หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ชำนาญการขั้นสูง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-OQTM-525A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ชำนาญการขั้นสูง

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล


1 7322 ช่างพิมพ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
N/A

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20103.1

ถ่ายทอดความรู้และสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์และใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์ได้

1.1 ถ่ายทอดความรู้ สอนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์


20103.1.01 182018
20103.1

ถ่ายทอดความรู้และสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์และใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์ได้

1.2 ติดตั้งและใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์ได้

20103.1.02 182019
20103.2

จัดการสีทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

2.1 แก้ไขการจัดการสีได้อย่างถูกต้อง


20103.2.01 182020
20103.2

จัดการสีทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

2.2 ใช้เครื่องมือวัดค่าสีเพื่อวิเคราะห์และนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

20103.2.02 182021

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้หรือผ่านการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมีความชำนาญในการใช้งานคอมพิวเตอร์



         2. ผ่านหน่วยสมรรถนะ 20102 ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. การติดตั้งโปรแกรมทางด้านงานก่อนพิมพ์บนคอมพิวเตอร์

  2. สอนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์และใช้โปรแกรมงานก่อนพิมพ์

  3. การตั้งค่าการจัดการสีบนไฟล์งาน

  4. การจัดการปัญหาเรื่องสีบนไฟล์งานพิมพ์

  5. รายงานผลการวิเคราะห์ค่าสี

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. วิธีการติดตั้งและใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านงานก่อนพิมพ์

  2. อุปกรณ์ (hardware) คอมพิวเตอร์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง

  3. การจัดการสี

  4. อุปกรณ์และเครื่องมือวัดค่าสี (CMS tools)

  5. สภาวะและสภาพแวดล้อม (conditions) ในการตรวจวัดค่าสี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ผลการประเมินความเข้าใจของผู้เรียนหรือผู้เชี่ยวชาญ หลักฐานการบันทึกวีดีโอ หรือผลจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติการสอน และถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านงานก่อนพิมพ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

  2. ไฟล์งานที่มีการตั้งค่าหรือแก้ไขเรื่องการจัดการสี รายงานผลการวิเคราะห์ค่าสีของไฟล์งาน หรือผลจากการสังเกตการณ์ในในการปฏิบัติงานการการจัดการสีการใช้อุปกรณ์วัดค่าสี วิธีการปรับตั้งแก้ไขค่าสีบนไฟล์งานพิมพ์



 



 



 



         (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



         ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



         (ค) คำแนะนำในการประเมิน



         การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 3 ปี มีการเตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์นำเสนอสื่อการสอนให้พร้อมใช้งาน มีการกำหนดสถานการจำลองที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน



          (ง) วิธีการประเมิน



         ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือสื่อการสอนและผลการประเมินความเข้าใจของผู้เรียน การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ แฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)

  1. เข้าใจและอธิบายหลักการทำงาน การใช้เครื่องมือในโปรแกรมงานก่อนพิมพ์ ทั้งทฤษฎีและทางปฏิบัติ




  1. ปฏิบัติการและจัดการทางด้านคอมพิวเตอร์  เช่น มีความรู้เรื่องฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ติดตั้งซอฟต์แวร์งานก่อนพิมพ์ 

  2. มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติทางการจัดการสีเช่น การทำโปรไฟล์ของอุปกรณ์ ( เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ) การใช้ซอฟแวร์ทางการจัดการสี การใช้เครื่องมือและการปรับตั้ง

  3. การใช้อุปกรณ์ในการตรวจวัดค่าสีของงานพิมพ์ เช่น เครื่องวัดค่าพิกัดสี (spectrophotometer) เครื่องวัดค่าความดำ (densitometer) มาทำการวิเคราะห์คุณภาพการพิมพ์ เพื่อนำไปใช้ในการทำการจัดการสี

  4. สภาวะและสภาพแวดล้อมในการตรวจวัดค่าสี คือ การใช้วัสดุรองด้านหลังงานพิมพ์ และเงื่อนไขการตรวจวัด



         (ก) คำแนะนำ



  N/A



         (ข) คำอธิบายรายละเอีย



              N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือสื่อการสอนและผลการประเมินความเข้าใจของผู้เรียน การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ แฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



ยินดีต้อนรับ