หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฎิบัติตามระเบียบการรักษาความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-1-014ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฎิบัติตามระเบียบการรักษาความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติตามระเบียบการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุสิ่งที่จำเป็นต่อความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความปลอดภัยและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย การตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน และการให้ข้อเสนอแนะในการจัดการเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.01.151.1 ระบุสิ่งที่จำเป็นต่อความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย 1.1 อธิบายกฎหมายความปลอดภัยและข้อกำหนดของการรักษาความปลอดภัย 1.01.151.1.01 44572
1.01.151.1 ระบุสิ่งที่จำเป็นต่อความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย 1.2 อธิบายนโยบายและระเบียบวิธีการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยขององค์กร 1.01.151.1.02 44573
1.01.151.1 ระบุสิ่งที่จำเป็นต่อความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย 1.3 ระบุทรัพยากรที่ใช้สนับสนุนด้านความปลอดภัยและมาตรการรักษาความปลอดภัย 1.01.151.1.03 44574
1.01.151.1 ระบุสิ่งที่จำเป็นต่อความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย 1.4 อธิบายผลที่จะเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย 1.01.151.1.04 44575
1.01.151.1 ระบุสิ่งที่จำเป็นต่อความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย 1.5 ชิ้แจงขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย 1.01.151.1.05 44576
1.01.151.1 ระบุสิ่งที่จำเป็นต่อความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย 1.6 ค้นคว้าหาข้อมูลความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นและมีผลต่อความปลอดภัย 1.01.151.1.06 44577
1.01.151.2 ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความปลอดภัยและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย 2.1 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยแก่ลูกค้า 1.01.151.2.01 44578
1.01.151.2 ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความปลอดภัยและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย 2.2 ติดตามตรวจสอบความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยตามที่ได้มีการระบุไว้ 1.01.151.2.02 44579
1.01.151.2 ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความปลอดภัยและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย 2.3 ปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยและขั้นตอนการปฏิบัติงานในการควบคุมความปลอดภัย 1.01.151.2.03 44580
1.01.151.2 ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความปลอดภัยและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย 2.4 ดำเนินการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่มีอยู่ในกิจวัตรประจำวันและการละเมิดมาตราการความปลอดภัย 1.01.151.2.04 44581
1.01.151.2 ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความปลอดภัยและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย 2.5 สอบสวนบุคคลผู้ต้องสงสัยและสถานการณ์ที่ผิดปกติต่างๆ 1.01.151.2.05 44582
1.01.151.2 ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความปลอดภัยและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย 2.6 ขอความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยหรือขอให้ช่วยรักษาความปลอดภัยจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง 1.01.151.2.06 44583
1.01.151.2 ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความปลอดภัยและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย 2.7 รายงานความเสี่ยงที่ร้ายแรง สิ่งที่เป็นอันตรายและการละเมิดมาตรการความปลอดภัย 1.01.151.2.07 44584
1.01.151.2 ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความปลอดภัยและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย 2.8 จัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย 1.01.151.2.08 44585
1.01.151.3 ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.1 ระบุและประเมินสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.01.151.3.01 44586
1.01.151.3 ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.2 ตัดสินใจดำเนินการสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อรับมือกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้นๆ 1.01.151.3.02 44587
1.01.151.3 ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.3 ปฏิบัติตามขั้นตอนการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน 1.01.151.3.03 44588
1.01.151.3 ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.4 ขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการรับมือหรือตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นๆ 1.01.151.3.04 44589
1.01.151.3 ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.5 ทำการบันทึกสิ่งที่ได้กระทำลงไปเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.01.151.3.05 44590
1.01.151.4 ให้ข้อเสนอแนะในการจัดการเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย 4.1 ระบุประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ 1.01.151.4.01 44591
1.01.151.4 ให้ข้อเสนอแนะในการจัดการเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย 4.2 ชูหรือชี้ประเด็นปัญหาในการจัดการ 1.01.151.4.02 44592
1.01.151.4 ให้ข้อเสนอแนะในการจัดการเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย 4.3 แนะนำวิธีหรือมาตรการแก้ไขปัญหาที่ระบุ 1.01.151.4.03 44593

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการสื่อสารความเป็นผู้นำระหว่างบุคคลและทักษะการเจรจาต่อรอง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • นโยบายขององค์กรและวิธีการปฏิบัติที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย

  • ภาพรวมของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของประเทศ  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยขององค์กรท้องถิ่น และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในองค์กร

  • ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และการละเมิดการรักษาความปลอดภัย

  • หลักการของการบริหารความเสี่ยง

  • ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานที่ให้บริการช่วยเหลือฉุกเฉินในพื้นที่


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



-    แฟ้มสะสมผลงาน



-    ผลการสัมภาษณ์



-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง



-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



-    ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ



-    ผลการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



-    ผลการข้อสอบข้อเขียน



-    ผลการสัมภาษณ์



-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



 (ง) วิธีการประเมิน



-    ข้อสอบข้อเขียน



-    แฟ้มสะสมผลงาน



-    การสัมภาษณ์



-    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง



-    การประเมินด้วยบุคคลที่ 3



-    การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ



-    การจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



กฎหมายความปลอดภัยและข้อกำหนดของการรักษาความปลอดภัย อาจเกี่ยวข้องกับ



•    กฎเกณฑ์และข้อบังคับของประเทศ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติที่มีผลบังคับใช้



•    รหัสของการปฏิบัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



•    คำแนะนำและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



•    ความคุ้มครองตามกฎหมาย



นโยบายและระเบียบวิธีการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยขององค์กร อาจรวมถึง



•    การใช้ชุดป้องกันและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลของพนักงานและลูกค้า



•    เทคนิคการทำงานที่ปลอดภัย



•    ขั้นตอนการดำเนินการในกรณีฉุกเฉิน



•    การรักษาความปลอดภัยของเอกสาร ทรัพย์สินและเงินสด รวมทั้งสิ่งของที่เป็นขององค์กรและลูกค้า



•    การประเมินความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง และขั้นตอนการควบคุมความเสี่ยง



•    การดูแลความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลรวมทั้งพนักงานและลูกค้า



ทรัพยากรที่ใช้สนับสนุนด้านความปลอดภัยและมาตรการรักษาความปลอดภัย อยู่อาจรวมถึง:



•    การฝึกอบรม ชุดป้องกันอันตรายและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล



•    แผนการ ซึ่งรวมทั้งแผนการจัดการเหตุฉุกเฉิน และแผนสำรองสำหรับเหตุฉุกเฉิน



•    อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยและระบบรักษาความปลอดภัย



•    เอกสารประกอบคำบรรยายและโปสเตอร์



ผลที่จะเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย อาจจะเกี่ยวข้องกับ:



•    การเรียกร้องประกัน



•    การสูญเสียทรัพย์สินหรือความเสียหาย



•    การบาดเจ็บ การเจ็บป่วยและการเสียชีวิต



•    การกระทำผิดทางอาญาและทางแพ่งของพนักงานและองค์กร



•    ความเสียหายในการเป็นผู้ดำเนินการ ชื่อเสียงองค์กรและภาพลักษณ์



ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย ควรจะเกี่ยวข้องกับ



•    ความสามารถในการทำหน้าที่ในกรณีฉุกเฉิน



•    ระดับของความรับผิดตามกฎหมายและความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล



•    แนวทางในการดำเนินการภายใต้ขอบเขตของอำนาจที่กำหนด



•    อำนาจสำหรับพนักงานในการปฏิบัติงานแทนองค์กร



•    ระบุปัจจัยในการดำเนินงาน



•    ระบุปัญหาที่ต้องมีการอ้างอิงถึงฝ่ายบริหารจัดการ



การค้นคว้าหาข้อมูลความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย ควรเกี่ยวข้องกับ



•    การวิจัยที่เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวท้องถิ่นและประเทศ



•    ความชำนาญของพนักงานในการใช้อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และโอกาสในการทำกิจกรรมนั้น ๆ



•    การระบุความพร้อมของบริการฉุกเฉินและการสนับสนุนที่มีอยู่



•    การระบุระบบการสื่อสารที่จะใช้ในกรณีที่เกิดปัญหา



•    ทำความเข้าใจระเบียบและขั้นตอนการดำเนินงานของหน่วยงานท้องถิ่น



•    การระบุหน่วยงานท้องถิ่นที่จะติดต่อก่อนการเดินทางและในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน



•    การระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นสำหรับแต่ละเหตุการณ์หรือการเดินทาง รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคมและวัฒนธรรม การเดินทางและความเสี่ยงในการดำเนินงาน



การให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย อาจรวมถึง



•    การกระจายข้อมูลความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย



•    อธิบายข้อกำหนดและเงื่อนไข รวมทั้งข้อยกเว้นความรับผิดชอบ และสันนิฐานความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น



•    แนะนำลูกค้าอย่างเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติตนและการดูแลรับผิดชอบตัวเองเพื่อความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของตัวลูกค้าเอง



•    สาธิตวิธีการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย



•    การปิดประกาศและป้ายสัญญาณเตือน



•    การตอบคำถามจากลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย



•    การเฝ้าระวังและคอยย้ำเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้น



การตรวจสอบความปลอดภัย อาจรวมถึง



•    การตรวจสอบพฤติกรรมของลูกค้า



•    ดำเนินการตรวจสอบทางกายภาพภาพเป็นประจำและต่อเนื่องในทรัพย์สินและสินทรัพย์ทั้งหมด



•    ตรวจสอบสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมอื่น ๆ



•    ตรวจสอบบริเวณและพื้นที่โดยรอบ



•    การตรวจสอบยานพาหนะ



•    การปฏิบัติตามรายการตรวจสอบ



ขั้นตอนการปฏิบัติงานในการควบคุมความปลอดภัย อาจรวมถึง



•    การรักษากลุ่มให้อยู่ร่วมกัน



•    ตรวจสอบการสวมชุดป้องกันส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันให้เรียบร้อย



การดำเนินการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่มีอยู่ในกิจวัตรประจำวันและการละเมิดมาตรการความปลอดภัย อาจรวมถึง



•    การเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงานอย่างต่อเนื่อง



•    การจำกัดพฤติกรรมของลูกค้า



•    การจำกัด การเข้าถึงและการมีส่วนร่วมตามที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย



•    การยกเลิกหรือแก้ไขกิจกรรมที่ถูกระบุว่าเป็นอันตราย



•    ประสานงานกับบุคลากรในท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง



ตรวจสอบบุคคลผู้ต้องสงสัยและสถานการณ์ที่ผิดปกติ อาจรวมถึง



•    ตรวจสอบอย่างต่อเนื่องของสภาพแวดล้อมและบริเวณใกล้เคียง



•    การกำหนดภัยคุกคามที่เกิดจากบุคคลที่น่าสงสัยและสถานการณ์ที่ผิดปกติ



•    การตอบสนองอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน



บุคลากรที่เกี่ยวข้อง อาจรวมถึง



•    พนักงานคนอื่น ๆ ในองค์กร



•    ลูกค้า



•    บริการฉุกเฉินอื่น ๆ



•    เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยภายนอกและผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ ที่เหมาะสม



การละเมิด   อาจรวมถึง



•    ความเสียหายหรือการชำรุดของอุปกรณ์



•    การสูญเสียทรัพย์สิน สินค้า เงินสด อุปกรณ์หรือวัสดุอื่น ๆ ที่เป็นของลูกค้า รวมถึงที่เป็นขององค์กรหรือผู้ให้บริการภายนอก



•    การปรากฏตัวของบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต



•    สิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่ปลอดภัยและไม่มีหลักประกัน



เอกสาร อาจรวมถึง



•    รายการตรวจสอบความปลอดภัย



•    สรุปประจำวันภายในองค์กร



•    รายงาน



•    เอกสารที่เกี่ยวกับการบำรุงรักษา



•    แบบฟอร์มที่ชี้บ่งอันตราย



ระบุและประเมินสถานการณ์ฉุกเฉิน อาจรวมถึง



•    การจำแนกประเภทสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งอาจรวมถึง:




  • การขู่วางระเบิด ภัยคุกคาม การก่อการร้ายและกิจกรรมการก่อการร้าย

  • คนวิกลจริต

  • การเกิดอุบัติเหตุ

  • การกระทำผิดทางอาญารวมทั้งการถูกทำร้าย การชิงทรัพย์ การโจรกรรม

  • ภัยธรรมชาติรวมถึง สภาพอากาศ แผ่นดินไหว ฟ้าผ่า น้ำท่วม

  • การบาดเจ็บส่วนบุคคลและความเจ็บป่วย

  • การสูญเสีย อาหาร น้ำ การขนส่งหรือการสื่อสาร



•    การพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและขอบเขตของสถานการณ์ฉุกเฉิน



ตัดสินใจดำเนินการสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อรับมือกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน อาจรวมถึง



•    การใช้มาตรการป้องกันทันที



•    การอพยพคน



•    การแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อขอคำแนะนำหรือเรียกความช่วยเหลือ



•    การปฏิบัติตามแผนการรักษาความปลอดภัย



•    แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงจุดหมายของการดำเนินการ



•    ทบทวนข้อเสนอแนะจากลูกค้าเพื่อให้แน่ใจลูกค้าเข้าใจแน่นอนสำหรับการนำเสนอรูปแบบการดำเนินงานและสามารถปฏิบัติตามในรูปแบบเดียวกัน



•    ติดตามแผนการจัดการเหตุฉุกเฉินของที่เตรียมไว้หรือแผนฉุกเฉินสำรอง



ประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ ควรจะรวมถึง



•    ตัวอย่างการคุกคามด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย รวมถึงเหตุการณ์ที่เกือบพลาดพลั้งก่อให้เกิดอุบัติเหตุ



•    การระบุข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย



•    เหตุการณ์ที่ก่อนหน้านี้ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วย  ความตาย ความเสียหายหรือการสูญเสีย



•    สถานการณ์ในอดีตที่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมหรือการแทรกแซงโดยบริการฉุกเฉินหรือหน่วยงานที่คล้ายกัน



•    ข้อร้องเรียนที่ได้รับจากลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย



ชูหรือชี้ประเด็นปัญหาในการจัดการ อาจรวมถึง



•    การถกปัญหาเกี่ยวกับการจัดการ



•    การจัดทำคำอธิบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและรายงาน



แนะนำวิธีหรือมาตรการแก้ไขปัญหา อาจรวมถึง



•    แนะนำทางเลือกในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดปัญหา



•    การปรับแผนมาตรฐาน



•    การพัฒนาแผนเพิ่มเติมหรือรายการตรวจสอบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ