หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รักษาความปลอดภัยบริเวณอาคารที่ทำงานและทรัพย์สิน

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-1-029ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รักษาความปลอดภัยบริเวณอาคารที่ทำงานและทรัพย์สิน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการรักษาความปลอดภัยบริเวณอาคารที่ทำงานและทรัพย์สิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจลาดตระเวนสถานที่ การรับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น ๆ การรับมือกับภัยคุกคามด้านความปลอดภัย การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน การดูแล/เฝ้าสังเกตระบบรักษาความปลอดภัย การจัดการการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ และการดำเนินงานธุรการของการรักษาความปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.04.140.1 ตรวจลาดตระเวนสถานที่ 1.1 จัดเตรียมการลาดตระเวนสถานที่ 1.04.140.1.01 44911
1.04.140.1 ตรวจลาดตระเวนสถานที่ 1.2 ดำเนินการลาดตระเวนสถานที่และพื้นที่ที่กำหนด 1.04.140.1.02 44912
1.04.140.1 ตรวจลาดตระเวนสถานที่ 1.3 ติดตามประเมินความปลอดภัยของสถานที่และทรัพย์สิน 1.04.140.1.03 44913
1.04.140.1 ตรวจลาดตระเวนสถานที่ 1.4 บ่งชี้ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นความเสี่ยงและสถานการณ์ที่น่าสงสัย 1.04.140.1.04 44914
1.04.140.2 รับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น ๆ 2.1 กำหนดสภาพและพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย 1.04.140.2.01 44915
1.04.140.2 รับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น ๆ 2.2 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน 1.04.140.2.02 44916
1.04.140.2 รับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น ๆ 2.3 ติดต่อประสานงานผู้บริหารอย่างเหมาะสม 1.04.140.2.03 44917
1.04.140.2 รับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น ๆ 2.4 ให้ความช่วยเหลือหน่วยงานให้บริการฉุกเฉินในการเข้าถึงพื้นที่และการอำนวยความสะดวกอื่นๆ 1.04.140.2.04 44918
1.04.140.2 รับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น ๆ 2.5 ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น 1.04.140.2.05 44919
1.04.140.2 รับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น ๆ 2.6 กำหนดระดับการเตือนภัยให้สอดคล้องกับหน่วยงานกำกับดูแล/ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 1.04.140.2.06 44920
1.04.140.3 รับมือกับภัยคุกคามด้านความปลอดภัย 3.1 จัดหน่วยลาดตระเวนเพื่อติดตาม/บ่งชี้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 1.04.140.3.01 44921
1.04.140.3 รับมือกับภัยคุกคามด้านความปลอดภัย 3.2 ปิดกั้นพื้นที่เสี่ยง 1.04.140.3.02 44922
1.04.140.3 รับมือกับภัยคุกคามด้านความปลอดภัย 3.3 รับมือกับสิ่งของต้องสงสัย 1.04.140.3.03 44923
1.04.140.3 รับมือกับภัยคุกคามด้านความปลอดภัย 3.4 รับมือกับคำขู่วางระเบิด 1.04.140.3.04 44924
1.04.140.4 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4.1 กำหนดลักษณะและขอบเขตของสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.04.140.4.01 44925
1.04.140.4 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4.2 ติดต่อประสานงานหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน 1.04.140.4.02 44926
1.04.140.4 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4.3 นำแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินไปใช้ปฏิบัติ 1.04.140.4.03 44927
1.04.140.4 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4.4 ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น 1.04.140.4.04 44928
1.04.140.4 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4.5 รักษาความปลอดภัยสูงสุดให้กับพื้นที่และทรัพย์สินในระหว่างสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.04.140.4.05 44929
1.04.140.5 ดูแล/เฝ้าสังเกตระบบรักษาความปลอดภัย 5.1 รายงานและจดบันทึกในกรณีที่ระบบเตือนภัยมีการแจ้งเตือนและกรณีที่ระบบเตือนภัยทำงานผิดพลาด 1.04.140.5.01 44930
1.04.140.5 ดูแล/เฝ้าสังเกตระบบรักษาความปลอดภัย 5.2 ตรวจสอบสภาพ การตั้งค่า และประสิทธิภาพของระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆ รวมถึงระบบการบริหารจัดการพลังงาน 1.04.140.5.02 44931
1.04.140.5 ดูแล/เฝ้าสังเกตระบบรักษาความปลอดภัย 5.3 จัดเก็บหรือบันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ตามข้อกำหนด 1.04.140.5.03 44932
1.04.140.5 ดูแล/เฝ้าสังเกตระบบรักษาความปลอดภัย 5.4 ดำเนินกิจกรรมติดตามผลที่จำเป็น 1.04.140.5.04 44933
1.04.140.5 ดูแล/เฝ้าสังเกตระบบรักษาความปลอดภัย 5.5 กำหนดระดับการเตือนภัยให้สอดคล้องกับหน่วยงานกำกับดูแล/ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 1.04.140.5.05 44934
1.04.140.6 จัดการการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ 6.1 ระบุข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ 1.04.140.6.01 44935
1.04.140.6 จัดการการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ 6.2 จัดเตรียมและติดตามมาตรการควบคุมความเสี่ยง 1.04.140.6.02 44936
1.04.140.6 จัดการการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ 6.3 ระบุและจัดทำแผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินและการจัดการความผิดปกติหรือข้อบกพร่อง 1.04.140.6.03 44937
1.04.140.6 จัดการการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ 6.4 จัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟตามความเหมาะสม 1.04.140.6.04 44938
1.04.140.7 ดำเนินงานธุรการของการรักษาความปลอดภัย 7.1 จัดทำแบบฟอร์มเอกสารและรายงานภายในองค์กรที่จำเป็น 1.04.140.7.01 44939
1.04.140.7 ดำเนินงานธุรการของการรักษาความปลอดภัย 7.2 ประสานงานกับฝ่ายบริหารในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงการรักษาความปลอดภัย 1.04.140.7.02 44940

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

            -    ทักษะในการใช้เทคนิค วิธีการมาตรฐานด้านความปลอดภัย รวมถึงการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับระบบรักษาความปลอดภัย การตั้งค่าและการใช้งานระบบเตือนภัย

-    ทักษะในการระแวดระวัง ควบคุม ตรวจตราและสอดส่องดูแลความปลอดภัย

-    ทักษะในการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง

-    ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และรูปแบบในการสื่อสาร รวมถึงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัย

-    ทักษะในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ฉุกเฉิน

-    ทักษะในการประเมินความเสี่ยงและภัยคุกคามในสถานที่ทำงาน 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยของอาคารที่ทำงานและทรัพย์สิน รวมถึงข้อกำหนดด้านการรายงานที่ประยุกต์ใช้หลักการด้านความมั่นคงปลอดภัยของสถานที่ทำการและการบริหารความเสี่ยง

-    ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินและอาคารสถานที่ รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยง

-    ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่ต้องดูแลและใช้ความระมัดระวัง 

-    ความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แฟ้มสะสมผลงาน 

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลการสอบข้อเขียน

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร 



(ง)    วิธีการประเมิน

-    ข้อสอบข้อเขียน

-    แฟ้มสะสมผลงาน

-    การสัมภาษณ์

-    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    การสาธิตการปฏิบัติงาน

-    การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    การจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ อาจหมายรวมถึง 

    การกำหนดพื้นที่รักษาความปลอดภัยตามความเหมาะสม กำหนดขอบเขตที่แน่ชัดว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ควบคุมหรือพื้นที่หวงห้าม เพื่อควบคุมการเข้า-ออกของบุคคลและยานพาหนะ

    วางระบบป้องกันทางวัตถุเพื่อเป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยว กีดขวาง ป้องกันบุคคลหรือยานพาหนะที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปในพื้นที่ เช่น รั้ว เครื่องกีดขวาง ช่องทางเข้า-ออก รวมถึงระบบการให้แสงสว่างในยามวิกาล

    การควบคุมบุคคลและยานพาหนะ เพื่อตรวจสอบให้ทราบว่าเป็นบุคคล และ/หรือยานพาหนะที่ได้รับอนุญาตให้ผ่านเข้าพื้นที่เฉพาะหรือพื้นที่หวงห้าม โดยจัดทำบัตรผ่าน บัตรแสดงตน และบันทึกหลักฐานการผ่านเข้า-ออก ตลอดจนการบันทึกสิ่งของต่าง ๆ บนยานพาหนะ

    ระบบรักษาการณ์ จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำวัน วางระบบการติดต่อสื่อสารและสัญญาณแจ้งภัยสำหรับตรวจและเตือนให้ทราบเมื่อมีภัย รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์เสริมมาตรการการรักษาความปลอดภัยโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์หรืออื่น ๆ เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ซึ่งประกอบด้วย ส่วนของระบบป้องกันอัคคีภัย หมายถึง อุปกรณ์ที่ป้องกันการเกิดอัคคีภัยหรืออุปกรณ์แจ้งเหตุ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควัน อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน อุปกรณ์แจ้งเหตุแบบแมนนวล อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง และอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ระบบระงับอัคคีภัย หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมและดับอัคคีภัย เช่น ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงแบบอัตโนมัติ สายฉีดน้ำดับเพลิง ถังดับเพลิง และระบบก๊าซดับเพลิง เป็นต้น



การจัดเตรียมการลาดตระเวนสถานที่ อาจเกี่ยวข้องกับ

•     การระบุหน้าที่เกี่ยวกับการลาดตระเวนตรวจตรา เช่น การสังเกตการณ์ งานที่ต้องรับผิดชอบบริเวณที่ต้องมีการลาดตระเวนตรวจตรา การจัดตารางเวลาและคำสั่งที่จะมอบหมาย

•     การดูแลรักษาเครื่องแต่งกายและการปรากฏตัวได้อย่างเหมาะสม

•     การเข้าถึงและตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เสื้อผ้า และเครื่องมือสื่อสาร

•     การรายงานสิ่งผิดปกติ รวมถึงอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ชำรุดเสียหายหรือทำงานผิดปกติซึ่งมีผลต่อความปลอดภัย

•     การตรวจตราและเตรียมยานพาหนะในการตรวจตราลาดตระเวน



การดำเนินการลาดตระเวนสถานที่และพื้นที่ที่กำหนด อาจครอบคลุมถึง

•     การยึดถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ภายในองค์กร ซึ่งเกี่ยวข้องกับเวลา เส้นทาง และพื้นที่ที่ต้องดำเนินการตรวจตราลาดตระเวน

•     การปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย

•     การแสดงตัวหรือการปรากฏตัวเพื่อขัดขวางผู้บุกรุกหรือผู้กระทำความผิด สร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าและพนักงาน 

•     การใช้เทคนิคปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุน ความรู้สึกถึงความปลอดภัยในพื้นที่

•    การให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าตามที่ได้รับคำร้องขอ

•     การที่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายต้องสามารถติดต่อทางวิทยุได้ตลอดเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่

•     มีการทดสอบระบบรักษาความปลอดภัย



การติดตามประเมินความปลอดภัยของสถานที่และทรัพย์สิน อาจเกี่ยวข้องกับ

•     การตรวจสอบด้วยสายตาผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์รักษาความปลอดภัยตามตารางเวลาที่กำหนด

•     การตอบสนองต่อสัญญาณเตือนภัย

•     การตรวจสอบด้วยสายตาผ่านทางอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ถูกระบุไว้ เพื่อมองหาสัญญาณความผิดปกติ เช่น การบุกรุกหรือการเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต

•     การติดตามการดำเนินงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงหรือสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยตามที่ถูกรายงานก่อนหน้านี้

•     การซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัย

•     การรายงานสถานการณ์ที่อาจจะมีการฝ่าฝืนการรักษาความปลอดภัย

•     การติดตามการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลต่อการรักษาความปลอดภัย

•     การติดต่อประสานงานกับพนักงานคนอื่น ๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐภายนอกองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 



ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น ความเสี่ยงและสถานการณ์ที่น่าสงสัย อาจครอบคลุมถึง

•     อุทกภัย อัคคีภัย การระเบิด

•     มีผู้บุกรุก ผู้ข่มขู่เพื่อเรียกร้องทรัพย์สิน มีคนที่ทำลายทรัพย์สิน มีผู้บุกโจมตี

•     ลูกค้าที่มึนเมา

•     สถานการณ์ที่มีผู้คนพลุกพล่าน

•     ยานพาหนะ ผู้คนและเครื่องมืออุปกรณ์อยู่ในที่ต้องสงสัย

•     หีบห่อสัมภาระที่ถูกวางทิ้งไว้ในพื้นที่สาธารณะ

•     สิ่งของมีค่าถูกปล่อยทิ้งไว้ในที่สาธารณะ

•     การรั่วไหลของแก๊ส พายุ ไฟฟ้าดับ

•     การประท้วงหรือการปฏิวัติ การจลาจล

•    สารเคมีหก

    อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยได้รับความเสียหาย หรือกระจก/ประตูทางเข้าแตกหักเสียหาย

    บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามายังพื้นที่หวงห้าม

    อุปกรณ์ป้องกัน/ป้ายเตือนภัยได้รับความเสียหาย

    มีสัตว์บุกรุก  



สภาพและพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย อาจหมายรวมถึง

•    การระบุถึงสาเหตุการเตือนภัย เช่น ไฟ ผู้บุกรุก ควัน น้ำ หรือแก๊ส

•    การระบุตำแหน่งที่ตั้งของสัญญาณเตือนภัยตามแผนก ตามชั้น หรือตามห้องต่าง ๆ 

•    การระบุจำนวนอุปกรณ์ของสัญญาณเตือนภัยที่มีอยู่

    การติดตั้งอุปกรณ์ระบบสัญญาณเตือนภัยในทุกชั้นของอาคาร

    การติดตั้งถังดับเพลิงแบบมือถือตามข้อกำหนดของกฎหมาย และต้องอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นง่ายสะดวกต่อการดูแลรักษา

    ป้ายบอกตำแหน่งชั้นและทางหนีไฟพร้อมไฟฉุกเฉิน และต้องติดตั้งทุกชั้นของอาคาร

    ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง ที่สามารถจ่ายไฟในกรณีฉุกเฉินได้ไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะจุดที่มีเครื่องหมายทางออกฉุกเฉิน บันไดหนีไฟ ทางเดินและระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้

    อุปกรณ์เสริมมาตรการการรักษาความปลอดภัย เช่น ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งควรมีผู้รับผิดชอบในการควบคุม เฝ้าดู และตรวจสอบให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตลอดเวลา



การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน อาจจะครอบคลุมถึง

•     การติดต่อผ่านทางโทรศัพท์กับพนักงานดับเพลิง ตำรวจ รถพยาบาล 

•     การติดต่อสายตรงกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

•     การติดต่อเพื่อแจ้งผู้บริหาร

•     การแจ้งผู้ให้บริการที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

    วิธีการติดต่อและหมายเลขติดต่อกับสมาชิกของทีมกู้ภัย (รายชื่อของสมาชิกและหมายเลขติดต่อจะต้องได้รับการแก้ไขโดยผู้รับผิดชอบ ทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลง) 

    ข้อมูลของส่วนบริการที่เกี่ยวข้อง มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ทันที ดังนั้นควรมีการรวบรวมและจัดทำให้อ่านง่ายพร้อมใช้งานได้ทันที โดยทั่วไปข้อมูลประกอบด้วย ชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ผู้ที่จะติดต่อเพื่อขอความช่วยเหลือ



การติดต่อประสานงานกับผู้บริหาร อาจครอบคลุมถึง

•     การแจ้งชนิดของสัญญาณเตือนภัยและตำแหน่งที่เกิดเหตุ

•     การใช้ระบบวิทยุสื่อสารที่เหมาะสม เช่น การเรียกขานโดยใช้สัญญาณและรหัสต่าง ๆ 

•     การแจ้งเกี่ยวกับมาตรการที่ถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองต่อสถานการ์ฉุกเฉิน

•     การขอความแนะนำหรือคำสั่งเพื่อการดำเนินการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว



การให้ความช่วยเหลือหน่วยงานให้บริการฉุกเฉินในการเข้าถึงพื้นที่และการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาจครอบคลุมถึง

•     การมอบหมายงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ผู้อื่นในการพบกับเจ้าหน้าให้บริการฉุกเฉินและนำทางเจ้าหน้าที่ไปยังบริเวณที่เกิดเหตุ

•     การร้องขอให้ลูกค้าช่วยเคลื่อนย้ายยานพาหนะ

•     การเคลื่อนย้ายยานพาหนะขององค์กร

•     การไขประตูและเปิดเครื่องกีดขวางต่าง ๆ

•     การเปิดเส้นทางเพื่อช่วยให้เข้าถึงจุดเกิดเหตุ

•     แผนผังหรือแบบโครงสร้างของสถานที่ที่เกิดเหตุ



การช่วยเหลือเบื้องต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ แต่อาจจะครอบคลุมถึง

•     การดับเพลิง

•     การเคลื่อนย้ายหรืออพยพผู้คนออกจากพื้นที่

•     การคุ้มครองป้องกันทรัพย์สิน

•     การจำกัดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

•    การปิดวาล์ว การปิดประตูและหน้าต่าง 

•     การปิดหรือเปิด ประตู หน้าต่าง เป็นต้น ตามความเหมาะสม

•     การปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่บริการฉุกเฉิน

•     การรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น



พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาจครอบคลุมถึง

•     ความก้าวร้าว ความหยาบคาย และพฤติกรรมต่อต้านสังคม รวมถึงการโต้เถียงกับลูกค้าคนอื่น ๆ หรือพนักงาน

•     การปฏิเสธที่จะออกจากพื้นที่เมื่อมีการร้องขอ

•     การมึนเมา

•     การข่มขู่ กรรโชก หรือการก่อเหตุโดยใช้ความรุนแรง

•     การด่า การพูดจาหยาบคาย หรือการสาบแช่ง

•     การแต่งกายที่ไม่เหมาะสม

•     การมีแขกหรือผู้มาเยือนมากเกินกว่าความจุของห้อง

•     ลูกค้าส่งเสียงดังรบกวน





การปิดกั้นพื้นที่เสี่ยง อาจครอบคลุมถึง

•     การปิดหรือใส่กุญแจประตู การปิดหรือใส่กุญแจห้อง การปิดหรือใส่กุญแจหน้าต่าง การปิดหรือใส่กุญแจลิ้นชัก การปิดหรือใส่กุญแจตู้ เป็นต้น

•     การสร้างด่านหรือสิ่งกีดขวาง



การรับมือกับสิ่งของต้องสงสัย อาจรวมถึง

•     การอพยพออกจากพื้นที่

•     การแจ้งเจ้าหน้าที่หน่วยงานกำกับดูแลหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

•     การสอบถามหรือการไต่สวนจากลูกค้า

•     การปล่อยให้สิ่งของต้องสงสัยอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะมีคำแนะนำให้เคลื่อนย้าย 



การรับมือกับคำขู่วางระเบิด อาจรวมถึง

•     การปฏิบัติต่อคำขู่วางระเบิดโดยยึดหลักว่าทุกคำขู่เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นจริง

•     การบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับคำขู่ ระเบิด และผู้โทรให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้

•     การตั้งคำถามต่อผู้ที่โทรเข้ามาข่มขู่โดยใช้คำถามตามรายการตรวจสอบ

•     การแจ้งให้หน่วยงานกำกับดูแลหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และพนักงานได้รับทราบ

•    การรักษาความสงบ พยายามควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบ

•     การอพยพออกจากอาคารหรือพื้นที่

•     การให้ความช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่ตามความต้องการ

•     การค้นหาวัตถุระเบิด

•     การปล่อยให้สิ่งของต้องสงสัยวางอยู่อย่างนั้นและทำการปิดกั้นพื้นที่ จนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึง



กำหนดลักษณะและขอบเขตของสถานการณ์ฉุกเฉิน อาจดำเนินการได้โดย

    ทบทวนอุบัติการณ์ที่บันทึกไว้ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

    ตรวจสอบสถิติประเภทอุบัติการณ์และเหตุฉุกเฉินที่เคยเกิดขึ้นรวมทั้งพื้นที่ เวลาที่เกิด กะ (Shifts) สภาพการปฏิบัติงาน สภาพอากาศและปัจจัยสำคัญอื่น ๆ (รวมทั้งที่เคยเกิดในอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน)

    ทบทวนประเด็นปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่อาจเกิดเป็นเหตุฉุกเฉินได้ภายใต้สภาพการปฏิบัติงานที่ผิดปกติ

    ระดมความคิดจากกลุ่มบุคคลที่ทำงานในพื้นที่ต่าง ๆ ถึงเหตุการณ์ฉุกเฉินและอุบัติการณ์ที่เป็นไปได้

    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการเฉพาะ ที่กำหนดให้องค์กรต้องจัดทำแผนฉุกเฉินและจัดให้มีการซักซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดสถานการณ์จริง



ลักษณะและขอบเขตของสถานการณ์ฉุกเฉิน อาจครอบคลุมถึง

•     อัคคีภัย

•     การทะเลาะวิวาท การต่อสู้กัน หรือการเผชิญหน้ากัน 

•     ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

•     การถูกล้อมพื้นที่ไว้

•     การโจรกรรม ปล้นจี้ 

•     การรั่วไหลของแก๊ส

•     การระเบิด

•     การรบกวนหรือก่อกวนลูกค้า

•     สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเยียวยา เช่น การบาดเจ็บ การลื่นล้ม การล้มป่วย หรือผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกาย/เหยื่อจากการโจมตี

•     การระบุตำแหน่งสถานที่ที่เกิดเหตุ จำนวน/ตัวเลขที่เกี่ยวข้อง และศักยภาพในการยกระดับความรุนแรงหรือเพิ่มความรุนแรงทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลง



ติดต่อประสานงานหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน อาจครอบคลุมถึง

•    การติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงหน่วยงานบริการรักษาความปลอดภัยที่มีการตกลงทำสัญญาไว้กับองค์กร

•     การติดต่อขอความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ รวมถึงรถพยาบาล โรงพยาบาล หรือแพทย์ที่อยู่ประจำการในองค์กร ณ ขณะนั้น

•     การติดต่อเจ้าหน้าดับเพลิง

•     การติดต่อหน่วยงานบริการอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในแผนดำเนินการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

•     หากองค์กรเลือกใช้หน่วยงานภายนอกในการกู้ภัยฉุกเฉิน เช่น การจัดการสารเคมีอันตราย หรือห้องปฏิบัติการภายนอก ต้องจัดให้มีสัญญาจ้างไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่จำนวนพนักงานมีจำกัด หรือมีข้อจำกัดด้านทักษะความสามารถและอุปกรณ์การกู้ภ้ย



แผนรับมือในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อให้พนักงานปฏิบัติตามในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นภายในองค์กร โดยในแผนดังกล่าวมีการจัดสรรบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ ให้แก่พนักงานเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมาภายหลังให้น้อยที่สุด



วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนรับมือในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาจครอบคลุมถึง

    เพื่อลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ และจำกัดความเสียหายที่จะเกิดต่อชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมให้เกิดน้อยที่สุด

    ช่วยผู้ที่ตกอยู่ในอันตราย รักษาชีวิตผู้ปฏิบัติตามแผน และผู้ที่บาดเจ็บจากเหตุฉุกเฉิน

    เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันทุกระดับในองค์กรอย่างเหมาะสม โดยกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแนวทางการประสานความร่วมมือ

    เพื่อเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน

    เพื่อให้ทุกคนรู้หน้าที่ของตนเองโดยการฝึกซ้อมการปฏิบัติการตามแผนฉุกเฉินและทำให้เกิดความคุ้นเคย

    เพื่อให้เกิดการประสานงานระหว่างหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกในการช่วยเหลือและกู้ภัย

แผนแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินของหลาย ๆ องค์กร อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ

    สามารถจัดการได้โดยบุคคลในแผนกนั้น ๆ เอง  (ความรุนแรงระดับที่องค์กรสามารถจัดการได้เอง จึงต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติ เกณฑ์วิธีการ เทคนิค ในการจัดการกับเหตุฉุกเฉินแต่ละกรณี เป็นการเฉพาะ เพื่อใช้ในการอบรม เตรียมการ และนำไปใช้เมื่อเกิดเหตุการณ์ได้ทันที) 

    ต้องการความช่วยเหลือจากทีมแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินในโรงแรมและอาจต้องการอพยพคนออกจากโรงแรม

    ต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกอย่างเต็มที่ อาจต้องอพยพคนในพื้นที่ใกล้เคียงหรือทำการป้องกันอันตราย



แผนกู้ภัยฉุกเฉิน (Emergency Response) ควรมุ่งเน้นว่าองค์กรต้องทำอะไรบ้าง ต้องเตรียมอะไรบ้าง ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ในการป้องกันการเกิดการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย และลดผลกระทบต่อผู้ซึ่งประสบเหตุฉุกเฉินนั้น โดยขั้นตอนสำหรับการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินควรได้รับการจัดทำและพิจารณาถึงข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ขั้นตอนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ต้องกระชับและชัดเจนเพื่อใช้ในสถานการณ์ที่ฉุกเฉินได้ และต้องพร้อมเรียกหานำมาใช้งานได้ในยามเกิดเหตุ หากมีการเก็บเอกสารนี้ในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ที่อาจเรียกใช้ไม่ได้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ ต้องมีเอกสารชุดสำรองที่พร้อมให้หยิบใช้ในจุดปฏิบัติงาน



การจัดทำแผน ต้องพิจารณาถึง

    ลักษณะและพื้นที่ของสถานประกอบการ

    พื้นที่เสี่ยงภัย เช่น อาคารเก็บวัตถุไวไฟ เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์

    บริเวณโดยรอบ เส้นทางจราจร

    จำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานในแต่ละช่วงเวลา

    ความรู้พื้นฐานด้านการระงับเหตุฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ

    ระบบดับเพลิง เครื่องมือและอุปกรณ์ฉุกเฉิน หน้ากาก เครื่องช่วยหายใจ ชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมี ชุดผจญเพลิง

    ตำแหน่งห้องสำคัญ ห้องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ห้องควบคุมไฟฟ้าหลัก ห้องเก็บเอกสารสำคัญ

    ระบบติดต่อสื่อสารในภาวะปกติและระบบติดต่อสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน

    ทางออกฉุกเฉิน บันไดหนีไฟ

    การทำงานของสัญญาณแจ้งเหตุ ระบบตรวจจับการรั่วไหลของก๊าซ ระบบดับเพลิง ระบบสนับสนุนอื่น ๆ

    จุดที่ตั้งอำนวยการชั่วคราว พื้นที่สำรอง แหล่งน้ำสำรอง



การรักษาความปลอดภัยสูงสุดให้กับพื้นที่และทรัพย์สิน อาจครอบคลุมถึง

•     การให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในชีวิตมากกว่าความปลอดภัยของทรัพย์สิน

•     การเคลื่อนย้าย อพยพลูกค้าออกจากพื้นที่ รวมถึงการใช้ข้อบังคับต่าง ๆ อย่างมีเหตุมีผล

•     การป้องกันหรือกีดกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่ รวมถึงการใช้ข้อบังคับต่าง ๆ อย่างมีเหตุมีผล

•     การจำกัดวงความเสียหายไม่ให้ลุกลามออกไปเท่าที่เป็นไปได้ โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน



รายงานและจดบันทึกในกรณีที่ระบบเตือนภัยมีการแจ้งเตือน และกรณีที่ระบบเตือนภัยทำงานผิดพลาด อาจครอบคลุมถึง

•      การบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่มีการระบุไว้

•     การอธิบายถึงรายละเอียดของการแจ้งเตือนภัยหรือการทำงานผิดพลาดของระบบสัญญาณเตือนภัย เช่น วันที่ เวลา ระบบไหน ชนิดใด ตำแหน่งที่ตั้งอุปกรณ์ตัวไหน ความถี่ในการเกิด

•     การบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสมในสถานการณ์นั้น ๆ



ตรวจสอบสภาพ การตั้งค่า และประสิทธิภาพของระบบ อาจครอบคลุมถึง

•     การตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งค่าต่าง ๆ ของระบบรักษาความปลอดภัยและระบบสัญญาณเตือนภัยต่าง ๆ

•     การตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าระบบต่าง ๆ ยังคงทำงานอยู่ในสภาวะปกติ

•    การตรวจสอบตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้

•     การทดสอบระบบภายใน และอาจจะมีการทดสอบไปยังสถานีที่ทำการเฝ้าระวังติดตามทางไกล



การจัดเก็บหรือบันทึกกิจกรรมต่าง ๆ อาจเกี่ยวข้องกับ

•     การจดลงในสมุดบันทึก หลังสิ้นสุดการตรวจสอบ/การทดสอบ/การติดตามเฝ้าระวัง เพื่อไว้เป็นหลักฐานว่าได้มีการดำเนินการติดตามตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว โดยระบุว่า ใครเป็นผู้ดำเนินการ และดำเนินการเมื่อไหร่



การดำเนินกิจกรรมติดตามผล อาจครอบคลุมถึง

•     การเข้าไปตรวจสอบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสัญญาณเตือนภัยด้วยตนเอง

•     การยกระดับการเตือนภัยภายในองค์กร

•     ทำการตรวจสอบวินิจฉัยระบบสัญญาณเตือนภัย

•     ทำการแยกองค์ประกอบหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ของระบบสัญญาณเตือนภัย

•     การรายงานการเตือนภัย รวมถึงการแจ้งลูกค้า พนักงาน และหน่วยงานภายนอกองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน

•     การปิดระบบ/อุปกรณ์/การบริการ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 



การใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ ถูกควบคุมโดยกฎหมายหรือข้อกฎหมายท้องถิ่น/เทศบัญญัติ ซึ่งจะต้องได้รับเอกสารการอนุญาตให้จัดแสดงงานโดยขออนุญาตจากเขตปกครอง อำเภอ จังหวัดหรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง แม้องค์กรจะใช้บริการจากหน่วยงานภายนอกสำหรับบริการการจุดพลุหรือดอกไม้ไฟ แต่องค์กรยังจำเป็นต้องดำเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟให้กับพนักงานของตนตามความเหมาะสม เช่น การกำกับดูแลการเก็บรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพลุ/ดอกไม้ไฟ การป้องกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปยังพื้นที่จุดพลุ เป็นต้น



ข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ อาจเกี่ยวข้องกับ

•     การได้มาหรือการมีพลุหรือดอกไม้ไฟไว้ในครอบครอง โดยผ่านผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตและมีการขึ้นทะเบียนถูกต้อง

•     การมีใบอนุญาตเพื่อติดแสดงไว้ให้ชัดเจน

•     การติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจทางกฎหมาย เพื่อให้ทราบถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้งานพลุหรือดอกไม้ไฟ รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้งานพลุหรือดอกไม้ไฟ

•     การติดต่อประสานงานและการขอคำปรึกษาจากผู้อื่นหรือหน่วยงานอื่นตามความจำเป็น



มาตรการควบคุมความเสี่ยง อาจเกี่ยวข้องกับ

•     การจัดทำมาตรการควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่เกิดจากพลุหรือดอกไม้ไฟ

•     การระบุขอบเขตและการดำเนินการตามระบบบริหารจัดการความปลอดภัย

•     การนำมาตรการควบคุมเหตุฉุกเฉินที่เกิดจากพลุหรือดอกไม้ไฟไปบูรณาการรวมกับแผนการบริหารจัดการในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ และให้มีการระบุบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานที่เกี่ยวข้อง

•     การจัดตั้งให้มีระบบคุณภาพสำหรับศิลปะการแสดงพลุหรือดอกไม้ไฟ

•     การตรวจสอบเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับพลุและดอกไม้ไฟ รวมถึงการประยุกต์ใช้ตามแบบอย่างที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม

•     การประสานความร่วมมือกับผู้ผลิตพลุหรือดอกไม้ไฟ หรือผู้จัดแสดงศิลปะเกี่ยวกับพลุหรือดอกไม้ไฟ



การจัดทำแผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินและการจัดการความผิดปกติ อาจครอบคลุมถึง

•     การระบุถึงชนิดของเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น

•     การปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมาย

•     การประเมินเทคนิคต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ทราบว่าเกิดความผิดปกติหรือมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นในระหว่างที่มีการแสดงเกี่ยวกับพลุหรือดอกไม้ไฟ

•     การระบุถึงสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อจัดการกับสิ่งที่ถูกระบุไว้ว่าอาจจะก่อให้เกิดอันตรายและนำไปสู่เหตุการณ์ฉุกเฉิน

•     การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสิ่งที่ถูกระบุไว้ว่าอาจจะก่อให้เกิดอันตรายและนำไปสู่เหตุการณ์ฉุกเฉิน

•     การประยุกต์ใช้มาตรการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสม



การฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ ควรครอบคลุมถึง

•     การระบุบุคคลว่าใครควรจะได้รับการฝึกอบรม

•     การระบุหัวข้อฝึกอบรมที่ต้องการ

•     การดำเนินการฝึกอบรมตามที่ได้ระบุไว้

•     การประสานความร่วมมือกับผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย



งานธุรการของการรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร จัดทำประวัติการทำงานของบุคลากร จัดทำ ผลิต และรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ของแผนก จัดทำเอกสารขออนุมัติปฏิบัติงานนอกเวลา จัดทำบัญชีวัสดุครุภัณฑ์ของแผนกรักษาความปลอดภัย เป็นต้น



แบบฟอร์มเอกสารและรายงานภายในองค์กร อาจครอบคลุมถึง

•     การรวบรวมและการนำเสนอเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของยานพาหนะและการเคลื่อนที่ของคน

•     การบันทึกรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

•     การดำเนินการตามคำร้องขอพิเศษจากผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

•     รายงานการประเมินความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น

•     รายงานบันทึกการตรวจตราลาดตระเวน และการระบุถึงปัญหาด้านความปลอดภัย การละเมิด การฝ่าฝืน และความเสี่ยงต่าง ๆ 

•     การช่วยเหลือในการกรอกข้อมูลเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัย

•     การรวบรวมข้อมูลจากพยานต่าง ๆ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ