หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการกู้ชีพ

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-IPCI-260A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการกู้ชีพ

3. ทบทวนครั้งที่ - / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการกู้ชีพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10104.01 ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย A.จัดเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 182112
10104.01 ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย B.ปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 182113
10104.01 ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย C.เคลื่อนย้ายผู้ป่วยภายหลังจากการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 182114
10104.02 กู้ชีพขั้นพื้นฐาน (BLS) A.จัดเตรียมอุปกรณ์การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน 182115
10104.02 กู้ชีพขั้นพื้นฐาน (BLS) B.กู้ชีพขั้นพื้นฐาน 182116
10104.02 กู้ชีพขั้นพื้นฐาน (BLS) C.สาธิตการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน 182117
10104.03 ช่วยฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) A.จัดเตรียมอุปกรณ์การช่วยฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ 182118
10104.03 ช่วยฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) B.ช่วยฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ 182119
10104.03 ช่วยฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) C.สาธิตการช่วยฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ 182120

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการจัดเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

2. มีทักษะในการให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม 

3. มีทักษะในการทำการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (BLS) ได้อย่างเหมาะสม

4. มีทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติได้ (AED) 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

2. ความรู้เกี่ยวกับการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (BLS)

3. ความรู้เกี่ยวกับการการช่วยฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับ

เกณฑ์การปฏิบัติงาน(Performance Criteria)และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    ใบรับรองการอบรม ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร หรือ แฟ้มสะสมผลงาน หรือ ใบรับรองจากหัวหน้างานหรือผู้เชี่ยวชาญในสายงานที่ปฏิบัติงานอยู่

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการทดสอบความรู้

    2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง    

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

    1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบทดสอบความรู้ และ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง3

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุดหลังเกิดเหตุโดยอาจทำได้ในทันที หรือระหว่างการนำผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่รักษาพยาบาลอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย หรืออาการบาดเจ็บนั้นๆ ก่อนที่ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ 

2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (Transporting) หมายถึง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาในขั้นต่อไป หรือเพื่อเคลื่อนย้ายออกจากสถานการณ์หรือที่เกิดเหตุที่ไม่ปลอดภัย ด้วยความระมัดระวัง มีความเหมาะสมและถูกต้องตามวิธีการมาตรฐาน โดยไม่ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายหรือบาดเจ็บรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

3. การกู้ชีพ หมายถึง การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนเลือดกลับคืนสู่สภาพเดิม โดยการกู้ชีพหรือช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic Life support) ได้แก่ การผายปอด การนวดหัวใจภายนอก การใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ