หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมระบบความปลอดภัยทางชีวภาพภายในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-FELF-732A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมระบบความปลอดภัยทางชีวภาพภายในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพอนุบาลลูกกุ้งทะเล / 6221


1 6221 ผู้ปฏิบัติงานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย สามารถกักกันลูกกุ้งทะเลที่ติดเชื้อโรค ควบคุมการปนเปื้อนและการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากการเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะ สามารถควบคุมการปนเปื้อนและการแพร่กระจายของเชื้อโรคในวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอนุบาลลูกกุ้งทะเล ควบคุมการปนเปื้อนและการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากสัตว์พาหะ ควบคุมการปนเปื้อนเชื้อโรคจากอาหารที่ให้ลูกกุ้งทะเล   ควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากระบบอากาศในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเลได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคคลที่อยู่ในอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลบุคคลที่อยู่ในอาชีพด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ - พระราชบัญญัติการประมง- มาตรฐานโรงเพาะฟักและอนุบาลลูกกุ้งทะเล ของกรมประมง และ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20306.1

ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจากลูกกุ้งทะเลที่ติดเชื้อ 

ระบุการเลือกใช้แหล่งน้ำเค็มให้เหมาะสมกับกิจกรรมอนุบาลลูกกุ้งทะเล

20306.1.01 183298
20306.1

ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจากลูกกุ้งทะเลที่ติดเชื้อ 

ควบคุมคุณภาพน้ำเค็มสำหรับการอนุบาลลุกกุ้งทะเล

20306.1.02 183299
20306.2

ควบคุมการปนเปื้อนและการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากการเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะ

อธิบายขั้นตอนทำความสะอาดร่างกาย ก่อนเข้าโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล 

20306.2.01 183300
20306.2

ควบคุมการปนเปื้อนและการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากการเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะ

ระบุขั้นตอนการฆ่าเชื้อที่ยานพาหนะ

20306.2.02 183301
20306.3

ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์

ทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์

20306.3.01 183302
20306.3

ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์

ฆ่าเชื้อโรควัสดุอุปกรณ์

20306.3.02 183303
20306.4

ควบคุมการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะ

หาวิธีป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากสัตว์พาหะนำโรค

20306.4.01 183304
20306.4

ควบคุมการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะ

ระบุวิธีการกำจัดสัตว์พาหะนำโรค

20306.4.02 183305
20306.5

ควบคุมการปนเปื้อนเชื้อโรคจากอาหารที่ให้ลูกกุ้งทะเล

จัดเก็บอาหารที่ให้ลูกกุ้งทะเล

20306.5.01 183306
20306.5

ควบคุมการปนเปื้อนเชื้อโรคจากอาหารที่ให้ลูกกุ้งทะเล

ตรวจปริมาณเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหารที่ให้ลูกกุ้งทะเล

20306.5.02 183307
20306.6

ควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากระบบอากาศในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล

ระบุขั้นตอนการตรวจปริมาณเชื้อโรคที่ปนเปื้อนจากระบบอากาศในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล

20306.6.01 183308
20306.6

ควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากระบบอากาศในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล

กำหนดระยะเวลาทำความสะอาดตัวกรองอากาศ

20306.6.02 183309
20306.6

ควบคุมการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากระบบอากาศในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล

ตรวจสอบการทำความสะอาดตัวกรองอากาศ

20306.6.03 183310

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. จัดเตรียม ใช้ และบำรุงรักษาบ่อและวัสดุอุปกรณ์ในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



2. เตรียมน้ำเพื่อใช้ในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



3. ปฏิบัติงานตามขั้นตอนในการอนุบาลลูกกุ้งทะเลได้อย่างถูกต้อง

4. รวบรวมและบรรจุลูกกุ้งทะเลระยะโพสลาวาร์ (PL)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการเลือกใช้หลักการและเครื่องมือในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องและปลอดภัย



2. มีทักษะทางเทคนิคในการทำงานและทักษะในการควบคุมงาน



3. มีทักษะในการเลือกใช้น้ำให้เหมาะสมกับกิจกรรมในโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล



4. มีทักษะในการเลือกประเภทของเครื่องมือกำจัดสัตว์พาหะแต่ละชนิด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ในการเชื่อมโยงหลักการปฏิบัติงานและผลการวิเคราะห์สารสนเทศ เพื่อใช้ตัดสินใจทำงาน



2. มีความรู้ในเชิงทฤษฎีหรือหลักการสำคัญในงานอาชีพเพื่อปรับปรุงคุณภาพหรือผลงานให้ดีขึ้น               



3. มีความรู้ ความเข้าใจในการหาวิธีป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากสัตว์พาหะแต่ละชนิดและการกำจัดได้อย่างเหมาะสม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกัน



กับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. เอกสาร หรือ แฟ้มสะสมผลงานด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล หรือ



2. หลักฐานอื่นๆ ด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



                1. ใบอบรม ใบผ่านงาน (ถ้ามี)

          (ค) คำแนะนำในการประเมิน

                หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานนี้ต้อง  แสดงถึง



            1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



            2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎหมายหรือเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



            3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



       (ง) วิธีการประเมิน



                1. การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง




  •           คำแนะนำ



               1. มีแนวทางการเลือกใช้น้ำตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



               2. มีแนวทางการเลือกใช้น้ำตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับการอนุบาลลูกกุ้งทะเลในแต่ละระยะการพัฒนาการ ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง ความเค็ม ออกซิเจนละลายน้ำ  อุณหภูมิ ไนไตรท์ ไนเตรท แอมโมเนีย อัลคาไลนิตี้ และความกระด้างของน้ำ และการควบคุมให้น้ำมีคุณภาพดีต่อเนื่อง



                3. เข้าใจวิธีการขั้นตอนการทำความสะอาดร่างกายการเปลี่ยนชุด ของผู้เข้าโรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล เพื่อให้โรงอนุบาลลูกกุ้งทะเล ปราศจากเชื้อโรค



                4. เข้าใจวิธีการขั้นตอนฆ่าเชื้อที่ยานพาหนะ



            5. เข้าใจวิธีการขั้นตอนทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ ก่อนและหลังใช้งาน



                6. เข้าใจวิธีการขั้นตอนฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ก่อนและหลังใช้งาน โดยการใช้สารเคมีหรือการนึ่งฆ่าเชื้อ (Autoclave) ได้อย่างเหมาะสม



                7. รู้ประเภทของเครื่องมือและวิธีการป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค



                8. เข้าใจและเลือกวิธีที่เหมาะสมในการกำจัดสัตว์พาหะนำโรค



                9. เข้าใจวิธีการจัดเก็บอาหารที่ให้พ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล และรักษาคุณภาพได้นาน



                10. รู้และสามารถตรวจนับปริมาณโปรโตซัว แบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหารที่ให้ลูกกุ้ง



                11. รู้ เข้าใจ และเลือกใช้วัสดุสำหรับการกรองอากาศที่สามารถลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอากาศ



                12. มีการจดบันทึกการใช้ อายุใช้งาน เพื่อกำหนดระยะเวลาทำความสะอาดตัวกรองอากาศหรือการเปลี่ยนตัวกรองอากาศ




  •            คำอธิบายรายละเอียด



1. อุปกรณ์ ได้แก่ สวิง หัวทราย สายยาง แก้วตวง



2. สารเคมี ได้แก่ คลอรีน โพวิโดนไอโอดีน



3. เครื่องมือ ได้แก่ ที่ดักหนู ตาข่ายกันนก ถุงกรอง



4. อาหารที่ให้ลูกกุ้ง  ได้แก่ อาร์ทีเมีย  แพลงก์ตอน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. แบบประเมินการสอบสัมภาษณ์



2. เอกสารประกอบการพิจารณาที่เหมาะสม เช่น  เอกสาร หรือ แฟ้มสะสมผลงานด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล หรือ หลักฐานอื่นๆ ด้านการอนุบาลลูกกุ้งทะเล



ยินดีต้อนรับ