หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการกุ้งทะเลที่พบเชื้อก่อโรคและกุ้งทะเลป่วย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-GLQS-782A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการกุ้งทะเลที่พบเชื้อก่อโรคและกุ้งทะเลป่วย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้เลี้ยงกุ้งทะเล / 1312 (Aquaculture and fisheries production managers)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย กำหนดวิธีการจัดการกุ้งทะเลที่ตรวจพบเชื้อก่อโรคและป่วยได้อย่างเหมาะสม และหาแนวทางป้องกันและฟื้นฟูกุ้งทะเลที่ป่วยจากเชื้อแบคทีเรีย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคคลที่อยู่ในอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ - พระราชบัญญัติการประมง- มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ของกรมประมง และ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30503.1

กำหนดวิธีการจัดการกุ้งทะเลที่ตรวจพบเชื้อก่อโรคและป่วยได้อย่างเหมาะสม

ระบุวิธีการคัดแยกและลักษณะกุ้งทะเลป่วย  

30503.1.01 183555
30503.1

กำหนดวิธีการจัดการกุ้งทะเลที่ตรวจพบเชื้อก่อโรคและป่วยได้อย่างเหมาะสม

ระบุวิธีกำจัดซากกุ้งทะเลป่วยและตาย

30503.1.02 183556
30503.2

หาแนวทางป้องกัน และ ฟื้นฟูกุ้งทะเลที่ป่วยจากเชื้อแบคทีเรีย

ระบุวิธีการเฝ้าระวังและตรวจสอบเชื้อก่อโรคที่พบในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

30503.2.01 183558
30503.2

หาแนวทางป้องกัน และ ฟื้นฟูกุ้งทะเลที่ป่วยจากเชื้อแบคทีเรีย

ระบุปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ทำให้กุ้งทะเลป่วย

30503.2.02 183559
30503.2

หาแนวทางป้องกัน และ ฟื้นฟูกุ้งทะเลที่ป่วยจากเชื้อแบคทีเรีย

ระบุการรักษากุ้งทะเลป่วย

30503.2.03 183560

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถสื่อสารในการปฏิบัติงานได้

2. มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับงาน หรือภาษา

ในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น

3. จัดเตรียม ใช้ และบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงกุ้งทะเล

4. เตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล

5. เตรียมน้ำเพื่อใช้ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

6. ปล่อยลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ลงเลี้ยงให้มีอัตราการรอดสูง

7. ให้อาหารกุ้งทะเลระหว่างการเลี้ยง

8. ตรวจสอบการเจริญเติบโตของกุ้งทะเล

9. ตรวจสอบของเสียที่พื้นบ่อระหว่างเลี้ยงกุ้งทะเล

10. วางแผนและออกแบบระบบการให้อากาศภายในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล

11. วางแผนและออกแบบระบบน้ำและเครื่องสูบน้ำภายในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

12. ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

13. จัดการคุณภาพน้ำให้เหมาะสมก่อนและหลังใช้งานและการนำกลับมาใช้ใหม่ภายในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

14. วางแผนการผลิตกุ้งทะเล

15. ควบคุมระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

16. จัดหาลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL) ที่ได้คุณภาพ

17. พิจารณาคุณค่าทางอาหาร ขนาดเม็ดอาหารและคำนวณปริมาณอาหาร

18. จัดการคุณภาพน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งทะเล

19. ประเมินผลผลิตกุ้งทะเลก่อนขาย

20. วางแผนเฝ้าระวังและตรวจสอบเพื่อป้องกันเชื้อก่อโรคในกุ้งทะเล

21. เลือกตลาดและแหล่งรับซื้อ 

22. วางแผนและกำกับการจับกุ้งทะเลให้ได้คุณภาพที่สอดคล้องกับสภาวะการตลาด


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

 1. มีทักษะในการเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องและปลอดภัย



2. มีทักษะทางเทคนิคในการทำงานและทักษะในการควบคุมงาน



3. มีทักษะในการทำงานที่ต้องคิดวิเคราะห์ข้อมูล วางแผน เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและประเมินผลในการปฏิบัติงาน



4. มีทักษะในการจัดการกุ้งทะเลที่ตรวจพบเชื้อก่อโรคและป่วย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ในการเชื่อมโยงหลักการปฏิบัติงานและผลการวิเคราะห์สารสนเทศ เพื่อใช้ตัดสินใจทำงาน



2. มีความรู้ในเชิงทฤษฎีหรือหลักการสำคัญในงานอาชีพเพื่อปรับปรุงคุณภาพหรือผลงานให้ดีขึ้น



3 มีความรู้ในเชิงทฤษฎีหรือหลักการที่ซับซ้อนในงานอาชีพเพื่อพัฒนาผลิตภาพการทำงาน



          4. มีความรู้ด้านโรคในกุ้งทะเล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. เอกสาร หรือ แฟ้มสะสมผลงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล หรือ



2. หลักฐานอื่นๆ ด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบอบรม ใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



         หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



 1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



 2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



 3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



          (ง) วิธีการประเมิน



               1. การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง




  •  คำแนะนำ



1. สุ่มตรวจและสังเกตอาการป่วยและระดับความรุนแรงของโรคในกุ้งทะเล

2. ค่าคุณภาพน้ำที่เหมาะสมทางการเลี้ยงสัตว์น้ำและไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงสูงใน   รอบวัน

3. ความผิดปกติกุ้งทะเลป่วยจากพฤติกรรมการว่ายน้ำ กินอาหาร ลักษณะภายนอก       4. กำจัดซากกุ้งทะเลป่วยและตายด้วยสารเคมีและวิธีทางกายภาพ ได้แก่การเผา การฝังกลบ    

5. รักษากุ้งทะเลป่วย ตามอาการของเชื้อก่อโรคด้วยสารเคมีและยาที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้กับการเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามประกาศของกรมประมง




  • คำอธิบายรายละเอียด



              1. อาการป่วยของกุ้งทะเล ได้แก่ การเปลี่ยนสีลำตัว การกินอาหารน้อยลง พฤติกรรมการว่ายน้ำที่ผิดปกติ



           2. คุณภาพน้ำที่เหมาะสมทางการเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ พีเอช ออกซิเจนละลายน้ำ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. แบบประเมินการสอบสัมภาษณ์



2. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น  เอกสาร หรือ แฟ้มสะสมผลงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล หรือ หลักฐานอื่นๆ ด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ