หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมการและประสานงานการตรวจปล่อยการส่งออก-นำเข้า และสินค้าผ่านแดน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-GLJF-675A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมการและประสานงานการตรวจปล่อยการส่งออก-นำเข้า และสินค้าผ่านแดน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานส่งออก - นำเข้า (ผู้ปฏิบัติพิธีการและตรวจปล่อยสินค้า) ระดับ 4



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ปฏิบัติพิธีการและตรวจปล่อยสินค้า ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวกับส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้า ในการรับส่งสินค้าส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน ติดตาม ตรวจสอบสถานะของใบขนสินค้า ประสานงานการรับ-ส่งสินค้าในการขนส่งระหว่างประเทศ ประสานงานกรณีพบสินค้าเกิดความเสียหาย 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ระเบียบการขออนุญาตผ่านพิธีการศุลกากรการนำสินค้าผ่านแดน

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03411

ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวกับส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน 

1.จัดเตรียมเอกสารการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดนได้อย่างถูกต้องตามระเบียบที่กำหนด

03411.01 173199
03411

ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวกับส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน 

2. ตรวจสอบเอกสารการขนย้ายของผ่านแดนได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดในประมวลการปฏิบัติ

03411.02 173200
03412

ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้า ในการรับส่งสินค้าส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน

1. ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าในการรับส่งสินค้าส่งออก-นำเข้า และผ่านแดนตามที่กำหนดได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

03412.01 173201
03412

ประสานงานบริษัทขนส่งสินค้า ในการรับส่งสินค้าส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน

2. จัดประเภทขนส่งของบริษัทขนส่งสินค้าที่ได้รับการประสานงานได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03412.02 173202
03413

ติดตาม ตรวจสอบสถานะของใบขนสินค้า 

1. จัดเตรียมการตรวจสอบสถานะของใบขนสินค้าอย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด

03413.01 173203
03413

ติดตาม ตรวจสอบสถานะของใบขนสินค้า 

2. ตรวจสอบสถานะของใบขนสินค้าอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03413.02 173204
03414

ประสานงานการรับ-ส่งสินค้าในการขนส่งระหว่างประเทศ 

1. ประสานงานในการขนส่งสินค้าเพื่อส่งออกอย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติ

03414.01 173205
03414

ประสานงานการรับ-ส่งสินค้าในการขนส่งระหว่างประเทศ 

2. รายงานสรุปผลการประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตามขั้นตอนการปฏิบัติ

03414.02 173206
03415

ประสานงานกรณีพบสินค้าเกิดความเสียหาย

1. ประสานงาน เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่เกิดความเสียหาย ดำเนินการ ตามข้อกำหนด

03415.01 173207
03415

ประสานงานกรณีพบสินค้าเกิดความเสียหาย

2. รายงานสรุปผลการประสานงานเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่เกิดความเสียหาย ตามข้อปฏิบัติ

03415.02 173208

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-ไม่มี-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติงานตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวกับส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน

    1.1 สามารถจัดเตรียมเอกสารการส่งออก-นำเข้าและผ่านแดนได้อย่างถูกต้องตามระเบียบที่กำหนด

    1.2 สามารถตรวจสอบเอกสารการขนย้ายของผ่านแดนได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดในประมวลการปฏิบัติ

2. ปฏิบัติงานประสานงานบริษัทขนส่งสินค้า ในการรับส่งสินค้าส่งออก-นำเข้าและผ่านแดน

    2.1 สามารถประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าในการรับส่งสินค้าส่งออก-นำเข้า และผ่านแดนตามที่กำหนดได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

    2.2 สามารถจัดประเภทขนส่งของบริษัทขนส่งสินค้าที่ได้รับการประสานงานได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

3. ปฏิบัติงานติดตาม ตรวจสอบสถานะของใบขนสินค้า

     3.1 สามารถจัดเตรียมการตรวจสอบสถานะของใบขนสินค้าอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

     3.2 สามารถตรวจสอบสถานะของใบขนสินค้าอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

4. ปฏิบัติงานประสานงานการรับ-ส่งสินค้าในการขนส่งระหว่างประเทศ  

    4.1 สามารถประสานงานในการขนส่งสินค้าเพื่อส่งออกอย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติ

    4.2 สามารถรายงานสรุปผลการประสานงานบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตามขั้นตอนการปฏิบัติ

5. ปฏิบัติงานประสานงานกรณีพบสินค้าเกิดความเสียหาย

     5.1 สามารถประสานงาน เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่เกิดความเสียหาย ดำเนินการ ตามข้อกำหนด

     5.2 สามารถรายงานสรุปผลการประสานงานเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่เกิดความเสียหาย ตามข้อปฏิบัติ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

พิธีการศุลกากรและการตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. เอกสารการส่งมอบสินค้าผ่านแดน

      2. เอกสารการควบคุมการเคลื่อนย้ายขนถ่ายสินค้าผ่านแดน

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. ใบผ่านการอบรมการผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน

      2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

      ประเมินเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจปล่อยสินค้าผ่านแดน

(ง)  วิธีการประเมิน

     1. พิจารณาหลักฐานความรู้        

     2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ 

      1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบเอกสารการผ่านพิธีการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

      2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องประสานงานในการรับส่งสินค้าไปท่าส่งออกตามขั้นตอนการปฏิบัติ

      3. ผู้รับการประเมินจะต้องปฏิบัติการติดตามตรวจสอบสถานะ การรับบรรทุกสินค้า (Status 0409) เพื่อยืนยันการส่งออก

      4. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการประสานงานบริษัทขนส่งระหว่างประเทศเพื่อส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ

      5. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการประสานงานบริษัทประกันเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่เกิดความเสียหาย

(ข)   คำอธิบายรายละเอียด

       1. ขั้นตอนการส่งออก มี 4 ขั้นตอน

           1) ทำใบขนสินค้า 

           2) ชำระอากร 

           3) ตรวจของ

           4) บรรทุกขึ้นยานพาหนะ   

       2. วิธีการตรวจสอบสินค้าในการส่งออก

           2.1 การตรวจสอบของที่มีคำสั่งไม่ต้องตรวจสอบ พิกัด ราคา และของ (Green Line)

               - ให้ผู้นำของเข้าแจ้งเลขที่ใบตราส่งให้เจ้าหน้าที่โรงพักสินค้าทราบเพื่อติดต่อรับสินค้ากับโรงพักสินค้า

               - กรณีของที่ใช้สิทธิลด/ยกเว้นอัตราอากร หรือของที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า หรือของที่ต้องดำเนินการอื่นใดตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้นำของเข้ายื่นเอกสาร เช่น เอกสารแสดงการได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ , ใบอนุญาต/ ใบทะเบียน/ หนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้องในรูปแบบเอกสารแก่หน่วยบริการศุลกากรก่อนการนาของออกจากโรงพักสินค้าเว้นแต่กรมศุลกากรได้อนุมัติให้ไม่ต้องยื่นเอกสาร เนื่องจากเมื่อได้เชื่อมโยงข้อมูลในระบบ National Single Window (NSW) แล้ว

           2.2 การตรวจสอบของที่มีคำสั่งให้ตรวจสอบพิกัด ราคา และของ (Red Line)

ใบขนสินค้าขาเข้าที่มีคำสั่ง “ให้เปิดตรวจ” หรือ Red Line ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะบันทึกข้อมูล “ต้องตรวจสอบพิกัด ราคา และของ” ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะส่งข้อมูลเตรียมของไปยังโรงพักสินค้า ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ให้ตรวจสอบสินค้า ดังนี้

              (2.2.1) ของที่นำเข้าตามใบขนสินค้าที่มีคำสั่งให้ตรวจสอบนั้น ต้องถูกตรวจสอบพิกัดตามหลักเกณฑ์ในเรื่องการกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร และตรวจสอบราคาตามหลักเกณฑ์การกำหนดราคาศุลกากรโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนการตรวจปล่อยทางศุลกากร 

              (2.2.2) การตรวจสอบสินค้าให้หมายรวมถึง การตรวจสอบการดำเนินกระบวนการทางศุลกากรตามกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องแก่การศุลกากรด้วย และ

              (2.2.3) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจปล่อยเปิดตรวจของตามอัตราที่กำหนดไว้ในประมวลฯข้อ 2 01 13 08 และ 2 01 13 09 โดยของตามใบขนสินค้าฉบับหนึ่งจะมีจำนวนกี่หีบห่อก็ตามจะต้องนำมาให้ตรวจปล่อยคราวเดียวกันทั้งหมด จะตรวจปล่อยไปคราวละบางส่วนไม่ได้ เว้นแต่

                        (1) กรณีที่ผู้นำของเข้าไม่สามารถค้นหาหีบห่อได้ครบถ้วนจริงหรือกรณีที่ใบขนสินค้าฉบับใดมีของเป็นจำนวนมากไม่สามารถจะตรวจปล่อยให้เสร็จในวันเดียวกันได้ให้หัวหน้าหน่วยงานตรวจ

                        (2) รถประจำถิ่น คือ รถของประเทศที่ไม่มีความตกลงด้านการขนส่งทางถนน อันได้แก่ กัมพูชา และเมียนมา ซึ่งได้นำรถเข้าออกทางจุดผ่านแดนทางบกเพื่อกิจธุระเป็นประจำ เช่น ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค การรักษาพยาบาล การศึกษา เป็นต้น

                        (3) รถที่นำเข้ามาตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น

        3. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด” หมายถึง ความถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

        3. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

        3. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.3 เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

        3. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.4  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

        3. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.5  เครื่องมือการประเมิน

       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

       2. แบบประเมินผลจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

       3. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ