หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติต่อผู้รับบริการด้วยจิตบริการที่ดี

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-FBWU-632A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติต่อผู้รับบริการด้วยจิตบริการที่ดี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 3254 ผู้ตรวจวัดสายตาและช่างประกอบแว่นตา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     การมีสุขภาพจิตที่ดี มีการบริหารจัดการอารมณ์ที่เหมาะสม มีจิตให้บริการ อุทิศตนให้กับงานที่ทำ และมีพฤติกรรมเหมาะสมต่อการทำงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างวัดสายตาประกอบแว่น

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04111 แสดงออกถึงการเป็นผู้มีความฉลาดทางอารมณ์ 1. มีการจัดการอารมณ์ที่ดี 04111.01 182342
04111 แสดงออกถึงการเป็นผู้มีความฉลาดทางอารมณ์ 2. มีความไวต่อความรู้สึก 04111.02 182343
04112 แสดงออกถึงการเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในงานบริการ 1. มีทักษะการสื่อสารที่ดี 04112.01 182344
04112 แสดงออกถึงการเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในงานบริการ 2. มีพฤติกรรมให้บริการที่ดี 04112.02 182345

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. ทักษะในการบริหารจัดการอารมณ์

    2. ทักษะการให้บริการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     1. ความรู้เกี่ยวกับอารมณ์และการบริหารจัดการอารมณ์ 

     2. ความรู้เกี่ยวกับการให้บริการและการมีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่องานบริการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 เกี่ยวกับการจัดการอารมณ์และการมีจิตบริการ

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          ผลการสอบข้อเขียน 

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

          จัดการประเมินทางภาคทฤษฎี คือ การสอบข้อเขียน และตามด้วยการประเมินด้วยบุคคลที่ 3

     (ง) วิธีการประเมิน    

          พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

     (ก) คำแนะนำ 

          ไม่มี

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

          ไม่มี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 แบบทดสอบข้อเขียน (ข้อสอบปรนัย แบบ 4 ตัวลือก)

    18.2 ประเมินด้วยบุคคลที่ 3



ยินดีต้อนรับ