หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดต่อประสานงานส่วนราชการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-WDQA-683A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดต่อประสานงานส่วนราชการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานส่งออก - นำเข้า (ผู้ชำนาญการศุลกากร) ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ชำนาญการศุลกากร ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานประสานงานด้านพิธีการส่งออก -นำเข้าและผ่านแดน แก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้านพิธีการศุลกากรและอื่นๆ ประสานงานการรับ-ส่งมอบสินค้า ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าไปถึงผู้รับปลายทาง ประสานงานการจัดทำใบแจ้งเรียกร้องความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีสินค้าเสียหายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควบคุม กำกับ ดูแลการตรวจนับจำนวนสินค้าให้ถูกต้อง และตรวจสภาพสินค้า 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์    

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาคกฎระเบียบพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดน 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03541 ประสานงานด้านพิธีการส่งออก -นำเข้าและผ่านแดน

1. ตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการผ่านพิธีการศุลกากรถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03541.01 173253
03541 ประสานงานด้านพิธีการส่งออก -นำเข้าและผ่านแดน

2. บันทึกข้อมูลในใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการผ่านพิธีการศุลกากร ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03541.02 173254
03542

แก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้านพิธีการศุลกากรและอื่นๆ

1. วิเคราะห์ปัญหาการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางที่กำหนด

03542.01 173255
03542

แก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้านพิธีการศุลกากรและอื่นๆ

2. แก้ไขปัญหาการส่งออก-นำเข้าตามสถานการณ์ที่กำหนด

03542.02 173256
03543

ประสานงานการรับ-ส่งมอบสินค้า

1. จัดเตรียมเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03543.01 173257
03543

ประสานงานการรับ-ส่งมอบสินค้า

2. จัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้าถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03543.02 173258
03544

ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าไปถึงผู้รับปลายทาง

1. ประสานงานกับบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงผู้รับปลายทางตามขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนด

03544.01 173259
03544

ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าไปถึงผู้รับปลายทาง

2. จัดทำเอกสารการขนส่งตามขั้นตอนที่กำหนด


03544.02 173260
03545

ประสานงานการจัดทำใบแจ้งเรียกร้องความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีสินค้าเสียหายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1. ประสานงานและรวบรวมเอกสารรายการสินค้าที่เสียหายตามเกณฑ์การปฏิบัติ



03545.01 173261
03545

ประสานงานการจัดทำใบแจ้งเรียกร้องความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีสินค้าเสียหายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. รายงานสรุปผลการประสานงานเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่เกิดความเสียหาย ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03545.02 173262
03546

ควบคุม กำกับ ดูแลการตรวจนับจำนวนสินค้าให้ถูกต้อง และตรวจสภาพสินค้า

1. ตรวจนับจำนวนสินค้า และตรวจสภาพเพื่อนำขึ้นรถบรรทุกตามวิธีการปฏิบัติ

03546.01 173263
03546

ควบคุม กำกับ ดูแลการตรวจนับจำนวนสินค้าให้ถูกต้อง และตรวจสภาพสินค้า

2. จัดทำเอกสารหรือหลักฐานการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้นำเข้า ตามวิธีการปฏิบัติ

03546.02 173264

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-ไม่มี-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติงานประสานงานด้านพิธีการส่งออก -นำเข้าและผ่านแดน

     1.1 สามารถตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการผ่านพิธีการศุลกากรครบถ้วนตามข้อกำหนด

     1.2 สามารถบันทึกข้อมูลในใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการผ่านพิธีการศุลกากร ครบถ้วนตามข้อกำหนด

2. ปฏิบัติงานแก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้านพิธีการศุลกากรและอื่นๆ

     2.1 สามารถวิเคราะห์ปัญหาการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางที่กำหนด

     2.2 สามารถแก้ไขปัญหาการส่งออก-นำเข้าตามสถานการณ์ที่กำหนด

3. ปฏิบัติงานประสานงานการรับ-ส่งมอบสินค้า

     3.1 สามารถประสานงานกับบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงผู้รับปลายทางตามขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนด

     3.2 สามารถจัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้าถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

4. ปฏิบัติงานประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าไปถึงผู้รับปลายทาง

     4.1 สามารถประสานงานกับบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงผู้รับปลายทางตามขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนด

     4.2 สามารถจัดทำเอกสารการขนส่งตามขั้นตอนที่กำหนด

5. ปฏิบัติงานประสานงานการจัดทำใบแจ้งเรียกร้องความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีสินค้าเสียหายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     5.1 สามารถประสานงานและรวบรวมเอกสารรายการสินค้าที่เสียหายตามเกณฑ์การปฏิบัติ

     5.2 สามารถรายงานสรุปผลการประสานงานเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่เกิดความเสียหาย ถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด

6. ปฏิบัติงานควบคุม กำกับ ดูแลการตรวจนับจำนวนสินค้าให้ถูกต้อง และตรวจสภาพสินค้า

     6.1 สามารถตรวจนับจำนวนสินค้า และตรวจสภาพเพื่อนำขึ้นรถบรรทุกตามวิธีการปฏิบัติ

     6.2 สามารถจัดทำเอกสารหรือหลักฐานการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้นำเข้า ตามวิธีการปฏิบัติ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค

2. กฎระเบียบพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดน

3. พิธีการศุลกากรการตรวจปล่อยสินค้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค

      2. เอกสารตรวจปล่อยสินค้านำเข้าสู่ประเทศไทย

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. ใบผ่านการอบรมเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากร

      2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

      3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร

      4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร

(ค)  คำแนะนำการประเมิน

       ประเมินการการควบคุม การกำกับ การตรวจสอบเอกสารการส่งออก-นำเข้า และการผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน

(ง ) วิธีการประเมิน

      1. พิจารณาหลักฐานความรู้

      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ 

      1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องประสานงานด้านพิธีการส่งออก –นำเข้า

      2.  ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้านพิธีการส่งออก-นำเข้า

      3. เข้ารับการประเมินจะต้องประสานงานการรับมอบสินค้า

      4. เข้ารับการประเมินจะต้องประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อขนส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามที่กำหนด

      5. เข้ารับการประเมินจะต้องจัดทำใบเคลมสินค้าเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีสินค้าเสียหาย

      6. เข้ารับการประเมินจะต้องจัดการตรวจนับจำนวนสินค้า และตรวจสภาพสินค้าเพื่อนำขึ้นรถบรรทุกจัดส่งไปให้ผู้นำเข้าลงนามรับสินค้า

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

      1. ติดต่อประสานงานในการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการผ่านพิธีการศุลกากรครบถ้วนตามข้อกำหนดและบันทึกข้อมูลในใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการผ่านพิธีการศุลกากร ครบถ้วนตามข้อกำหนดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมการค้าต่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมปศุสัตว์ หอการค้าไทย

       ​​​2. วิเคราะห์ปัญหาการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางที่กำหนดและแก้ไขปัญหาการส่งออก-นำเข้าตามสถานการณ์ที่กำหนดโดยขอคำปรึกษากับหน่วยงานราชการเช่น ศูนย์บริการร่วมกระทรวงพาณิชย์ - ให้บริการข้อมูล/ข่าวสาร

กรมทรัพย์สินทางปัญญา- ให้คำปรึกษาแนะนำด้านทรัพย์สินทางปัญญา กรมการค้าภายใน กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมการกงสุล รมศุลกากร - ให้บริการแนะนำด้าน พิกัดศุลกากร อัตราศุลกากร พิธีการศุลกากร กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสิทธิประโยชน์ กรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Bank) - ให้บริการด้านการเงินการธนาคาร สมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

        3. จัดเตรียมเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าครบถ้วนตามข้อกำหนดและจัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้าเพื่อเป็นหลักฐานการรับมอบให้แก่ลูกค้าครบถ้วนตามข้อกำหนดคือ ผู้ซื้อต้องยอมรับค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดส่ง หน้าที่เพียงอย่างเดียวของผู้ขายคือการทำให้แน่ใจว่าผู้ซื้อจะสามารถเข้าถึงสินค้าได้ เมื่อผู้ซื้อมีสิทธิ์เข้าถึงแล้ว หน้าที่ทั้งหมดจะตกเป็นของผู้ซื้อ (รวมถึงการขนถ่ายสินค้า) ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าไปยังผู้ให้บริการขนส่งของผู้ซื้อ ณ สถานที่ที่ตกลงไว้ ผู้ขายจัดการเรื่องพิธีการศุลกากรขาออก

        4. ประสานงานกับบริษัทขนส่งสินค้าภายในประเทศ เพื่อรับส่งสินค้าจากท่านำเข้าไปถึงลูกค้าตามขั้นตอนการปฏิบัติที่กำหนดและจัดทำเอกสารการขนส่งตามขั้นตอนที่กำหนดคือ ผู้ขายรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงของการขนส่งสินค้าไปยังที่อยู่ตามที่ตกลงกันไว้ สินค้าจะได้รับการจัดประเภทเป็นจัดส่งแล้ว เมื่อสินค้าไปถึงยังปลายทางพร้อมสำหรับรับการขนถ่ายเข้า ความรับผิดชอบในการส่งออกและนำเข้า

        5. รวบรวมเอกสารรายการสินค้าที่เสียหายตามเกณฑ์การปฏิบัติและบันทึกรายการสินค้าเพื่อเพื่อเรียกร้องค่าสินค้าทดแทนสินค้าเสียหายตามข้อกำหนดคือ ผู้ขายรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดส่ง ผู้ขายรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงของการขนส่งสินค้าไปยังที่อยู่ตามที่ตกลงไว้ ผู้ขายยังต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้าพร้อมสำหรับการขนถ่ายออก เป็นไปตามความรับผิดชอบด้านการส่งออกและนำเข้า รวมถึงชำระค่าภาษีและอากรต่างๆ ผู้ขายรับผิดชอบต่อค่าประกันสินค้า ผู้ขายมีหน้าที่ซื้อความคุ้มครองขั้นต่ำเท่าที่เป็นไปได้เท่านั้น หากผู้ซื้อต้องการการประกันที่ครอบคลุมมากกว่า จะต้องชำระเงินค่าประกันด้วยตัวเอง 

            1) การตรวจหีบห่อที่ใช้บรรจุสินค้าจะต้องมีเครื่องหมาย และหมายเลขแสดงเมืองที่เราจะส่งสินค้าออกไปยังประเทศนั้นๆ หรืออาจจะเป็นปลายทางที่จะต้องมีตราสัญลักษณ์ให้ส่งไปยังประเทศนั้นๆ ได้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าสินค้าของคุณจะถูกส่งไปยังที่ใด และเจ้าหน้าที่จะสามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าในหีบห่อมาจากที่ใด

            2) มีเอกสารการส่งสินค้า เป็นเอกสารที่ใช้ในการประกอบการขนส่งสินค้าผ่านแดนทั้งหมดที่จำเป็น และเจ้าหน้าที่จะต้องทำการตรวจสอบเอกสารเหล่านี้ด้วยเช่นกัน ถ้าหากว่าคุณไม่มีเอกสารประกอบการส่งสินค้าผ่านแดนก็มีสิทธิ์ที่จะทำให้ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้ โดยเอกสารการขนส่งสินค้าผ่านแดนนั้นมีหลายอย่าง เช่น เอกสารแสดงเมือง หรือต้นทางที่จะส่งสินค้าไป เมืองต้นทาง และปลายทางของการขนส่งสินค้า รวมถึงใบตราส่งตลอดทาง และอื่นๆ

            3) สินค้าที่จะทำการขนส่งผ่านแดนนั้นจะต้องเป็นสินค้าที่สามารถขนส่งโดยทางถนนได้ทุกประเภท แล้วจะต้องไม่เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ถูกต้องห้ามของกฎหมายของประเทศต้นทาง และปลายทาง รวมถึงจะต้องไม่เป็นสินค้าที่มีอันตราย นอกจากสินค้านั้นจะได้รับการอนุญาตจากประเทศที่จะส่งออกไปเป็นกรณีที่พิเศษเท่านั้น

        6. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด” หมายถึง ความถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.3  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.4  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.5  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.6  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ