หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ความปลอดภัยในการทำงานด้านพิมพ์ออฟเซต

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRS-1-060ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ความปลอดภัยในการทำงานด้านพิมพ์ออฟเซต

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยช่างพิมพ์ออฟเซต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติตรวจสอบระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์ออฟเซต และรู้วิธีการป้องกันภัยส่วนบุคคล มีทักษะในการทำงานขั้นพื้นฐานทั่วไป และปฎิบัติงานภายใต้คำสั่งของช่างพิมพ์ออฟเซต 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
303101 ระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์ออฟเซต 1.1 ศึกษาคู่มือการซ่อมบำรุงประจำเครื่อง 303101.01 1691
303101 ระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์ออฟเซต 1.2ตรวจสอบเครื่องป้องกัน (guards) ให้อยู่ในสภาพและตำแหน่งที่ถูกต้อง 303101.02 1692
303101 ระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์ออฟเซต 1.3ตรวจสอบการทำงานของจุดเซ็นเซอร์ป้องกันอันตรายตำแหน่งต่างๆของครื่องพิมพ์ 303101.03 1693
303101 ระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์ออฟเซต 1.4ตรวจสอบการทำงานของสวิทซ์ฉุกเฉินสำหรับหยุดเครื่องพิมพ์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ 303101.04 1694
303101 ระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์ออฟเซต 1.5บำรุงรักษาระบบป้องกันอัตรายจากเครื่องพิมพ์ 303101.05 1695
303102 การป้องกันภัยส่วนบุคคล 2.1เตรียมความพร้อมตนเองก่อนการปฎิบัติงาน 303102.01 1696
303102 การป้องกันภัยส่วนบุคคล 2.2ใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้ตรงตามข้อกำหนดของโรงพิมพ์ 303102.02 1697
303102 การป้องกันภัยส่วนบุคคล 2.3มีระเบียบและวินัยในการทำงานตรงตามข้อกำหนดของโรงพิมพ์ 303102.03 1698
303103 ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี 3.1ติดป้ายหรือแสดงสัญลักษณ์แสดงอันตราย 303103.01 1699
303103 ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี 3.2เก็บรักษาสารเคมีให้ถูกต้องและเหมาะสม 303103.02 1700
303103 ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี 3.3เลือกสารเคมีให้เหมาะสมกับการใช้งาน 303103.03 1701
303103 ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี 3.4กำจัดสารเคมีต่างๆ ให้ถูกต้อง 303103.04 1702

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

คู่มือการใช้งานประจำเครื่องพิมพ์



พระราชบัญญัติความปลอดภัยและอาชีวอนามัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ปฎิบัติด้านการตรวจสอบเครื่องป้องกันอันตรายได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการใช้งาน

  2. ปฎิบัติด้านการตรวจสอบจุดเซ็นเซอร์ป้องกันอัตรายได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการใช้งาน

  3. ปฏิบัติด้านการตรวจสอบสวิทซ์ฉุกเฉินสำหรับหยุดเครื่องพิมพ์ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการใช้งาน

  4. บำรุงรักษาระบบป้องกันอันตรายได้ถูกต้องตามคู่มือการใช้งาน

  5. รายงานความผิดปกติของระบบป้องกันอันตรายของเครื่องพิมพ์ได้

  6. ความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจ

  7. ความพร้อมด้านการเตรียมเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

  8. ตระหนักถึงการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของการปฎิบัติงาน

  9. ติดป้ายหรือแสดงสัญลักษณ์บนภาชนะหรือสถานที่เก็บสารเคมี

  10. เลือกใช้สารเคมีได้

  11. เก็บรักษาสารเคมีและกำจัดสารเคมีได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้พื้นฐานด้านอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร

  2. ระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์ออฟเซต

  3. วิธีการรายงานความผิดปกติของระบบป้องกันอันตรายของเครื่องพิมพ์

  4. ความรู้พื้นฐานด้านอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

  5. ความรู้ด้านการเตรียมความพร้อมส่วนบุคคล

  6. ระเบียบและวินัยในการทำงาน

  7. ความรู้พื้นฐานด้านความปลอดภัยในการใช้สารเคมี

  8. ความรู้ด้านอันตรายจากสารเคมี

  9. ความรู้ด้านการกำจัดสารเคมีและสิ่งที่ปนเปื้อนจากสารเคมี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ผลการตรวจสอบการทำงานของเครื่องป้องกันอันตราย จุดเซ็นเซอร์ป้องกันอันตราย และสวิทซ์ฉุกเฉิน

  2. บันทึกหรือรายงานผลความผิดปกติของระบบป้องกันอันตรายของเครื่องพิมพ์

  3. ลักษณะความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจของผู้ปฎิบัติงาน

  4. ลักษณะความพร้อมของเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

  5. การปฎิบัติตนที่คำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน

  6. สารเคมีทุกชนิดที่นำมาใช้ได้รับการติดป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ถูกต้อง

  7. ผลของการเลือกใช้สารเคมี

  8. ผลการเก็บรักษาและการกำจัดสารเคมี



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. แนวทางการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์และจุดเซ็นเซอร์ป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์ และสวิทซ์ฉุกเฉิน

  2. วิธีการรายงานผลความผิดปกติของระบบป้องกันอันตรายเครื่องพิมพ์

  3. เข้าใจวิธีการรักษาความปลอดภัยในโรงพิมพ์

  4. เข้าใจวิธีการเตรียมความพร้อมตนเองและการเลือกใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

  5. อธิบายถึงความสำคัญในการรักษาระเบียบวินัยในการทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานงาน

  6. เข้าใจความสำคัญและความจำเป็นในการแสดงสัญลักษณ์อันตรายต่างๆ

  7. บอกและอธิบายถึงอันตรายจากการใช้สารเคมีในงานพิมพ์

  8. บอกขั้นตอนการเก็บรักษาสารเคมีได้

  9. อธิบายขั้นตอนในการกำจัดสารเคมีได้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. หลักฐานการปฎิบัติงานที่ต้องการ ได้แก่ ประเมินการเตรียมการ และการดำเนินการตรวจสอบการทำงานของเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องพิมพ์

  2. หลักฐานความรู้ที่ต้องการ ได้แก่ ประเมินขั้นตอนการทำงาน และการรายงานผลความผิดปกติของระบบป้องกันอันตรายเครื่องพิมพ์



(ง) วิธีการประเมิน



        N/A


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. การตรวจสอบเครื่องป้องกัน ได้แก่ สภาพมั่นคงและแข็งแรงพร้อมใช้งาน ตำแหน่งที่ถูกต้อง เครื่องป้องกันไม่ถูกถอดออกหรือถูกปิดระบบ

  2. การตรวจสอบจุดเซ็นเซอร์ป้องกันอันตราย ได้แก่ สภาพพร้อมทำงาน การทำงานเป็นปกติ

  3. การตรวจสอบสวิทซ์ฉุกเฉินสำหรับหยุดเครื่องพิมพ์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ต้องมีสภาพพร้อมใช้งานทุกจุด

  4. การบำรุงรักษาระบบป้องกันอัตรายจากเครื่องพิมพ์ ได้แก่ การดูแลรักษาความสะอาด การใช้งาน และการรายงานผู้ที่เกี่ยวข้องหากเครื่องป้องกันทำงานผิดปกติ

  5. การเตรียมความพร้อมตนเอง ได้แก่ ความพร้อมและความสมบูรณ์ด้านร่างกายและจิตใจ

  6. เครื่องป้องกันอัตรายส่วนบุคคล ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านเครื่องแต่งกาย เช่น ถุงมือ รองเท้า ผ้าปิดปาก ปิดจมูก เครื่องป้องกันเสียง เป็นต้น

  7. ระเบียบและวินัยในการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับเครื่องจักร ได้แก่ การปฎิบัติตามข้อควรระวังและข้อห้ามต่างๆ ในการทำงาน

  8. สารเคมีที่ใช้ในการทำงานด้านการพิมพ์ ได้แก่ หมึกพิมพ์ น้ำมัน น้ำยาหรือสารเคมีเพื่อทำความสะอาดเครื่องพิมพ์และร่างกาย น้ำยาฟาวน์เทน รวมถึงเศษวัสดุต่างๆ ที่ปนเปื้อนกับสารเคมี เป็นต้น

  9. สารเคมีทุกชนิดต้องได้รับการติดป้ายหรือแสดงสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอันตราย

  10. การเก็บรักษาให้เป็นไปตามมาตรฐานโรงพิมพ์และตามวิธีการที่ผู้ผลิตกำหนด

  11. การเลือกใช้สารเคมีต่างๆ ให้คำนึงถึง การเลือกประเภทให้ถูกต้องกับการใช้งาน ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น

  12. การกำจัดสารเคมีให้เป็นไปตามมาตรฐานโรงพิมพ์และตามวิธีการที่ผู้ผลิตกำหนด



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



     N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 หลักฐานการปฏิบัติงานที่ต้องการ ได้แก่ ผลจาการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน/สาธิต กระบวนการปรับตั้งส่วนต่างๆ



18.2 หลักฐานความรู้ที่ต้องการ ได้แก่ ผลการตอบปากเปล่าจาการสัมภาษณ์ และหรือผลการตอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



ยินดีต้อนรับ