หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนระบบการลำเลียงและขนส่งสินค้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-HFZR-685A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนระบบการลำเลียงและขนส่งสินค้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานส่งออก - นำเข้า (ผู้ชำนาญการศุลกากร) ระดับ 5 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ชำนาญการศุลกากร ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานวางแผนงานด้านบุคลากร และเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม กำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์    

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาคกฎระเบียบพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดน 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03621

วางแผนงานด้านบุคลากร และเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม

1. ดำเนินการจัดหารถบรรทุกพร้อมพนักงานขนถ่ายสินค้าไปยังพาหนะเพื่อผ่านแดนตามวิธีการปฏิบัติ

03621.01 173271
03621

วางแผนงานด้านบุคลากร และเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม

2. ตรวจสอบเอกสารการจัดหารถบรรทุกพร้อมพนักงานขนถ่ายสินค้าถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03621.02 173272
03622

กำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน

1. ตรวจรับและตรวจสภาพสินค้าภายหลังการบรรทุกสินค้าผ่านแดนถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03622.01 173273
03622

กำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน

2. ตรวจสอบสภาพสินค้าเพื่อยืนยันตามเอกสารจากผู้รับสินค้าปลายทางถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03622.02 173274

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-ไม่มี-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติงานวางแผนงานด้านบุคลากร และเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม

     1.1 สามารถดำเนินการจัดหารถบรรทุกพร้อมพนักงานขนถ่ายสินค้าไปยังพาหนะเพื่อผ่านแดนตามวิธีการปฏิบัติ

     1.2 สามารถตรวจสอบเอกสารการจัดหารถบรรทุกพร้อมพนักงานขนถ่ายสินค้าถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

2. ปฏิบัติงานกำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน

     2.1 สามารถตรวจรับและตรวจสภาพสินค้าภายหลังการบรรทุกสินค้าผ่านแดนถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด 

     2.2 สามารถตรวจสอบสภาพสินค้าเพื่อยืนยันตามเอกสารจากผู้รับสินค้าปลายทางถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค

2. กฎระเบียบพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดน

3. พิธีการศุลกากรการตรวจปล่อยสินค้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค

      2. เอกสารตรวจปล่อยสินค้านำเข้าสู่ประเทศไทย

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. ใบผ่านการอบรมเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากร

      2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

      3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร

      4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร

(ค)  คำแนะนำการประเมิน

       ประเมินการการควบคุม การกำกับ การตรวจสอบเอกสารการส่งออก-นำเข้า และการผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน

(ง)  วิธีการประเมิน

      1. พิจารณาหลักฐานความรู้

      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ 

      1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดหารถบรรทุกพร้อมทั้งพนักงานขนถ่ายสินค้า (Handling) ไปยังพาหนะเพื่อผ่านแดน

      2.  ผู้เข้ารับการประเมินจะต้อง ตรวจรับสินค้า ภายหลังการบรรทุกสินค้าผ่านแดน 

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

      1. การขนส่ง (Transportation) เป็นการเคลื่อนย้ายคน สิ่งของ หรือสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยสามารถแบ่งวิธีการขนส่งออกได้ 5 รูปแบบดังนี้คือ

                1.1 การขนส่งทางรถบรรทุก (Trucking) อุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่จะขนส่งสินค้าด้วยวิธีนี้เป็นหลัก เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและมีประโยชน์หลายด้าน บริษัทขนส่งได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการตรวจสอบสภาพอากาศ ค้นหาเส้นทางขนส่งที่เหมาะสม และวิเคราะห์วิธีการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

                1.2 การขนส่งทางรถไฟ (Railroads) เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าจำนวนมาก มีขนาดใหญ่ หรือมีน้ำหนักมาก โดยใช้ตู้เสบียงรถไฟหรือตัวฐานสำหรับบรรจุสินค้าในการขนส่ง

                1.3 การขนส่งทางอากาศ (Airfreight) ได้มีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง เห็นได้จากการขยายกิจการของบริษัทขนส่งชั้นนำระดับโลก ตัวอย่างเช่น บริษัท Federal Express บริษัท UPS และบริษัท DHL วิธีการนี้เป็นการขนส่งที่เชื่อถือได้และสะดวกรวดเร็ว เหมาะสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักเบา เสียง่าย เช่น ยา ดอกไม้ ผลไม้ หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

               1.4 การขนส่งทางน้ำ (Waterways) เป็นวิธีการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุด โดยเคลื่อนย้ายผ่านแม่น้ำ คลอง ทะเลสาบ ชายฝั่งทะเล และมหาสมุทรที่เชื่อมกับประเทศต่าง ๆ เหมาะสำหรับสินค้าที่มีปริมาณมากหรือมีมูลค่าต่ำ เช่น แร่เหล็ก เมล็ดพืช ซีเมนต์ ถ่านหิน เคมีภัณฑ์ หินปูน และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม วิธีการนี้เหมาะสมเมื่อต้นทุนการขนส่งมีความสำคัญมากกว่าระยะเวลาที่ใช้

                1.5 การขนส่งทางท่อ (Pipelines) มีความสำคัญในการขนส่งสินค้าประเภทน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมทั้งเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ

       2. อุตสาหกรรมขนส่งด้วยรถยนต์ (motor carrier ) มีความส้าคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รถยนต์มีความได้เปรียบในการเข้าถึงชุมชนและพื้นที่ ได้ดีกว่ารูปแบบการขนส่งอื่น ขนาดการบรรทุกของรถยนต์มีปริมาณไม่มาก ท้าให้ได้เปรียบทางเศรษฐกิจในการให้บริการระยะทางสั้น ปัจจัยส้าคัญในการพัฒนาการขนส่งด้วยรถยนต์ คือเครือข่ายถนน ประเทศต่าง ๆ ลงทุนสร้างเครือข่ายถนนมากขึ้น และมีการปรับปรุงถนนตลอดเวลา การลงทุนสร้างถนนของรัฐ ท้าให้รถยนต์เข้าถึงพื้นที่ได้กว้างขวาง การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารด้วยรถยนต์จึงมีอัตราเติบโตสูง

      3. ข้อได้เปรียบรถบรรทุก : Advantages of Carriers รถบรรทุกมีข้อได้เปรียบ ดังนี้

                 3.1 รวดเร็ว : Speed รถบรรทุกจัดเป็นบริการขนส่งที่รวดเร็ว ความรวดเร็วอยู่ที่ยานพาหนะที่สามารถเดินทางด้วยความเร็วสูง รถบรรทุกขนสินค้าไม่ได้มาก ดังนั้น จึงใช้เวลาน้อยในการรวบรวมสินค้า ให้เต็มคันรถ (Full Truck Load : FTL) รวมทั้งการขนถ่ายสินค้าขึ้นรถและออกจากรถใช้เวลาน้อย ความรวดเร็วการขนส่งช่วยลดวงจรเวลาสั่งซื้อ (Oder cycle time) ทำให้ลดสินค้าคงคลัง และลดความสูญเสียที่เกิดจากวัสดุเสื่อมสภาพรวมถึงสินค้าหมดสมัยอีกด้วย

                 3.2 เป็นบริการขนส่งจากที่ถึงที่ : Door-to–Door Service รถบรรทุกสามารถเดินทางไปตามถนนใหญ่เรือเล็กหรือแม้แต่ไม่มีถนน หากไม่มีสิ่งกีดขวางหรือสิ่งที่เป็นอุปสรรคจนเกินขีดความสามารถของรถบรรทุกดังนั้น รถบรรทุกจึงสามารถเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ เพื่อบรรทุกและขนถ่ายสินค้าได้ดีกว่ารูปแบบการขนส่งอื่น

                 บริการขนส่งแบบจากที่ถึงที่ หมายถึง การใช้ยานพาหนะคันเดียวกัน บรรทุกสินค้าจากต้นทางไปถึงปลายทางโดยสินค้าไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะ รถบรรทุกเมื่อบรรทุกสินค้าจากต้นทางจะเดินทางตรงไปยังปลายทาง โดยสินค้าไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะ เช่น บรรทุกสินค้าจากโรงงานในกรุงเทพฯ ไปให้ลูกค้าที่เชียงใหม่ได้โดยตรง การขนส่งรูปแบบอื่นจะต้องมีการการขนถ่ายเปลี่ยนยานพาหนะ เช่น ขนส่งสินค้าจากโรงงานในกรุงเทพฯ ไปยังร้านค้าที่เชียงใหม่ด้วยรถไฟ บริษัทต้องขนสินค้าจากโรงงานด้วยรถบรรทุกไปขึ้นรถไฟ เมื่อรถไฟถึงเชียงใหม่ก็จะต้องขนถ่ายสินค้าออก จากรถไฟไปขึ้นรถบรรทุกเพื่อไปยังปลายทางที่ต้องการข้อได้เปรียบรถบรรทุกที่ให้บริการแบบจากที่ถึงที่ ทำให้ส่งมอบสินค้าได้รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายขนถ่ายซ้ำซ้อน ลดความเสียหายและสูญหายสินค้าระหว่างขนถ่ายเปลี่ยนยานพาหนะอีกด้วย

                3.3 เครือข่ายครอบคลุม : Extensive Road Network รัฐบาลลงทุนสร้างถนนเชื่อมโยงภูมิภาค จังหวัด อำเภอและหมู่บ้าน เครือข่ายถนนที่เชื่อมโยงกัน ทำให้รถบรรทุกสามารถเข้าถึงได้ทุกแห่ง ขณะที่รูปแบบการขนส่งอื่น มีเครือข่ายจำกัด จึงให้บริการจำกัดอยู่บางพื้นที่

                3.4 การแข่งขันสูง : High Competition ตลาดรถบรรทุกมีการแข่งขันมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศ ประเทศที่มีนโยบายให้ผู้ประกอบการมากราย และอนุญาตให้มีรถบรรทุกส่วนบุคคล การแข่งขันจะมีมาก

               ประเทศที่มีการควบคุมจำนวนผู้ประกอบการ และหรือไม่อนุญาตให้มีรถบรรทุกส่วนบุคคล การแข่งขันก็จะมีน้อย ปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ มีนโยบายผ่อนคลายกฎระเบียบ (deregulation) การขนส่ง ทำให้มีการแข่งขัน ซึ่งการแข่งขันมีผลต่ออัตราค่าขนส่งและคุณภาพบริการ

                3.5 ความเสียหายน้อย : Low Damage การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกมีความรวดเร็ว สินค้าอยู่บนยานพาหนะระยะเวลาสั้น ประกอบกับถนนได้มาตรฐาน และยานพาหนะมีระบบกันสะเทือนดี จึงลดความเสียหายสินค้า ผู้รับสินค้าได้รับสินค้าในสภาพสมบูรณ์ซึ่งช่วยลดสินค้าคงคลัง

                3.6 บรรทุกสินค้าปริมาณไม่มาก : Small Carrying รถบรรทุกขนสินค้าได้น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการขนส่งอื่น ทำให้ใช้เวลาน้อยในการรวบรวมและส่งมอบสินค้า รวมทั้งขนถ่ายใช้เวลาน้อย สินค้าจึงถึงผู้รับเร็ว ลดปริมาณสินค้าคงคลังของลูกค้า และเพิ่มระดับการบริการลูกค้า

                3.7 สามารถสนองความต้องการของลูกค้า : Meeting Customer Requirements ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุกมีจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย ทำให้สามารถดูแลลูกค้าแต่ละรายได้มาก ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ยังคงให้บริการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างมั่นคง และผู้ส่งของก็ยังคาดหวังจากผู้ประกอบการ ที่จะให้การตอบสนองความต้องการดียิ่งขึ้น

               3.8 ทำให้การขนส่งสมบูรณ์ : Complete Transportation การขนส่งรูปแบบอื่น ไม่สามารถให้บริการสมบูรณ์ เช่น รถไฟให้บริการขนส่งแบบสถานีถึงสถานี หรือเรือให้บริการขนส่งแบบจากท่าเรือถึงท่าเรือ รถบรรทุกเป็นตัวเชื่อมต่อกับรูปแบบการขนส่งอื่น และทำให้การขนส่งสมบูรณ์ จึงกล่าวได้ว่า รถบรรทุกเป็นตัวประสานงานสากล (universal coordinators)

     4. ข้อเสียเปรียบรถบรรทุก : Disadvantage of Motor Carrier รถบรรทุกก็มีข้อเสียเปรียบ ดังนี้

               4.1 ค่าขนส่งแพง : High Cost รถบรรทุกมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นและค่าบำรุงรักษา ดังนั้น ค่าระวางรถบรรทุกจะสูงกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น ยกเว้น ทางอากาศ แต่รถบรรทุกสามารถให้บริการแบบจากที่ถึงที่ จึงลดค่าใช้จ่ายการขนถ่ายซ้ำซ้อน และลดเวลาเดินทางของสินค้า ทำให้ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง ดังนั้น บริษัทจะต้องพิจารณาจุดแลกระหว่างได้กับเสีย (trade-offs) คือระหว่างค่าระวางสูงกับค่าใช้จ่ายสินค้าคงคลัง ที่ลดลงเพื่อใช้ตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบการขนส่ง

              4.2 บรรทุกสินค้าได้น้อย : Low Capacity ระวางรถบรรทุกจำกัดด้วยความยาวความสูง และน้ำหนักบรรทุกตามกฏหมาย รถบรรทุกจึงบรรทุกสินค้าได้น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งด้วยรถไฟหรือเรืออย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการพัฒนารถบรรทุกให้มีความสามารถ ในการบรรทุกได้มากขึ้น เช่น รถพ่วง

              4.3 อ่อนไหวต่อสภาพอากาศ : Weather Sensitive ภูมิภาคที่มีหิมะตกปกคลุมถนน อาจทำให้รถบรรทุกผ่านไม่ได้หรือต้องใช้ความรวดเร็วต่ำ หรือในภาวะมีภัยธรรมชาติทำให้ถนนถูกตัดขาดรถบรรทุกวิ่งผ่านไม่ได้มีผลให้การส่งมอบสินค้าล่าช้าได้

      5. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด” หมายถึง ความถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 





 



ยินดีต้อนรับ