หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-QFXF-473A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์ออฟเซตป้อนแผ่น


1 7322 ช่างพิมพ์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติการบำรุงรักษาเครื่องจักร การใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษา และรู้วิธีการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษา มีทักษะในการทำงานขั้นพื้นฐานทั่วไป และปฏิบัติงานภายใต้คำสั่งของช่างพิมพ์ออฟเซต

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนด เช่น ผ่านการทดสอบตาบอดสี มีใบประกอบวิชาชีพ เป็นต้น

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30304.1

บำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

ใช้อุปกรณ์ในการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้อง

30304.1.01 181930
30304.1

บำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

บำรุงรักษาตามจุดและตำแหน่งการบำรุงรักษาตามคู่มือเครื่องพิมพ์ได้

30304.1.02 181931
30304.2

รายงานความผิดปกติของเครื่องพิมพ์

ตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องพิมพ์ได้

30304.2.01 181932
30304.2

รายงานความผิดปกติของเครื่องพิมพ์

รายงานความผิดปกติให้กับผู้เกี่ยวข้อง

30304.2.02 181933
30304.2

รายงานความผิดปกติของเครื่องพิมพ์

จัดเก็บข้อมูลประวัติเครื่องจักรได้

30304.2.03 181934

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ต้องมีความรู้ทางด้านการพิมพ์ออฟเซต การบำรุงรักษาเครื่องจักร หรือต้องมีทักษะการใช้เครื่องพิมพ์ การใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษา เป็นต้น  


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การระบุจุดหรือตำแหน่งการบำรุงรักษา และการกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษา

2.    การทำแผนการดำเนินการบำรุงรักษา

3.    การเตรียมเครื่องมือ วัดสุ และอุปกรณ์

4.    การทำความสะอาดเครื่องพิมพ์

5.    การหยอดน้ำมันและสารหล่อลื่นต่าง ๆ

6.    การเปลี่ยนส่วนประกอบและวัสดุต่าง ๆ ในเครื่องพิมพ์

7.    การปรับตั้งเครื่องพิมพ์หลังการใช้งาน

8.    การเขียนบันทึกและรายงานการบำรุงรักษา

9.    การสังเกตความผิดปกติของเครื่องพิมพ์

10.    การหยุดเครื่องพิมพ์อย่างถูกวิธี

11.    การเขียนรายงานความผิดปกติของเครื่องพิมพ์

12.    การจัดเก็บข้อมูลประวัติเครื่องพิมพ์อย่างเป็นระบบ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักการและความสำคัญของการบำรุงรักษาเครื่องจักร

2.    ส่วนประกอบของเครื่องจักรและการบำรุงรักษา

3.    เทคนิคการทำแผนบำรุงรักษาเครื่องจักร

4.    คุณสมบัติของสารหล่อลื่น

5.    หลักการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

6.    โครงสร้างและส่วนประกอบของเครื่องพิมพ์

7.    ขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

8.    การทำงานของเครื่องพิมพ์

9.    ตำแหน่งสวิซต์การหยุดฉุกเฉิน และหลักการหยุดเครื่องพิมพ์กรณีฉุกเฉิน

10.    หลักการรายงานความผิดปกติของเครื่องพิมพ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    การกำหนดจุดหรือตำแหน่งการบำรุงรักษา และการกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษา สอดคล้องกับคู่มือซ่อมบำรุงประจำเครื่อง

2.    ความถูกต้องการของการจัดทำแผนการบำรุงรักษา

3.    ความถูกต้องในการเตรียมเครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์สำหรับการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

4.    เครื่องพิมพ์สะอาด คราบหมึกที่ลูกกลิ้งต่าง ๆ ไม่มีหมึกพิมพ์ค้างอยู่

5.    จุดและตำแหน่งต่าง ๆ ที่ต้องใส่สารหล่อลื่น ได้รับการดำเนินการตามแผนการบำรุงรักษา

6.    บันทึกการบำรุงรักษาประจำเครื่องพิมพ์

7.    การบอกความผิดปกติของเครื่องพิมพ์เมื่อเครื่องพิมพ์ทำงานบกพร่อง

8.    การรายงานความผิดปกติของเครื่องพิมพ์

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    วิธีการจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

2.    แนวทางในการกำหนดจุดหรือตำแหน่งการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

3.    แนวทางในการกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

4.    เข้าใจในการปฏิบัติการบำรุงรักษา

5.    การบ่งชี้คุณสมบัติของสารหล่อลื่น

6.    วิธีการเลือกใช้เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

7.    ลำดับขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

8.    อธิบายหลักการทำงานของเครื่องพิมพ์ และโครงสร้างของเครื่องพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งสวิตซ์ฉุกเฉิน

9.    อธิบายขั้นตอนการหยุดเครื่องพิมพ์กรณีฉุกเฉิน

10.    เทคนิคการรายงานความผิดปกติของเครื่องพิมพ์



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

1.    หลักฐานการปฏิบัติงานที่ต้องการ ได้แก่ ประเมินการเตรียมการ และการดำเนินการจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ ตลอดจนความครอบคลุมจุดหรือตำแหน่งการบำรุงรักษาที่จำเป็น

2.    หลักฐานความรู้ที่ต้องการ ได้แก่ ประเมินขั้นตอนการทำงาน และเทคนิคการจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์



(ง)    วิธีการประเมิน

N/A

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1.    การบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ ได้แก่ การซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (preventive maintenance) โดยผู้ปฏิบัติงานประจำเครื่อง 

2.    ตำแหน่งในการบำรุงรักษา กำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษา และวิธีการบำรุงรักษา ให้เป็นไปตามคู่มือการซ่อมบำรุงประจำเครื่อง

3.    เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุในการบำรุงรักษา ได้แก่ อุปกรณ์ประจำเครื่อง และสารหล่อลื่นต่าง ๆ

4.    การทำความสะอาด ได้แก่ การกำจัดฝุ่น คราบหมึกพิมพ์ เศษวัสดุต่าง ๆ ตลอดจนการทำความสะอาดของอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ลูกกลิ้งหมึก ลูกน้ำ

5.    วัสดุและส่วนประกอบต่าง ๆ ได้แก่ วัสดุและส่วนประกอบที่ต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน

6.    การตรวจจับความผิดปกติของเครื่องพิมพ์ ได้แก่ เสียงที่ดังขึ้น ความร้อนที่สูงขึ้น แรงสั่นสะเทือนที่สูงขึ้น กลิ่นเหม็นไหม้ เป็นต้น

7.    การหยุดเครื่องพิมพ์ควรคำนึงถึงการหยุดเครื่องที่ถูกวิธี เช่น การใช้สวิตซ์หยุดเครื่องฉุกเฉิน เป็นต้น

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

    18.2 การทดสอบโดยการประเมินการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

    18.3 การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

 



ยินดีต้อนรับ