หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาในการผลิต

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PSFB-520A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาในการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          นักออกแบบสิ่งพิมพ์ระดับสูง


1 2163 นักออกแบบผลิตภัณฑ์และเครื่องแต่งกาย

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานการให้คำแนะนำด้านการออกแบบแก่ผู้ปฏิบัติงาน การแก้ไขงานออกแบบ วางแผนและตรวจสอบกระบวนการผลิต ทำแผนการควบคุมคุณภาพเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตรงกับมาตรฐาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพงานออกแบบสิ่งพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10104.1

ตรวจสอบแก้ไขงาน

  ให้คำแนะนำด้านการออกแบบแก่ผู้ปฏิบัติงาน

10104.1.01 181884
10104.1

ตรวจสอบแก้ไขงาน

แก้ไขงานออกแบบให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและผลิตได้จริง

10104.1.02 181885
10104.2

วางแผนและตรวจสอบกระบวนการผลิต

ตรวจสอบการวางแผนการผลิต

10104.2.01 181886
10104.2

วางแผนและตรวจสอบกระบวนการผลิต

  ตรวจสอบกระบวนการผลิต

10104.2.02 181887
10104.2

วางแผนและตรวจสอบกระบวนการผลิต

ทำแผนการควบคุมคุณภาพเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตรงกับมาตรฐานและหรือความต้องการของลูกค้า

10104.2.03 181888

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทักษะการใช้โปรแกรมทางด้านการพิมพ์เพื่อเปิดดูไฟล์งาน ความรู้ด้านการพิมพ์ระบบต่างๆ ประเภทของวัสดุที่ใช้พิมพ์ การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์องค์ประกอบศิลป์และการบริหารจัดการเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ






      1. สามารถแก้ไขงานออกแบบให้ตรงความต้องการลูกค้า

      2. สามารถวางแผนการผลิต

      3. สามารถทำแผนการควบคุมคุณภาพเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตรงกับมาตรฐาน





(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. มีความรู้เรื่องการตรวจสอบและแก้ไขงานออกแบบสิ่งพิมพ์

    2. มีความรู้เรื่องการวางแผนการผลิต

    3. มีความรู้เรื่องการตรวจสอบกระบวนการผลิต

    4. มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการออกแบบสิ่งพิมพ์




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          หลักฐานการปฏิบัติงานด้านความรู้คือผลการสอบข้อสอบปรนัย ด้านทักษะคือแบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ และด้านพฤติกรรมคือแบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน



          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          ผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



          (ค) คำแนะนำในการประเมิน



          การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 3-5 ปี มีประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาในการผลิต การให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งตรวจสอบและวางแผนการผลิต



           (ง) วิธีการประเมิน



          ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติโดยเครื่องมือประเมินด้านความรู้คือข้อสอบปรนัย ด้านทักษะคือการสัมภาษณ์ และด้านพฤติกรรมคือสังเกตการปฏิบัติงาน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

          (ก) คำแนะนำ



          การประเมินสมรรถนะนี้ครอบคลุมขั้นตอนการปฎิบัติงานการให้คำแนะนำด้านการออกแบบแก่ผู้ปฏิบัติงาน การแก้ไขงานออกแบบ วางแผนและตรวจสอบกระบวนการผลิต ทำแผนการควบคุมคุณภาพเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตรงกับมาตรฐาน โดยประเมินด้วยวิธีการทำแบบทดสอบภาคความรู้ และสัมภาษณ์ในส่วนของด้านทักษะ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



การประเมินสมรรถนะนี้ครอบคลุมขั้นตอนการปฎิบัติงานการให้คำแนะนำด้านการออกแบบแก่ผู้ปฏิบัติงาน การแก้ไขงานออกแบบ วางแผนและตรวจสอบกระบวนการผลิต ทำแผนการควบคุมคุณภาพเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตรงกับมาตรฐาน โดยประเมินด้วยวิธีการทำแบบทดสอบภาคความรู้ และสัมภาษณ์ในส่วนของด้านทักษะ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านพฤติกรรมปรากฎในคู่มือการประเมินสมรรถนะบุคคล



ยินดีต้อนรับ