หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประกอบแว่นตาตามประเภทกรอบเจาะ (Rimless Frame)

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-FILX-621A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประกอบแว่นตาตามประเภทกรอบเจาะ (Rimless Frame)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 3254 ผู้ตรวจวัดสายตาและช่างประกอบแว่นตา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     การประกอบแว่นตาประเภทกรอบเจาะตามใบสั่งค่าสายตา ด้วยการสร้างแม่แบบตามรูปทรงกรอบแว่น กำหนดเส้นอ้างอิงในการประกอบเลนส์ ฝนเลนส์ ลบคมเลนส์ กำหนดตำแหน่งเจาะตรงตามโครงสร้างของกรอบแว่น และประกอบเลนส์เข้ากรอบแว่น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างวัดสายตาประกอบแว่น

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01131 ตรวจสอบข้อมูลใบสั่งและตั้งค่ากำลังเลนส์ตามใบสั่งสำหรับการประกอบแว่นตาตามประเภทกรอบเจาะ (Rimless Frame) 1. ตรวจสอบเลนส์ตามใบสั่ง 01131.01 182279
01131 ตรวจสอบข้อมูลใบสั่งและตั้งค่ากำลังเลนส์ตามใบสั่งสำหรับการประกอบแว่นตาตามประเภทกรอบเจาะ (Rimless Frame) 2. ตรวจสอบค่ากำลังเลนส์ตามแว่นตาเดิม  01131.02 182280
01132 สร้างแม่แบบ (Pattern) และกำหนด Datum line/ PD / Segment Height สำหรับการประกอบแว่นตามประเภทกรอบเจาะ (Rimless Frame) 1. สร้างแม่แบบตามรูปทรงของกรอบแว่นตา 01132.01 182281
01132 สร้างแม่แบบ (Pattern) และกำหนด Datum line/ PD / Segment Height สำหรับการประกอบแว่นตามประเภทกรอบเจาะ (Rimless Frame) 2. กำหนดเส้นอ้างอิงในการประกอบเลนส์ (Datum line / PD / Segment Height) ตามประเภทของเลนส์ 01132.02 182282
01133 ฝนเลนส์เข้ากรอบตามประเภทกรอบเจาะ (Rimless Frame) 1. วาง Optical Center เลนส์ให้ตรงกับจุด PD / Segment Height ที่สร้างบนแม่แบบ (Centering) 01133.01 182283
01133 ฝนเลนส์เข้ากรอบตามประเภทกรอบเจาะ (Rimless Frame) 2. ฝนเลนส์เข้ากรอบแว่นตา 01133.02 182284

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    0111 ประกอบแว่นตาตามประเภทกรอบเต็ม (Full Frame)

    0112 ประกอบแว่นตาตามประเภทกรอบเซาะร่อง (Semi Rimless Frame)

    0121 ปรับแต่งกรอบแว่นตา

    0122 วัดพารามิเตอร์

    0211 ตรวจคัดกรองปัญหาการมองเห็น ด้วยวิธี Objective test 

    0212 ตรวจคัดกรองปัญหาการมองเห็น ด้วยวิธี Subjective test

    0221 ให้คำแนะนำเลนส์และกรอบแว่นตา

    0411 ปฏิบัติต่อผู้รับบริการด้วยจิตบริการที่ดี

    0412 พัฒนาความรู้และทักษะเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

    0421 ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อผู้รับบริการ

    0422 ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในอาชีพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. ทักษะการตรวจสอบค่ากำลังเลนส์

    2. ทักษะการสร้างแม่แบบและกำหนดเส้นอ้างอิงในการประกอบเลนส์

    3. ทักษะการฝนเลนส์และลบคมเลนส์

    4. ทักษะการเจาะเลนส์ให้ตรงตามโครงสร้างของกรอบแว่น

    5. ทักษะการประกอบเลนส์เข้ากรอบแว่นตา

    6. ทักษะการแก้ปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้ด้านการแปลความหมายของใบสั่งค่าสายตา

    2. ความรู้ด้านวัสดุและประเภทของเลนส์

    3. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการประกอบแว่นตาตามประเภทกรอบเจาะ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          ผลการประเมินภาคปฏิบัติในการประกอบแว่นตามประเภทกรอบเจาะ 

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          ผลการสอบข้อเขียน 

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

          จัดการประเมินทางภาคทฤษฎีก่อน และตามด้วยการประเมินภาคปฏิบัติ

     (ง) วิธีการประเมิน    

          พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

   (ก) คำแนะนำ 

   ประกอบแว่นตามขั้นตอนของการประกอบแว่นตาประเภทกรอบเจาะ

   1. ตรวจสอบเลนส์ตามใบสั่ง

      1.1 ระบุวัสดุของเลนส์ให้ตรงตามใบสั่ง

      1.2 ระบุประเภทของเลนส์ตามการแก้ไขปัญหาสายตาได้

      1.3 แยกประเภทของเลนส์ตามคุณสมบัติในการใช้งาน

   2. ตรวจสอบค่ากำลังเลนส์ตามแว่นเดิม ประกอบด้วย การหาค่า SPH, CYL, Axis, Prism, Addition, OC, PD และ Segment Height

   3. สร้างแม่แบบตามรูปทรงกรอบแว่นตา

       3.1 สร้างแม่แบบด้วยการวาด ตัด หรือ สแกน ได้อย่างถูกต้อง

       3.2 ตรวจสอบความ ถูกต้องของแม่แบบที่สร้างขึ้นให้ได้ขนาดและรูปทรงพอดีกับกรอบแว่นตา

   4. กำหนดเส้นอ้างอิงในการประกอบเลนส์ (Datum line / PD / Segment Height) ตามประเภทของเลนส์

       4.1 สร้างเส้นอ้างอิงแนวนอน (Datum line) (180 องศา)

       4.2 สร้างเส้นอ้างอิงแนวตั้ง (90 องศา) เพื่อกำหนดจุด PD / Segment Height ตามชนิดเลนส์

   5. วาง Optical Center เลนส์ให้ตรงกับจุด PD / Segment Height ที่สร้างบนแม่แบบ (Centering)

   6. ฝนเลนส์เข้ากรอบแว่นตา

       6.1 ตัดเลนส์ให้ได้รูปตามแม่แบบ (Pattern)

       6.2 ฝนขอบเลนส์ให้เรียบ ได้รูปและขนาดพอดีกับกรอบแว่น และลบคมเลนส์

       6.3 กำหนดตำแหน่งเจาะตรงตามโครงสร้างของกรอบแว่น

       6.4 ประกอบเลนส์เข้ากรอบแว่น



   (ข) คำอธิบายรายละเอียด

   1. Optical Center (OC) หมายถึง จุดศูนย์กลาง หรือจุดโฟกัสของเลนส์

   2. Spherical Lens (SPH) หมายถึง เลนส์ทรงกลม ใช้แก้ไขสายตาสั้น หรือสายตายาว

   3. Cylindrical Lens (CYL) หมายถึง เลนส์ทรงกระบอก ใช้แก้ไขสายตาเอียง

   4. Axis    หมายถึง แกนองศาของเลนส์ หรือแกนองศาสายตาเอียง

   5. Addition (Add) หมายถึง ค่ากำลังเลนส์นูนที่ใส่เพิ่มเข้าไปจากค่าสายตาระยะไกล สำหรับการมองที่ระยะใกล้

   6. Pupillary Distance (PD) หมายถึง ระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางรูม่านตาทั้งสองข้าง 

   7. Segment Height (SH) หมายถึง ความสูงในแนวตั้ง วัดจากขอบล่างสุดของเลนส์ถึงจุดประกอบ เช่น เลนส์สองชั้น Flat top,  SH จะวัดจากขอบล่างสุดของเลนส์ถึงแนวขอบบนของเส้นครึ่งวงกลมที่ใช้อ่านหนังสือ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบทดสอบข้อเขียน (ข้อสอบปรนัย แบบ 4 ตัวลือก)

18.2 การสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ