หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลผู้สูงอายุตามหลักจริยธรรม และพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-SRBM-616A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลผู้สูงอายุตามหลักจริยธรรม และพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุตามหลักจริยธรรม และพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม โดยการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีจริยธรรม เป็นการปฏิบัติที่ดี ทั้งกาย วาจา ใจ มีการแสดงออกของจรรยามารยาทที่ดี มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ซื่อสัตย์ เมตตา เอื้ออาทร รักษาความลับ และเคารพสิทธิของผู้สูงอายุ ไม่ทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุ      การมีพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม เป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สูงอายุด้วยกิริยาท่าทางสุภาพ น้ำเสียงอ่อนโยน ปฏิบัติการดูแลด้วยความนุ่มนวล ถูกกาลเทศะ ให้บริการด้วยความเต็มใจ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาบริการสุขภาพบุคคล อาชีพเพื่อนผู้สูงวัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10204.01

ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีจริยธรรมการให้บริการ

1.ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

10204.01.01 181585
10204.01

ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีจริยธรรมการให้บริการ

2. เคารพสิทธิและความเป็นส่วนตัวของผู้สูงอายุ
10204.01.02 181586
10204.01

ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีจริยธรรมการให้บริการ

3. รักษาความลับของผู้สูงอายุ

10204.01.03 181587
10204.01

ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีจริยธรรมการให้บริการ

4.บริการอย่างเป็นกลางโดยปราศจากอคติ

10204.01.04 187025
10204.01

ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีจริยธรรมการให้บริการ

5.ให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงอย่างถูกต้องแก่ผู้สูงอายุในการให้บริการ

10204.01.05 187026
10204.02

แสดงพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม

1. แสดงปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้สูงอายุ

10204.02.01 181588
10204.02

แสดงพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม

2. แสดงออกถึงความพร้อมและความยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือ

10204.02.02 181589
10204.02

แสดงพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม

3. ให้บริการอย่างจริงใจด้วยท่าทีที่สุภาพและเป็นมิตร

10204.02.03 181590

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทัศนคติต่อการทำงานกับผู้สูงอายุและครอบครัว


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการต้อนรับ

(ก2) ทักษะในการให้บริการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับหลักจริยธรรมในการประกอบอาชีพเพื่อนผู้สูงวัย

(ข2) ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมบริการ การแต่งกาย การแสดงออก และการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ

(ข3) ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทางจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของอาชีพเพื่อนผู้สูงวัย

(ข4) ความรู้เกี่ยวกับศิลปะในการต้อนรับ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรใช้ร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          (ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

          (ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

          (ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

          (ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          (ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ

          (ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน  

          เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะดูแลผู้สูงอายุตามหลักจริยธรรม และพฤติกรรมบริการที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ

     (ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

     ขอบเขตการปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุตามหลักจริยธรรม และพฤติกรรมบริการที่เหมาะสมครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีจริยธรรม และแสดงพฤติกรรมบริการและสร้างสัมพันธภาพที่เหมาะสม

     (ก) คำแนะนำ

          (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนในการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีจริยธรรม และแสดงพฤติกรรมบริการและสร้างสัมพันธภาพที่เหมาะสม

          (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

          (ข1) การปฏิบัติบนพื้นฐานทางจริยธรรมของอาชีพเพื่อนผู้สูงวัย หมายถึง การปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ เมตตา เอื้ออาทร การไม่เลือกปฏิบัติ เคารพสิทธิผู้สูงอายุ การรักษาความลับ และการไม่ทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุ

          (ข2) จริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ 

               1)    ความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ 

               2)    ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ 

               3)    ความกตัญญูกตเวที หมายถึง การรู้คุณ และตอบแทนคุณต่อผู้สูงอายุ เคารพในสิทธิของผู้สูงอายุ

               4)    ความมีระเบียบวินัย เป็นการควบคุมความประพฤติ การกระทำที่ถูกต้องเหมาะสม 

               5)    ความเสียสละ หมายถึง การละความเห็นแก่ตัว รู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่นเท่าที่จะทำได้ ตามความสามารถ 

               6)    ความอุตสาหะ หมายถึง ความพยายามอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้งานสำเร็จด้วยดี มีความขยัน อดทน ไม่ท้อแท้ 

               7)    ความเมตตา กรุณา หมายถึง มีความจริงใจ มีความรัก ความสงสาร เห็นอกเห็นใจ ปรารถนาดีต่อผู้สูงอายุ

          (ข3) การละเมิดสิทธิหรือการกระทำผิดต่อผู้สูงอายุ ได้แก่

               1)    การล่วงละเมิดทางร่างกาย คือ การที่ผู้สูงอายุประสบกับความเจ็บป่วย ความเจ็บปวด การบาดเจ็บ การเสียชีวิตอันเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ดูแลโดยเจตนาหรือไม่เจตนา(บกพร่องในหน้าที่) เช่น การตบตี การเตะ ใช้ของมีคมบาด การใช้ความร้อน การทำให้ขาดอากาศหายใจ เป็นต้น

               2)    การล่วงละเมิดทางเพศ ทั้งสัมผัสหรือไม่สัมผัสโดยตรง

               3)    การล่วงละเมิดทางอารมณ์หรือจิตใจด้วยพฤติกรรมทางวาจาหรืออวัจนภาษาที่สร้างความเจ็บปวด ความเจ็บปวดทางจิตใจ ความกลัว หรือความทุกข์ให้กับผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นความอัปยศอดสูหรือการดูหมิ่น การคุกคามทั้งทางวาจาและไม่ใช่คำพูด การล่วงละเมิด และกักขัง

               4)    การละเลย ไม่สนใจ คือความล้มเหลวในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุ ความต้องการเหล่านี้รวมถึงอาหาร น้ำ ที่พักอาศัย เสื้อผ้า สุขอนามัย และการดูแลทางการแพทย์ที่จำเป็น

               5)    การละเมิดทางการเงินคือการใช้เงิน ผลประโยชน์ สิ่งของ ทรัพย์สิน หรือทรัพย์สินของผู้สูงอายุโดยผิดกฎหมาย ไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ

               6)    การละเมิดสิทธิในด้านการนำข้อมูล ภาพของผู้สูงอายุ ไปเผยแพร่กับบุคคลทั่วไปผ่านสื่อ ระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายสื่อสังคม โดยไม่ได้รับคำยินยอมหรือไม่เหมาะสม ทำให้ผู้สูงอายุหรือคนที่เกี่ยวข้องเสื่อมเสียชื่อเสียง รวมถึงการนำรหัสความลับทางระบบคอมพิวเตอร์ จดหมายอิเลคทรอนิคส์ หรือแอปพลิเคชั่นต่างๆ เอาไปใช้ประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายเป็นต้น

          (ข4) องค์ประกอบทางจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ 

               1)   ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดย

                    1.1 ให้ความเคารพ ยกย่อง คำนึงถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ

                    1.2 ยอมรับการเปลี่ยนแปลง สภาพตามวัย ของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน

                    1.3 รักษาความสามารถของผู้สูงอายุไว้ให้นานที่สุด เช่น ส่งเสริมความสามารถทางกาย ยอมรับความคิดเห็นหรือความต้องการของผู้สูงอายุ

                    1.4 ปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ ในฐานะบุคคลหนึ่งที่มีสิทธิที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพอนามัยที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับบุคคลวัยอื่น

               2)    ปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุ โดยมีหลักธรรมประจำใจ ได้แก่

                    2.1 เมตตาคือ ความรักปรารถนาดี เป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นมีความสุข

                    2.2 กรุณาคือ ความปรารถนาที่จะช่วยเหลือให้เขาพ้นทุกข์ ช่วยให้ทุเลาจากการเจ็บป่วย ทรมาน

                    2.3 มุทิตาคือ ความรู้สึกพลอยยินดี เมื่อเขามีอาการดีขึ้น ช่วยให้เขาสุขสบายดีขึ้น

                    2.4 อุเบกขาคือ การรู้จักวางเฉย วางใจเป็นกลาง ไม่คิดซ้ำเติม  กฎแห่งกรรม

               3)    ศึกษาหาความรู้และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ ทั้งด้านที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ด้านจริยธรรม และด้านอื่นๆ

               4)    รักและศรัทธาในอาชีพว่าเป็นอาชีพที่มีประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์

               5)    ตระหนักถึงความสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพ และรับผิดชอบต่อข้อบัญญัติในจรรยาบรรณ เพื่อส่งเสริมคุณภาพบริการ การดูแลผู้สูงอายุ

     (ข5) จริยธรรมการให้บริการ หมายถึง การที่ผู้ดูแลมีความประพฤติรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของการดูแลที่เกิดจากคุณธรรมภายในจิตใจของตนเอง มีความชื่อสัตย์และเคารพในสิทธิของผู้สูงอายุและมีความเสียสละในการทำงานที่ไม่ใช่แค่บทบาทของการถูกว่าจ้างเท่านั้น แต่ยังทุ่มเทดูแลอย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจในสภาพที่แตกต่างของผู้สูงอายุ

แต่ละคน

     (ข6) การบริการอย่างเป็นกลางโดยปราศจากอคติ หมายถึง  หมายถึง การให้บริการแก่ผู้สูงอายุโดยไม่มีความคิดลำเอียงต่อเชื้อชาติ เพศสภาพ อายุ ศาสนา หรือเหมารวมว่าผู้สูงอายุทุกคน

มีคุณลักษณะที่เหมือนกัน แม้ว่าความคิดจะเป็นเชิงบวก เช่น ถูกชะตา หรือเชิงลบ เช่น ไม่ถูกชะตา

 ก็ตามโดยปราศจากการคิดวิเคราะห์ตามบริบทหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม

     (ข7) ทักษะในการให้บริการที่ดี ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์ต่อผู้รับบริการที่ดี การใช้วาจาสุภาพ อ่อนโยน น้ำเสียงนุ่มนวล ถูกกาลเทศะ กิริยาท่าทางสุภาพอ่อนน้อม ปฏิบัติกิจกรรมบริการด้วยความเต็มใจ และเข้าถึงความต้องการของผู้รับบริการ

     (ข8) พฤติกรรมการบริการ หมายถึง การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมในการตอบสนองความต้องการและปัญหาของผู้สูงอายุแต่ละบุคคล ทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม โดยใช้ความรู้ความสามารถตามจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพด้านสุขภาพ ด้วยการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล การสื่อสาร การให้ข้อมูลด้านสุขภาพ การให้ความช่วยเหลือ การเคารพสิทธิและความเป็นส่วนตัวของผู้สูงอายุ

     (ข9) ทักษะในการให้บริการที่ดี ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์ต่อผู้รับบริการที่ดี การใช้วาจาสุภาพ อ่อนโยน น้ำเสียงนุ่มนวล ถูกกาลเทศะ กิริยาท่าทางสุภาพอ่อนน้อม ปฏิบัติกิจกรรมบริการด้วยความเต็มใจ และเข้าถึงความต้องการของผู้รับบริการ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียน

18.1 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ