หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประสานงานกับลูกค้าชำนาญการ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-QDQM-532A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประสานงานกับลูกค้าชำนาญการ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล


1 7322 ช่างพิมพ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
N/A

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20110.1

ประสานงานกับลูกค้าในเรื่องของไฟล์งานสิ่งพิมพ์

1.1 ติดต่อประสานงานกับลูกค้าในเรื่องของต้นฉบับที่เกิดปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ


20110.1.01 182055
20110.1

ประสานงานกับลูกค้าในเรื่องของไฟล์งานสิ่งพิมพ์

1.2 แก้ไขปัญหาต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง

20110.1.02 182056
20110.2

ออกใบสั่งงานและสั่งผลิตแม่พิมพ์

2.1 ออกใบคำสั่งงาน พร้อมจัดการส่งไฟล์งานไปยังขั้นตอนถัดไปให้ถูกต้อง


20110.2.01 182057
20110.2

ออกใบสั่งงานและสั่งผลิตแม่พิมพ์

2.2 ปฏิบัติงานการจัดวางหน้า ตัวอย่างงาน ให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์

20110.2.02 182058

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

. สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้หรือผ่านการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ระดับเบื้องต้นได้



         2. ผ่านหน่วยสมรรถนะ 20109 ประสานงานกับลูกค้าเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ






      1. การติดต่อประสานงานกับลูกค้า

      2. การวิเคราะห์ปัญหาและคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องรูปภาพ ตัวอักษร

      3. การเขียนใบคำสั่งผลิตงาน

      4. การตรวจสอบและเตรียมไฟล์งานต้นฉบับ





(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ขั้นตอนการติดต่อประสานงานกับลูกค้า

  2. รูปแบบไฟล์งานและความละเอียดของรูปภาพ ความถูกต้องของตัวอักษร

  3. วิธีการแก้ไขปัญหาต้นฉบับที่ไม่สมบูรณ์

  4. ขั้นตอนการผลิตสิ่งพิมพ์ และการขึ้นรูปชิ้นงาน

  5. ขั้นตอนการจัดวางหน้า และงานหลังพิมพ์

  6. การจัดเตรียมไฟล์สำหรับงานก่อนพิมพ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



         หลักฐานการบันทึกวีดีโอ หรือผลจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงานการติดต่อ ประสานงานกับลูกค้า การวิเคราะห์ปัญหา การให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องรูปแบบไฟล์งานรูปภาพ และตัวอักษร สังเกตการณ์ในการออกใบคำสั่งผลิต วิธีการเตรียมไฟล์งานต้นฉบับ



         (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



         ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



         (ค) คำแนะนำในการประเมิน



         การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2 ปี มีการเตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องให้พร้อมใช้งาน มีการกำหนดสถานการจำลองที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน



          (ง) วิธีการประเมิน



         ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)



    1. ปัญหาในเรื่องต้นฉบับที่ได้จากลูกค้าที่มีผลต่องานพิมพ์ ได้แก่ รูปแบบไฟล์งาน (file format) ความละเอียดของภาพ (resolution) รูปแบบของตัวอักษร (type of font)  เป็นต้น

    2. การติดต่อประสานงาน ได้แก่ การเจรจา ติดต่อสื่อสารเพื่อหาข้อสรุป การให้คำแนะนำ ชี้แจงและขั้นตอนการแก้ไขงาน

    3. ใบคำสั่งงาน ได้แก่ ใบสั่งผลิต หรือใบกำหนดคุณลักษณะรูปแบบงาน ที่มีรายละเอียดและข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

    4. การจัดส่งไฟล์ ได้แก่ การเตรียม ตรวจสอบและส่งไฟล์อักษร ไฟล์รูปภาพ ที่พร้อมนำไปใช้ประกอบงานบนคอมพิวเตอร์

    5. ความรู้เรื่องการจัดวางหน้า ได้แก่ การทำดัมมี่งาน และการขึ้นรูปตัวอย่างชิ้นงาน เป็นต้น

    6. งานหลังพิมพ์ ได้แก่ การพับ การตัด การเผื่อเจียน รูปแบบการเก็บเล่ม งานปั๊มขาด การดุนนูน เป็นต้น




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



ยินดีต้อนรับ