หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมน้ำเพื่อใช้ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-DTRX-767A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมน้ำเพื่อใช้ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้เลี้ยงกุ้งทะเล / 6221 (Aquaculture workers)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย สามารถเตรียมน้ำใช้งานให้สะอาดก่อนใช้งาน ตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้นอย่างถูกต้อง และ เลือกวิธีการปรับแต่งคุณภาพน้ำได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคคลที่อยู่ในอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล          บุคคลที่อยู่ในอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ - พระราชบัญญัติการประมง- มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล ของกรมประมง และ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30305.1

เตรียมน้ำให้สะอาดก่อนใช้งาน

อธิบายการนำน้ำจากแหล่งภายนอกมาพักในบ่อพักน้ำ

30305.1.01 183473
30305.1

เตรียมน้ำให้สะอาดก่อนใช้งาน

ระบุวิธีควบคุมเชื้อโรค

30305.1.02 183474
30305.1

เตรียมน้ำให้สะอาดก่อนใช้งาน

 ระบุวิธีการจัดเตรียมระบบนิเวศ และการปรับสภาพน้ำ

30305.1.03 183475
30305.2

ตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น

จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์

30305.2.01 183476
30305.2

ตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น

ระบุขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพน้ำทางกายภาพ

30305.2.02 183477
30305.2

ตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น

ระบุขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพน้ำทางเคมี

30305.2.03 183478

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถสื่อสารในการปฏิบัติงานได้



          2. มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพพื้นฐานและภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับงาน หรือภาษา



ในประเทศอาเซียนที่ใช้ในการสื่อสารเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องและปลอดภัย



   2. มีทักษะเรื่องความปลอดภัย

     5. มีทักษะด้านการตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้นอย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     1. มีความรู้ในการเขียน อ่าน หรือ พูด และ คำนวณขั้นพื้นฐาน



     2. มีความรู้ในการเชื่อมโยงหลักการปฏิบัติงานและผลการวิเคราะห์สารสนเทศ เพื่อใช้ตัดสินใจทำงาน



               3. มีความรู้เรื่องการบำบัดน้ำได้อย่างถูกต้อง

               4. มีความรู้เรื่องการตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้นอย่างถูกต้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



     1. เอกสาร หรือ แฟ้มสะสมผลงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล หรือ



     2. หลักฐานอื่นๆ ด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     1. ใบอบรม ใบผ่านงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



                  หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ต้องแสดงถึง



   1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



   2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



   3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



            (ง) วิธีการประเมิน



               1. การสอบสัมภาษณ์

               2. สาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง




  •      คำแนะนำ



          1. รู้ตารางน้ำขึ้นน้ำลงเพื่อกำหนดเวลาและระยะเวลาในการนำน้ำเข้าบ่อ รวมถึงระยะเวลาการพักน้ำเพื่อตกตะกอนตามความเหมาะสม โดยสามารถสังเกตจากความขุ่นใสของน้ำ และสามารถตรวจวัดคุณภาพน้ำก่อนการเลี้ยงกุ้งทะเล

          2. รู้ เข้าใจ วิธีการกรองน้ำและใช้สารเคมี เพื่อกำจัดเชื้อโรคในน้ำ รวมทั้งการตากบ่อ

          3. ทำการเพิ่มแพลงก์ตอนธรรมชาติในบ่อเลี้ยงกุ้ง ปรับคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ความขุ่นใสของน้ำ และคุณสมบัติทางเคมี ได้แก่ ความเค็ม ความเป็นกรด-ด่าง ให้เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งด้วยวิธีการทางชีวภาพ



          4. ตรวจสอบน้ำทางกายภาพ ได้แก่ ความขุ่นใส สี กลิ่น อุณหภูมิ ความเค็ม  และทราบชนิดเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด

          5. รู้ประเภทและใช้ชุดทดสอบ (Test kit) ได้แก่ ไนไตรท์ ไนเตรท แอมโมเนีย คลอรีน อัลคาไลนิตี้ ความกระด้างของน้ำได้ และเครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง ออกซิเจนละลายน้ำ




  •        คำอธิบายรายละเอียด



                   1. สารเคมีเพื่อกำจัดเชื้อโรคในน้ำ ได้แก่ คลอรีน

             2. วัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ กระบอกเก็บตัวอย่างน้ำ  อุปกรณ์สำหรับวัดคุณภาพน้ำทางกายภาพ ได้แก่ เครื่องวัดความขุ่นใสของน้ำ เครื่องวัดความเค็ม เทอร์โมมิเตอร์ และอุปกรณ์สำหรับวัดคุณภาพน้ำทางเคมี ได้แก่ ชุดตรวจสอบไนไตรท์ ไนเตรท แอมโมเนีย เครื่องวัดค่ากรดด่าง เครื่องวัดออกซิเจนละลายน้ำ

            3. คุณภาพน้ำทางกายภาพ ได้แก่  ความขุ่นใส สี กลิ่น อุณหภูมิ ความเค็ม  

            4. คุณภาพน้ำทางเคมี ได้แก่ ไนไตรท์ ไนเตรท แอมโมเนีย คลอรีน อัลคาไลนิตี้ ความกระด้างของน้ำ ความเป็นกรด-ด่าง ออกซิเจนละลายน้ำ  


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. แบบประเมินการสอบสัมภาษณ์



          2. แบบประเมินสอบปฏิบัติ

          3. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น  เอกสาร หรือ แฟ้มสะสมผลงานด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล หรือ หลักฐานอื่นๆ ด้านการเลี้ยงกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ