หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับบุคคลทั่วไป

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-GKME-268A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับบุคคลทั่วไป

3. ทบทวนครั้งที่ - / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้ในการจำแนกประเภทการออกกำลังกายทั่วไป ออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ สามารถวางแผนวิธีการ ทบทวนรูปแบบ ออกแบบการจัดโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาความพร้อมของร่างกาย ได้แก่ ชนิด ระยะเวลา ความหนัก และความถี่ ของการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10301.01 ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป A.กำหนดความถี่ของการออกกำลังกายทั่วไป 182163
10301.01 ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป B. กำหนดความหนักของการออกกำลังกายทั่วไป 182164
10301.01 ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป C.กำหนดระยะเวลาของการออกกำลังกายทั่วไป 182165
10301.01 ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป D.กำหนดชนิดของการออกกำลังกายทั่วไป 182166
10301.02 ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรง A.กำหนดความถี่ของการออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรง 182167
10301.02 ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรง B. กำหนดความหนักของการออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรง 182168
10301.02 ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรง C.กำหนดระยะเวลาของการออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรง 182169
10301.02 ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรง D.กำหนดชนิดของการออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรง 182170
10301.03 ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ A.กำหนดความถี่ของการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ 182171
10301.03 ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ B. กำหนดความหนักของการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ 182172
10301.03 ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ C.กำหนดระยะเวลาของการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ 182173
10301.03 ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ D.กำหนดชนิดของการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ 182174

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการจำแนกประเภทของการออกกำลังกายทั่วไป การออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจได้อย่างเหมาะสม

2. มีทักษะในการวางแผนวิธีการออกกำลังกายทั่วไป การออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ ได้อย่างเหมาะสม

3. มีทักษะในการทบทวนรูปแบบการออกกำลังกายทั่วไป การออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจได้อย่างเหมาะสม

4. มีทักษะในการออกแบบการจัดโปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป การออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจได้แก่ ชนิด ระยะเวลา ความหนัก และความถี่ ของออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม สามารถจำแนกประเภท วางแผนวิธีการ ทบทวนรูปแบบ ของการออกกำลังกายทั่วไป การออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจได้อย่างเหมาะสม

2. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบการจัดโปรแกรมการออกกำลังกายได้แก่ ชนิด ระยะเวลา ความหนัก และความถี่ ของออกกำลังกายทั่วไป การออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจได้อย่างเหมาะสม 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับ

เกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria)และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    ไม่มี

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการทดสอบความรู้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

    1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

        ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

        การออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายทั่วไป หมายถึง กิจกรรมหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพขั้นพื้นฐานโดยที่ไม่ได้มุ่งเน้น หรือมีวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับสมรรถภาพร่างกายด้านใดด้านหนึ่ง

หลักการฝึกกำลังกายทั่วไปและเพื่อฝึกความอดทนของระบบหัวใจและหายใจ FITT ที่เหมาะสมกับบุคคล และสภาพร่างกาย คือ

1. F=Frequency ความบ่อยในการออกกำลังกาย

2. I=Intensity ความหนักหรือความเหนื่อยในการออกกำลังกาย

3. T=Time ระยะเวลาในการออกกำลังกาย

4. T=Type ชนิดของการออกกำลังกาย

หลักการฝึกเพื่อความแข็งแรง คือ

1. Repetitive Maximum (RM) = จำนวนครั้งสูงสุดที่ทำได้ของแรงต้านนั้น

2. Set=จำนวนรอบในการออกกำลัง

3. Volume=ปริมาณในการฝึก

4. Reps=จำนวนครั้งในการยก

5. Rest=การพัก

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ