หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ศักยภาพทางการตลาดด้านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-FLOO-406B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ศักยภาพทางการตลาดด้านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    ที่ปรึกษาด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย  ประเมินศักยภาพผู้ประกอบการ  และเสนอทางเลือกการใช้ทรัพยากรสารสนเทศทางการตลาด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    กลุ่มวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล  สาขาธุรกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10121 วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย 1.รวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย 10121.01 182385
10121 วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย 2.วิเคราะห์ข้อมูลและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 10121.02 182386
10121 วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย 3.จัดเรียงข้อมูลและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายตามลำดับความสำคัญ  10121.03 182387
10121 วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย 4.จัดทำรายงานสรุปข้อมูลและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายตามลำดับความสำคัญ 10121.04 182388
10122 ประเมินศักยภาพผู้ประกอบการ 1.ตรวจประเมินโครงสร้างพื้นฐานขององค์การ 10122.01 182389
10122 ประเมินศักยภาพผู้ประกอบการ 2.ตรวจประเมินผลิตภัณฑ์สินค้า 10122.02 182390
10122 ประเมินศักยภาพผู้ประกอบการ 3.ตรวจประเมินด้านการตลาด 10122.03 182391
10122 ประเมินศักยภาพผู้ประกอบการ 4.ตรวจประเมินบุคลากรในองค์การ 10122.04 182392
10123 เสนอทางเลือกการใช้ทรัพยากรทางการตลาด 1.รวบรวมและวิเคราะห์ทรัพยากรทางการตลาดสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ประกอบการ  10123.01 182393
10123 เสนอทางเลือกการใช้ทรัพยากรทางการตลาด 2.เสนอช่องทางเลือกการใช้ทรัพยากรทางการตลาด 10123.02 182394

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย

2. ปฏิบัติการประเมินศักยภาพผู้ประกอบการ

3. ปฏิบัติการเสนอทางเลือกการใช้ทรัพยากรทางการตลาด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. วิเคราะห์การตลาด

2. การประเมินศักยภาพผู้ประกอบการ

3. ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

4. การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสาร

5. การตลาดดิจิทัล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารการประเมินการสัมภาษณ์

2. แฟ้มสะสมผลงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ศักยภาพทางการตลาดด้านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียนหรือผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ประเมินเกี่ยวกับการวิเคราะห์ศักยภาพทางการตลาดด้านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

การวิเคราะห์ศักยภาพทางการตลาดด้านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงเกี่ยวกับการการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย  การประเมินศักยภาพผู้ประกอบการ  และการเสนอทางเลือกการใช้ทรัพยากรทางการตลาด

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย  การวิเคราะห์ข้อมูลและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การจัดเรียงข้อมูลและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายตามลำดับความสำคัญ  และการจัดทำรายงานสรุปข้อมูลและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายตามลำดับความสำคัญ โดย การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายตามขั้นตอนของการใช้เครื่องมือ STP จะมีอยู่ 3 ส่วน คือ

       Segmentation หมายถึง การแบ่งส่วนตลาด โดยใช้หลักเกณฑ์การแบ่งเพื่อให้เห็นตลาดที่ชัดเจนก่อนที่จะกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถใช้ปัจจัยในการแบ่งส่วนตลาดดังนี้

             - แบ่งตามหลักประชากรศาสตร์ (Demographic Segmentation) ซึ่งมีตัวแปรในการกำหนดส่วนตลาด คือ เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา เชื้อชาติ ศาสนา ขนาดของครอบครัว

             - แบ่งตามหลักภูมิศาสตร์ (Geographic Segmentation) เป็นการวิเคราะห์พื้นที่ของกลุ่มเป้าหมายว่าพื้นที่ในการทำการตลาดหรือขายผลิตภัณฑ์ควรเป็นที่ใด โดยมีตัวแปรในการแบ่งคือ ประเทศ ภูมิภาค จังหวัด พื้นที่ในจังหวัด เช่น ใจกลางเมือง หมู่บ้าน ชนบท

              - แบ่งตามหลักจิตวิทยา (Psychographic Segmentation) แบ่งส่วนตลาดจากกลุ่มประชากรโดยใช้หลักจิตวิทยา มีตัวแปรที่ใช้ในการแบ่ง คือ รูปแบบการดำเนินชีวิต ค่านิยม บุคลิกของผู้ใช้ 

ชนระดับทางสังคม

             - แบ่งตามหลักพฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Segmentation) ศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้ของตลาดเป้าหมาย โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการวัดผล คือ โอกาสของการใช้ ความถี่ในการใช้ อัตราการใช้ ประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้า ความภักดีต่อสินค้า

Targeting หมายถึง การกำหนดตลาดเป้าหมายโดยพิจารณาว่าตลาดเป้าหมายโดยมีขั้นตอนในการเลือกตลาดเป้าหมายดังนี้

       1. ประเมินสถานการณ์ตลาด โดยพิจาณาถึงขนาดของตลาด ความยากง่ายในการเข้าตลาด จำนวนคู่แข่งในตลาด ความรุนแรงทางการแข่งขันในตลาด ผู้นำตลาดคือใคร

       2. เลือกตลาดเป้าหมาย โดยการเลือกตลาดจะต้องมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ โดยวิธีเลือกตลาดจะมีดังนี้

             2.1 มุ่งตลาดเฉพาะส่วนโดยใช้ผลิตภัณฑ์เดียว โดยมีสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียวเพื่อตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายเดียวเท่านั้น การดำเนินธุรกิจในตลาดเฉพาะส่วนจะใช้ต้นทุนต่ำแต่มีความเสี่ยงสูงด้วยเช่นกัน

             2.2 มุ่งตลาดหลายส่วนโดยใช้หลายผลิตภัณฑ์ ธุรกิจจะมีสินค้าหรือบริการหลายอย่างที่สามารถตอบสนองให้กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม โดยแต่ละตลาดจะมีความต้องการที่ต่างกัน ดังนั้นกลยุทธ์ที่ใช้จะต้องมีหลายกลยุทธ์เพื่อความสอดคล้องกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

             2.3 มุ่งตลาดหลายส่วนโดยใช้ผลิตภัณฑ์เดียว อาศัยจุดเด่นหรือความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวแต่กระจายผลิตภัณฑ์ไปยังหลายๆตลาด อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ในการดำเนินการก็ย่อมเปลี่ยนไปตามกลุ่มลูกค้าด้วย

             2.4 มุ่งตลาดส่วนเดียวโดยใช้ผลิตภัณฑ์หลายชนิด เจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายเพียงตลาดเดียวโดยศึกษาความต้องการของตลาดนั้นและนำสินค้าหรือบริการตอบสนองความต่อความต้องการในนั้น

             2.5 มุ่งตลาดรวม เป็นการขายสินค้าหรือบริการหลายประเภทให้กับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้จะเป็นประเภทสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการจัดการและทำการตลาด

Positioning หมายถึง การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ โดยจะต้องมีการพิจารณาเรื่องจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คุณภาพ ความทนทาน รูปลักษณ์ รูปแบบ ราคาของผลิตภัณฑ์ การใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ การซ่อมแซมสามารถทำได้ง่าย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันในตลาดว่าเรามีอะไรที่ดีกว่าหรือด้อยกว่า เมื่อวิเคราะห์เสร็จสิ้นเราจะสามารถทราบได้ว่าผลิตภัณฑ์ของเราอยู่ในตำแหน่งใดในตลาด หรืออาจสร้างแผนภาพเพื่อให้เห็นตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

2. การประเมินศักยภาพผู้ประกอบการ  ประกอบด้วย การตรวจประเมินโครงสร้างพื้นฐานขององค์การ การตรวจประเมินผลิตภัณฑ์สินค้า  การตรวจประเมินด้านการตลาด และตรวจประเมินบุคลากรในองค์การ โดยขั้นตอนการตรวจสอบมีดังนี้

    2.1 ศึกษาข้อมูลของผู้ประกอบการจากเอกสารรายงานประจำปี ข้อมูลการดำเนินงานที่ผ่านมา ผลการปฏิบัติงานขององค์การ 

    2.2 ตรวจประเมินศักยภาพมี 5 ด้าน ประเมินโครงสร้างพื้นฐานขององค์การ ได้แก่ การจัดการความรู้ในองค์การ การลงทุนในบริการและโครงการพื้นฐาน เป็นต้น การประเมินผลิตภัณฑ์สินค้า ได้แก่ การเพิ่มพูนค่าและคุณภาพของสินค้า และรูปแบบการขายสินค้า ช่องการสั่งซื้อสินค้า ช่องทางการชำระเงิน เป็นต้น  การประเมินด้านการตลาด ได้แก่ การตอบสนองต่อความผันผวนของราคา ความสม่ำเสมอของปริมาณสินค้าที่จะขาย การจัดส่งสินค้า และบริการหลังการขาย เป็นต้น  และการประเมินบุคลากรในองค์การ ได้แก่ ความสามารถของบุคลากร ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นต้น

3. ประเมินศักยภาพ หมายถึง การประเมินความสามารถสูงสุดของบุคคลนั้นหรือองค์การในการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยนำมาเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 

4. การเสนอทางเลือกการใช้ทรัพยากรทางการตลาด โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ทรัพยากรทางการตลาดสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ประกอบการ และนำเสนอช่องทางเลือกการใช้ทรัพยากรทางการตลาด

5. ทรัพยากรทางการตลาด ได้แก่ ช่องทางในการจำหน่ายร่วมกัน หน่วยงานขาย คลังสินค้า การชำระเงินในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดส่งสินค้าในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

    2. แบบประเมินการสัมภาษณ์

    3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

    หรือ 

4. RESK

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

    18.2 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

    2. แบบประเมินการสัมภาษณ์

    3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

    หรือ 

4. RESK

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

    18.3 เครื่องมือการประเมิน

    1. แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 

    2. แบบประเมินการสัมภาษณ์

    3. แบบประเมินแฟ้มสะสมงาน

    หรือ 

4. RESK

    ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ