หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แนะนำการใช้เครื่องมือดิจิทัลให้กับผู้สูงอายุ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-BAAP-617A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แนะนำการใช้เครื่องมือดิจิทัลให้กับผู้สูงอายุ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการแนะนำการใช้เครื่องมือดิจิทัลให้กับผู้สูงอายุ โดยสามารถแนะนำการใช้งานอุปกรณ์สื่อสาร แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์สื่อสาร และสื่อโซเชียลมีเดีย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาบริการสุขภาพบุคคล อาชีพเพื่อนผู้สูงวัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10301.01

แนะนำการใช้งานอุปกรณ์สื่อสาร

1.แนะนำการใช้งานพื้นฐานอุปกรณ์สื่อสาร

10301.01.01 181591
10301.01

แนะนำการใช้งานอุปกรณ์สื่อสาร

2.แนะนำการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์สื่อสาร

10301.01.02 181592
10301.02

แนะนำการใช้งานแอพพลิเคชันบนอุปกรณ์สื่อสาร

1.แนะนำการใช้งานปฏิทินเพื่อสร้างตารางนัดหมาย

10301.02.01 181593
10301.02

แนะนำการใช้งานแอพพลิเคชันบนอุปกรณ์สื่อสาร

2.แนะนำการใช้งานโปรแกรมการสื่อสาร

10301.02.02 181594
10301.02

แนะนำการใช้งานแอพพลิเคชันบนอุปกรณ์สื่อสาร

3.แนะนำการใช้งานโปรแกรมการสืบค้นข้อมูล

10301.02.03 181595
10301.03

แนะนำการใช้งานโซเชียลมีเดีย

1.แนะนำวิธีการบันทึกภาพนิ่ง/ภาพเคลื่อนไหว

10301.03.01 181596
10301.03

แนะนำการใช้งานโซเชียลมีเดีย

2.แนะนำการใช้โปรแกรมตกแต่งรูปภาพ/วิดีโอ

10301.03.02 181597
10301.03

แนะนำการใช้งานโซเชียลมีเดีย

3.แนะนำการเลือกใช้สื่อโซเชียลมีเดีย

10301.03.03 181598

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทัศนคติต่อการทำงานกับผู้สูงอายุและครอบครัว


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการใช้งานอุปกรณ์สื่อสาร

(ก2) ทักษะในการใช้งานแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์สื่อสาร

(ก3) ทักษะในการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์สื่อสาร

(ก4) ทักษะในการใช้งานปฏิทิน

(ก5) ทักษะในการใช้งานโปรแกรมการสื่อสาร

(ก6) ทักษะในการใช้งานโปรแกรมการสืบค้นข้อมูล

(ก7) ทักษะในการบันทึกภาพนิ่ง/ภาพเคลื่อนไหว

(ก8) ทักษะในการใช้โปรแกรมพื้นฐานในการตกแต่งรูปภาพ/วิดีโอ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์สื่อสาร

(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์สื่อสาร

(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์สื่อสาร

(ข4) ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมการสื่อสาร

(ข5) ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมการสืบค้นข้อมูล

(ข6) ความรู้เกี่ยวกับสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรใช้ร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          (ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

          (ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

          (ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

          (ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          (ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ

          (ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน  

          เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะแนะนำการใช้เครื่องมือดิจิทัลให้กับผู้สูงอายุ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ

     (ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์ และสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตการปฏิบัติงาน แนะนำการใช้เครื่องมือดิจิทัลให้กับผู้สูงอายุ ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการใช้งานอุปกรณ์สื่อสาร การใช้งานแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์สื่อสาร และการใช้งานโซเชียลมีเดีย

    (ก) คำแนะนำ

        (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนการใช้งานอุปกรณ์สื่อสาร การใช้งานแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์สื่อสาร และการใช้งานโซเชียลมีเดีย

        (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        (ข1) อุปกรณ์สื่อสาร ได้แก่ Tablet, Smartphone เป็นต้น

        (ข2) การใช้งานปฏิทิน เช่น การสร้างตารางนัดหมาย การแก้ไขตารางนัดหมายบนปฏิทิน และการปรับตั้งค่าปฏิทิน เช่น มุมมอง การจัดเรียง การกรอง เป็นต้น

        (ข3) โปรแกรมการสื่อสาร เช่น  Chat, SMS, Video Conference, Streaming Media Technology, E-learning เป็นต้น

        (ข4) การค้นหาข้อมูล หมายถึง การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตผ่าน Search Engine ต่างๆ เช่น Google, Firefox, Bing เป็นต้น

        (ข5) โปรแกรมที่ใช้แต่งรูปภาพ ได้แก่ B612, Line Camera, Meitu, Photo Collage, Foto Grid, Photo Editor, PicsArt เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์

18.2 สอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ