หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผน จัดการธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-OQCZ-788A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผน จัดการธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล / 1312 (Aquaculture and fisheries production managers)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย วางแผนธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล และวางแผนกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคคลที่อยู่ในอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ - พระราชบัญญัติการประมง- มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ของกรมประมง และ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30801.1

วางแผนธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

รวบรวมข้อมูลการผลิตกุ้งทะเล

30801.1.01 183590
30801.1

วางแผนธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

วิเคราะห์ข้อมูลการผลิตกุ้งทะเล

30801.1.02 183591
30801.1

วางแผนธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

30801.1.03 183592
30801.2

วางแผนกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

นำเสนอเป้าหมายของธุรกิจ

30801.2.01 183593
30801.2

วางแผนกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

นำเสนอแนวทางการวางแผนกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับเป้าหมาย

30801.2.02 183594

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถสื่อสารในการปฏิบัติงานได้

2. มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับงาน หรือภาษา

ในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น

3. จัดเตรียม ใช้ และบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงกุ้งทะเล

4. เตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล

5. เตรียมน้ำเพื่อใช้ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

6. ปล่อยลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ลงเลี้ยงให้มีอัตราการรอดสูง

7. ให้อาหารกุ้งทะเลระหว่างการเลี้ยง

8. ตรวจสอบการเจริญเติบโตของกุ้งทะเล

9. ตรวจสอบของเสียที่พื้นบ่อระหว่างเลี้ยงกุ้งทะเล

10. วางแผนและออกแบบระบบการให้อากาศภายในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล

11. วางแผนและออกแบบระบบน้ำและเครื่องสูบน้ำภายในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

12. ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

13. จัดการคุณภาพน้ำให้เหมาะสมก่อนและหลังใช้งานและการนำกลับมาใช้ใหม่ภายในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

14. วางแผนการผลิตกุ้งทะเล

15. ควบคุมระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

16. จัดหาลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ที่ได้คุณภาพ

17. พิจารณาคุณค่าทางอาหาร ขนาดเม็ดอาหารและคำนวณปริมาณอาหาร

18. จัดการคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล

19. ประเมินผลผลิตกุ้งทะเลก่อนขาย

20. วางแผนเฝ้าระวังและตรวจสอบเพื่อป้องกันเชื้อก่อโรคในกุ้งทะเล

21. สำรวจสถานที่ตั้งฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

22. กำหนดแบบแปลนฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล และออกแบบบ่อ

23. วางแผนและออกแบบระบบไฟฟ้าและความปลอดภัยภายในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

24. ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

25. ประเมินผลการตรวจสอบโรคและสาเหตุการติดเชื้อในกุ้งทะเล

26. จัดการกุ้งทะเลที่พบเชื้อก่อโรคและกุ้งทะเลป่วย

27. เลือกตลาด

28. วางแผนและกำกับการจับกุ้งทะเลให้ได้คุณภาพที่สอดคล้องกับสภาวะการตลาด

29. วางระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องและปลอดภัย 

2. มีทักษะทางเทคนิคในการทำงานและทักษะในการควบคุมงาน

3. มีทักษะในการทำงานที่ต้องคิดวิเคราะห์ข้อมูล วางแผน เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและประเมินผลในการปฏิบัติงาน

4. มีทักษะในบริหารจัดการกลยุทธ์และใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหางานที่ซับซ้อนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

5. มีทักษะในการวางแผน บริหารจัดการ กำหนดนโยบาย และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการจัดการธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ในการเชื่อมโยงหลักการปฏิบัติงานและผลการวิเคราะห์สารสนเทศ เพื่อใช้ตัดสินใจทำงาน



2. มีความรู้ในเชิงทฤษฎีหรือหลักการสำคัญในงานอาชีพเพื่อปรับปรุงคุณภาพหรือผลงานให้ดีขึ้น



3. มีความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องและการบริหารจัดการระดับต้นมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม



4. มีความรู้ในเชิงทฤษฎีที่อาจนำไปปรับใช้เป็นองค์ความรู้หรือนวัตกรรมในงานอาชีพเพื่อการพัฒนาระบบการทำงาน



    5. บริหารฟาร์มกุ้งทะเลโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามหลักอาชีวอนามัย และความปลอดภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



 



 



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. เอกสาร หรือ แฟ้มสะสมผลงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล หรือ



2. หลักฐานอื่นๆ ด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรม ใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



        หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



     2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



          (ง) วิธีการประเมิน



                  1. การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง




  • คำแนะนำ



          1. มีความเข้าใจกระบวนการผลิตกุ้งทะเล ทุกขั้นตอน บันทึกต้นทุนอย่างละเอียดของทุกรอบการผลิต เก็บข้อมูลโครงสร้างต้นทุนเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ต้นทุนและแนวทางการลดต้นทุนการผลิต วิเคราะห์สาเหตุ แล้วนำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับการร่วมวางแผน และกำหนดนโยบายต่อไปเพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต



2. นำเสนอแนวทางแก้ปัญหา ส่งเสริม ประชุมกันอย่างสม่ำเสมอกับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อกำหนดแนวทางเพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิตด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี



3. หาวิธีการและคัดเลือกวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เพื่อนำมาใช้ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล เพื่อการลดการใช้พลังงาน รวมทั้งปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานให้กับพนักงาน เพื่อลดต้นทุนการผลิต



4. รณรงค์และปลูกจิตสำนึกด้านความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การรักษาความสะอาด การป้องกันโรคที่อาจปนเปื้อนมากับผู้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ และอาหาร การป้องกันภัย และรักษาความปลอดภัยให้กับพนักงาน จัดทำคู่มือการใช้งาน ข้อควรปฏิบัติหรือต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด รวมถึงมีการจัดการฝึกอบรมให้กับพนักงานใหม่ หรืออบรมให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกรณีที่มีการติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ใหม่ 



     (ข) คำอธิบายรายละเอียด



                     ไม่มี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. แบบประเมินการสัมภาษณ์

2. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น เอกสาร หรือ แฟ้มสะสมผลงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล หรือ หลักฐานอื่นๆ ด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ