หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำแผนงานตรวจประเมินเว็บแอปพลิเคชันสำหรับธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-AQVW-421B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำแผนงานตรวจประเมินเว็บแอปพลิเคชันสำหรับธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักประเมินระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนการตรวจประเมิน การกำหนดแผนงานการตรวจประเมิน การนำแผนงานการตรวจประเมินไปใช้ การติดตามแผนงานการตรวจประเมิน และการทบทวนและปรับปรุงแผนงานการตรวจประเมิน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาธุรกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. แนวปฏิบัติจากมาตรฐาน เช่น ISO/IEC 19011 หรือมาตรฐานสากลซึ่งเป็นแนวทางการตรวจประเมินระบบการจัดการ2. มาตรฐาน W3C การเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20321 กำหนดวัตถุประสงค์ของแผนการตรวจประเมิน 1. วิเคราะห์บริบทของเว็บแอปพลิเคชัน 20321.01 182585
20321 กำหนดวัตถุประสงค์ของแผนการตรวจประเมิน 2. กำหนดวัตถุประสงค์การตรวจประเมินเว็บแอปพลิเคชัน 20321.02 182586
20321 กำหนดวัตถุประสงค์ของแผนการตรวจประเมิน 3. กำหนดเกณฑ์การประเมินเว็บแอปพลิเคชัน 20321.03 182587
20322 กำหนดแผนงานการตรวจประเมิน 1. บทบาทและความรับผิดชอบของบุคคลที่บริหารแผนงานการตรวจประเมิน 20322.01 182588
20322 กำหนดแผนงานการตรวจประเมิน 2. กำหนดความสามารถของบุคคลที่บริหารแผนงานการตรวจประเมิน 20322.02 182589
20322 กำหนดแผนงานการตรวจประเมิน 3.จัดทำขอบเขตของแผนงานการตรวจประเมิน 20322.03 182590
20322 กำหนดแผนงานการตรวจประเมิน 4. กำหนดข้อบ่งชี้และการประเมินผลความเสี่ยงของแผนงานการตรวจประเมิน 20322.04 182591
20322 กำหนดแผนงานการตรวจประเมิน 5. จัดทำขั้นตอนการดำเนินการสำหรับแผนงานการตรวจประเมิน 20322.05 182592
20322 กำหนดแผนงานการตรวจประเมิน 6. กำหนดข้อบ่งชี้ทรัพยากรสำหรับแผนงานการตรวจประเมิน 20322.06 182593
20323 นำแผนงานการตรวจประเมินไปใช้ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ ขอบข่าย และเกณฑ์การตรวจประเมิน 20323.01 182594
20323 นำแผนงานการตรวจประเมินไปใช้ 2. เลือกวิธีการตรวจประเมิน 20323.02 182595
20323 นำแผนงานการตรวจประเมินไปใช้ 3. เลือกสมาชิกของคณะผู้ตรวจประเมิน 20323.03 182596
20323 นำแผนงานการตรวจประเมินไปใช้ 4. มอบหมายความรับผิดขอบสำหรับการตรวจประเมิน 20323.04 182597
20323 นำแผนงานการตรวจประเมินไปใช้ 5. บริหารผลสัมฤทธิ์ของแผนการตรวจประเมิน 20323.05 182598
20323 นำแผนงานการตรวจประเมินไปใช้ 6. บริหารและการเก็บรักษาบันทึกเกี่ยวกับแผนงานการตรวจประเมิน 20323.06 182599
20324 ติดตามแผนงานการตรวจประเมิน 1. ตรวจสอบและเปรียบเทียบกิจกรรมการทำงานกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 20324.01 182600
20324 ติดตามแผนงานการตรวจประเมิน 2. รายงานการเบี่ยงเบนของกิจกรรมการทำงาน และประสานกับบุคคลที่เหมาะสมเพื่อรับข้อเสนอแนะ 20324.02 182601
20324 ติดตามแผนงานการตรวจประเมิน 3. ดำเนินกิจกรรมตามข้อกำหนดในรายงานสอคล้องกับรูปแบบที่ได้รับการเสนอแนะ 20324.03 182602
20324 ติดตามแผนงานการตรวจประเมิน 4. จัดทำและจัดเก็บข้อมูลตามขั้นตอนการดำเนินงาน 20324.04 182603
20325 ทบทวนและปรับปรุงแผนงานการตรวจประเมิน 1. ทบทวนแผนงาน และการดำเนินงานบนพื้นฐานของข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นปัจจุบัน 20325.01 182604
20325 ทบทวนและปรับปรุงแผนงานการตรวจประเมิน 2.จัดทำผลการตรวจประเมินให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบที่เข้าใจง่าย 20325.02 182605
20325 ทบทวนและปรับปรุงแผนงานการตรวจประเมิน 3.จัดทำเอกสารรายงานผลการตรวจประเมิน 20325.03 182606
20325 ทบทวนและปรับปรุงแผนงานการตรวจประเมิน 4.นำเสนอข้อเสนอแนะแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 20325.04 182607
20325 ทบทวนและปรับปรุงแผนงานการตรวจประเมิน 5.ปรับปรุงแก้ไขแผนงานการตรวจประเมิน 20325.05 182608

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการรู้หนังสือ (Literacy Skills) เพื่อตีความนโยบายและขั้นตอนการตรวจประเมิน เพื่อจัดทำร่างข้อความโดยจัดลำดับในเชิงตรรกะและเพื่อให้ได้โครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับการตรวจประเมินเว็บแอปพลิเคชัน

2. ทักษะด้านการคำนวณ (Numeracy Skills) สำหรับการวิเคราะหางสถิติพื้นฐานการตรวจประเมินเว็บแอปพลิเคชัน

3. ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) เพื่อให้คำปรึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้อง  

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้มาตรฐาน ISO 19011 หรือ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

2. ความรู้เกี่ยวกับ W3C

3. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการประเมินเว็บแอปพลิเคชัน

4. ประเภทเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเว็บแอปพลิเคชัน

5. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน

6. ข้อกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเว็บแอปพลิเคชันที่ถูกประเมิน  

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

2. เอกสารการประเมินการปฏิบัติงานจริงตามรายการประเมิน

3. แบบบันทึกรายการจากการสังเกตจากการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารรับรองการเป็นผู้ประเมิน

2. เอกสารรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือการปฏิบัติงานด้านความรู้

4. แฟ้มสะสมผลงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือประเมินเว็บแอปพลิเคชัน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ 

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

การออกแบบเครื่องมือประเมินเว็บแอปพลิเคชัน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนการตรวจประเมิน การกำหนดแผนงานการตรวจประเมิน การนำแผนงานการตรวจประเมินไปใช้ การติดตามแผนงานการตรวจประเมิน และการทบทวนและปรับปรุงแผนงานการตรวจประเมิน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนการตรวจประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการวิเคราะห์บริบทของเว็บแอปพลิเคชัน การกำหนดวัตถุประสงค์การตรวจประเมินเว็บแอปพลิเคชัน และการกำหนดเกณฑ์การประเมินเว็บแอปพลิเคชัน

2. การกำหนดแผนงานการตรวจประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับบทบาทและความรับผิดชอบของบุคคลที่บริหารแผนงานการตรวจประเมิน การกำหนดความสามารถของบุคคลที่บริหารแผนงานการตรวจประเมิน การจัดทำขอบเขตของแผนงานการตรวจประเมิน การกำหนดข้อบ่งชี้และการประเมินผลความเสี่ยงของแผนงานการตรวจประเมิน การจัดทำขั้นตอนการดำเนินการสำหรับแผนงานการตรวจประเมิน และการกำหนดข้อบ่งชี้ทรัพยากรสำหรับแผนงานการตรวจประเมิน

3. การนำแผนงานการตรวจประเมินไปใช้ ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบข่าย และเกณฑ์การตรวจประเมิน การเลือกวิธีการตรวจประเมิน การเลือกสมาชิกของคณะผู้ตรวจประเมิน การมอบหมายความรับผิดขอบสำหรับการตรวจประเมิน การบริหารผลสัมฤทธิ์ของแผนการตรวจประเมิน และการบริหาร การเก็บรักษาบันทึกเกี่ยวกับแผนงานการตรวจประเมิน

4. การติดตามแผนงานการตรวจประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการตรวจสอบและเปรียบเทียบกิจกรรมการทำงานกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การรายงานการเบี่ยงเบนของกิจกรรมการทำงาน และประสานกับบุคคลที่เหมาะสมเพื่อรับข้อเสนอแนะ การดำเนินกิจกรรมตามข้อกำหนดในรายงานสอคล้องกับรูปแบบที่ได้รับการเสนอแนะ และการจัดทำและจัดเก็บข้อมูลตามขั้นตอนการดำเนินงาน

5. การทบทวนและปรับปรุงแผนงานการตรวจประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการทบทวนแผนงาน และการดำเนินงานบนพื้นฐานของข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นปัจจุบัน การจัดทำผลการตรวจประเมินให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบที่เข้าใจง่าย การจัดทำเอกสารรายงานผลการตรวจประเมิน การนำเสนอข้อเสนอแนะแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และการปรับปรุงแก้ไขแผนงานการตรวจประเมิน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

2.    แบบประเมินผลโดยวิธีการปฏิบัติงาน

3.    แบบการสังเกตพฤติกรรม

หรือ 

4. RESK

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2 เครื่องมือการประเมิน

1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

2.    แบบประเมินผลโดยวิธีการปฏิบัติงาน

3.    แบบการสังเกตพฤติกรรม

หรือ 

4. RESK

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

    18.3 เครื่องมือการประเมิน

1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

2.    แบบประเมินผลโดยวิธีการปฏิบัติงาน

3.    แบบการสังเกตพฤติกรรม

หรือ 

4. RESK

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

    18.4 เครื่องมือการประเมิน

1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

2.    แบบประเมินผลโดยวิธีการปฏิบัติงาน

3.    แบบการสังเกตพฤติกรรม

หรือ 

4. RESK

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

    18.5 เครื่องมือการประเมิน

1.    แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

2.    แบบประเมินผลโดยวิธีการปฏิบัติงาน

3.    แบบการสังเกตพฤติกรรม

หรือ 

4. RESK

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ