หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาระบบการทำงานให้กับพนักงานการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-MDQX-681A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาระบบการทำงานให้กับพนักงานการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานส่งออก - นำเข้า (ผู้ชำนาญการศุลกากร) ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ชำนาญการศุลกากร ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานวางแผนการฝึกอบรมการปฏิบัติงานด้านการส่งออก-นำเข้า และผ่านแดนของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน อบรมและชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน พัฒนา ปรับปรุงระบบงานให้ทันสมัยและสอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์    

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาคการพัฒนาองค์การการส่งออก-นำเข้า 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03521

วางแผนการฝึกอบรมการปฏิบัติงานด้านการส่งออก-นำเข้า และผ่านแดนของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน 

1. จัดเตรียมการฝึกอบรมพนักงานตามเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กำหนด

03521.01 173241
03521

วางแผนการฝึกอบรมการปฏิบัติงานด้านการส่งออก-นำเข้า และผ่านแดนของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน 

2. จัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนาบุคลากรตามแผนงานที่กำหนด

03521.02 173242
03522

อบรมและชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน

1. ถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด

03522.01 173243
03522

อบรมและชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน

2. ประเมินผลการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด

03522.02 173244
03523

พัฒนา ปรับปรุงระบบงานให้ทันสมัยและสอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน

1. จัดเตรียมระบบเทคโนโลยีในการส่งออก-นำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนด

03523.01 173245
03523

พัฒนา ปรับปรุงระบบงานให้ทันสมัยและสอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน

2. ทำระบบเทคโนโลยีในการในการส่งออก-นำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนด

03523.02 173246

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-ไม่มี-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  ปฏิบัติงานวางแผนการฝึกอบรมการปฏิบัติงานด้านการส่งออก-นำเข้า และผ่านแดนของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน

     1.1 สามารถจัดเตรียมการฝึกอบรมพนักงานตามเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กำหนด

     1.2 สามารถจัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนาบุคลากรตามแผนงานที่กำหนด

2.  ปฏิบัติงานอบรมและชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน

     2.1 สามารถถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด

     2.2 สามารถประเมินผลการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด

3.  ปฏิบัติงานพัฒนา ปรับปรุงระบบงานให้ทันสมัยและสอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน

     3.1 สามารถจัดเตรียมระบบเทคโนโลยีในการส่งออก-นำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนด

     3.2 สามารถทำระบบเทคโนโลยีในการในการส่งออก-นำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค

2. กฎระเบียบพิธีการศุลกากร

3. การวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

4. การวางแผนการพัฒนาระบบเทคโนโลยี

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. ประมวลฯ กฎระเบียบพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้า ทุกภาค

      2. เอกสารตรวจปล่อยสินค้านำเข้าสู่ประเทศไทย

      3. คู่มือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

      4. คู่มือการพัฒนาเทคโนโลยี

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. ใบผ่านการอบรมเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากร

      2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

      3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร

      4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร

(ค)  คำแนะนำการประเมิน

      ประเมินการวางแผน การสอนงานและชีแจงแนวทางในการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าและพัฒนาระบบเทคโนโลยีการผ่านพิธีการศุลกากรการส่งออก-นำเข้าและตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน

(ง)  วิธีการประเมิน

     1. พิจารณาหลักฐานความรู้

     2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ 

     1. ผู้เข้ารับการประเมินจะวางแผนการฝึกอบรมการปฏิบัติงานด้านการส่งออก-นำเข้าของบุคคลการให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน

     2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสอนงานและชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้า

     3. เข้ารับการประเมินจะต้องพัฒนาระบบเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้า เกี่ยวกับการดำเนินการพิธีการศุลกากรตรวจปล่อยสินค้านำเข้าสู่ประเทศไทยและไปยังต่างประเทศและสินค้าผ่านแดน

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

     1. จัดเตรียมการฝึกอบรมพนักงานการฝึกอบรม คือ กระบวนการในอันที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และความชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การจัดโครงการฝึกอบรมพนักงานด้านการส่งออก-นำเข้า เป็นเพียงหนึ่ง ในหลายวิธีการในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรธุรกิจการส่งออก-นำเข้า และการฝึกอบรมจะบังเกิดผลดีต่อเมื่อผู้รับผิดชอบดำเนินการอย่างมีระบบ ซึ่งจะเกิดขึ้น ได้หากผู้รับผิดชอบจัดการฝึกอบรมมีความเข้าใจถึงกระบวนการฝึกอบรม และวิธีดำเนินการในแต่ละขั้นตอนอย่างเหมาะสม

     2. ถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนดและประเมินผลการปฏิบัติงานการส่งออก-นำเข้าตามแนวทางการปฏิบัติงานที่กำหนด หมายถึง การที่คนๆหนึ่ง ช่วยให้ใครก็ตามพัฒนาขีดความสามารถในการทำงาน การสอนงานไม่ได้หมายถึงสาระของการสอนหรือบอกถึงวิธีการทำงานเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ การให้กำลังใจ และให้โอกาสในการทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น การสอนงานมีคุณค่าพิเศษทำให้เกิดผลดี ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูง เป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับ ความสำคัญของการสอนงาน มีดังต่อไปนี้

        1. ไม่เกิดการลองผิดลองถูก การสอนงานเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพลดความผิดพลาดเสียหายและเวลาการทำงาน

        2. การเรียนรู้เป็นไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เกิดการถ่ายทอดงานและเทคนิคการปฏิบัติงานจากหัวหน้าไปสู่ผู้ร่วมทีมงานช่วยให้เกิดความรู้ในการทำงานที่ถูกต้อง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

        3. การปฏิบัติงานสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย สามารถปรับปรุงงานให้ดีขึ้น

        4. ไม่เสียเวลาแก้ไขงานที่ผิดพลาดและบกพร่อง

        5. ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาไว้วางใจกันและเป็นโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

        6. ทำให้องค์ความรู้ไม่ติดกับตัวบุคคลเมื่อมีการเข้าออกจากงานก็มีผู้สืบต่องานได้

   3. จัดเตรียมระบบเทคโนโลยีในการส่งออก-นำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนดและทำระบบเทคโนโลยีในการในการส่งออก-นำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางการปฏิบัติที่กำหนดหมายถึง การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในองค์กร(Adaptive Enterprise) เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่นำมาใช้งานในองค์กร เพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กรให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โมบายคอมพิวติง (Mobile Computing) และเอ็มคอมเมิรซ์ (M-Commerce) โมบายคอมพิวติง (Mobile Computing) เป็นลักษณะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น notebook โทรศัพท์มือถือ PDA เป็นต้น เอ็มคอมเมิรซ์ (M-Commerce) เป็นลักษณะการทำธุรกรรมไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยอุปกรณ์ไร้สายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ, pocket pc เป็นต้น

          ความจำเป็นของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร

          - สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์กร 

          - ประโยชน์ของความคล่องตัวขององค์กร

          - ความกดดันของสภาพแวดล้อม     

          - กิจกรรมช่วยตอบสนองความวิกฤตที่เกิดขึ้นในขององค์กร       

          - กระบวนการปรับตัวขององค์กร

          - ระบบเรียลไทม์ (Real-time)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.3  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        3. แบบประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ