หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จำแนกกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมบันเทิง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ -VGDJ-044A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จำแนกกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ช่วยช่างภาพ (Video Assistant) 



ISCO 2654



 


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น และมีความสามารถในการจำแนกกล้องถ่ายถ่ายทำภาพยนตร์ สามารถแยกส่วนประกอบของกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมภาพยนตร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010401 แยกประเภทกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น 1. ระบุประเภทของกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้นได้ถูกต้องตามประเภทของกล้อง 153742
1010401 แยกประเภทกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น 2. อธิบายลักษณะของกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้นได้ถูกต้องตามประเภทของกล้อง 153743
1010401 แยกประเภทกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น 3. อธิบายวิธีการใช้งานกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้นได้ถูกต้องตามหลักการใช้งานของกล้อง 153744
1010402 แยกส่วนประกอบของกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น 1. อธิบายลักษณะของส่วนประกอบของกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้นได้ถูกต้องตามประเภทของกล้อง 153745
1010402 แยกส่วนประกอบของกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น 2. อธิบายวิธีการใช้งานส่วนประกอบของกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้นได้ถูกต้องตามหลักการใช้งานของกล้อง 153746

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เกี่ยวกับการผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการแยกประเภทกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น



2. ทักษะการแยกส่วนประกอบของกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. คำศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ และอุปกรณ์ในแผนกกล้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 



2. ความรู้เกี่ยวกับกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น และอุปกรณ์ในแผนกกล้อง



 

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน )Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือผู้ว่าจ้าง

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจำแนกกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

          แยกประเภทกล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น  โดยการระบุประเภท อธิบายลักษณะ และอธิบายวิธีการใช้งานได้ถูกต้องตรงตามประเภทกล้อง รวมทั้งแยกส่วนประกอบของกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ได้

(ก) คำแนะนำ

          1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอ่าน พูด และเขียนศัพท์เฉพาะทางในแผนกกล้อง ทั้งภาษาไทย

และภาษาอังกฤษ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1. กล้องถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องต้น อาทิ  กล้องถ่ายภาพนิ่งที่สามารถบันทึกไฟล์วิดีโอได้ เช่น กล้อง DSLR หรือกล้อง Mirrorless เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน

          1) แบบทดสอบข้อเขียน

          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

18.2 เครื่องมือประเมิน

          1) แบบทดสอบข้อเขียน

          2) แบบบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ