอดขาย และลด ต้นทุนในการผลิตหรือบริการ โดยการลดต้นทุนเกิดจากการจัดการแบบมีประสิทธิภาพ ในการลดของเสีย (Zero Defect) ต้องดำเนินงานโดยมีการวางแผน มีการจัดการที่เหมาะสม หรือเรียกว่า การจัดการที่มี ประสิทธิผล การจัดการให้เกิดการเพิ่มผลผลิตในองค์กร จะมีการปรับปรุงต่อเมื่อการทำงานทุกฝ่ายมี ประสิทธิภาพ ขนาดทรัพยากรบุคคลเล็กลง แต่ขนาดธุรกิจขยายออก ประหยัดและลดค่าใช้จ่าย การทำงาน สามารถย่นเวลาให้สั้นลง หรือมีการทุบกำแพงระหว่างฝ่าย จะส่งผลให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ เพราะคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์จะส่งผลให้องค์การธุรกิจ มีผลกำไรมากขึ้น 

       3. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด” หมายถึง ความถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือการประเมิน

         1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

         2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

         3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ