หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-THTW-615A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ โดยสามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจและสาเหตุที่ส่งผลต่อปัญหาทางสุขภาพจิต การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และมีทักษะการส่งเสริมทางจิตใจ ได้แก่ การเคารพ ยกย่อง นับถือ การส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวผู้สูงอายุ การจัดการอารมณ์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และการเสริมสร้างกำลังใจของผู้สูงอายุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาบริการสุขภาพบุคคล อาชีพเพื่อนผู้สูงวัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10203.01

เฝ้าระวังภาวะจิตใจของผู้สูงอายุ

1.เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจและสาเหตุที่ส่งผลต่อปัญหาทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ

10203.01.01 181575
10203.01

เฝ้าระวังภาวะจิตใจของผู้สูงอายุ

2.สังเกตสภาพจิตใจและอารมณ์ของผู้สูงอายุ

10203.01.02 181576
10203.01

เฝ้าระวังภาวะจิตใจของผู้สูงอายุ

3.สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้สูงอายุ

10203.01.03 181577
10203.01

เฝ้าระวังภาวะจิตใจของผู้สูงอายุ

4.สังเกตอาการที่อาจจะเป็นสัญญาณของโรค

10203.01.04 181578
10203.02

ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุและครอบครัว

1.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตนเอง

10203.02.01 181579
10203.02

ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุและครอบครัว

2.ให้ความเคารพ ยกย่อง นับถือผู้สูงอายุ

10203.02.02 181580
10203.02

ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุและครอบครัว

3.สอบถามเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ

10203.02.03 181581
10203.02

ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุและครอบครัว

4.ส่งเสริมและสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวและสังคมของผู้สูงอายุ

10203.02.04 181582
10203.03

เสริมสร้างกำลังใจให้ผู้สูงอายุ

1.พูดคุยและรับฟังปัญหาของผู้สูงอายุ

10203.03.01 181583
10203.03

เสริมสร้างกำลังใจให้ผู้สูงอายุ

2.กระตุ้นให้สูงอายุทำกิจกรรมที่พัฒนาและส่งเสริมกำลังใจและคลายความวิตกกังวล

10203.03.02 181584

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทัศนคติต่อการทำงานกับผู้สูงอายุและครอบครัว


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการประเมินสภาพจิตใจ

(ก2) ทักษะในการสื่อสารและการรับฟัง

(ก3) ทักษะในการออกแบบกิจกรรม

(ก4) ทักษะในการดำเนินงาน ประเมินผล และพัฒนากิจกรรม

(ก5) ทักษะในการให้คำปรึกษา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาการสื่อสารและการรับฟังผู้สูงอายุ

(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพและทำกิจกรรมทางสังคม

(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย และโรคในวัยผู้สูงอายุ

(ข4) ความรู้เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุ

(ข5) ความรู้เกี่ยวกับการประเมินสภาพจิตใจผู้สูงอายุ

(ข6) ความรู้เกี่ยวกับการประเมินและพัฒนากิจกรรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรใช้ร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          (ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

          (ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

          (ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

          (ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          (ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ

          (ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน  

          เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ

     (ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์ และสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเฝ้าระวังภาวะจิตใจของผู้สูงอายุ ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ และการเสริมสร้างกำลังใจให้ผู้สูงอายุ

    (ก) คำแนะนำ

        (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนในการเฝ้าระวังภาวะจิตใจของผู้สูงอายุ ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ และเสริมสร้างกำลังใจให้ผู้สูงอายุ

        (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        (ข1) การส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลด้านจิตใจและอารมณ์ เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะเครียด วิตกกังวล รู้สึกเหงา หรือโดดเดี่ยว เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี 

        (ข2) การเฝ้าระวังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ หมายถึง การติดตาม สังเกต การเปลี่ยนแปลงสภาพจิตใจและอารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออกต่างๆ ของผู้สูงอายุ รวมถึงอาการบางอย่างของผู้สูงอายุที่อาจบ่งบอกหรือเป็นสัญญาณของการเกิดโรคบางชนิด เช่น การถามซ้ำหรือพูดซ้ำ อาการหลงลืม การสับสนวันเวลา สถานที่ อาการสั่นเกร็ง เป็นต้น

        (ข3) การให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ  หมายถึง การกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตนเองถึงการเป็นบุคคลสำคัญของครอบครัว การให้ความเคารพ ยกย่อง นับถือ เพื่อทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า หรือการพูดคุย ขอความคิดเห็นเพื่อทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังคงเป็นที่รักและมีความสำคัญกับบุคคลในครอบครัว

        (ข4) การเสริมสร้างกำลังใจให้ผู้สูงอายุ หมายถึง การใช้วิธีการที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่น สร้างความมั่นคงทางจิตใจ เพื่อสร้างกำลังใจให้ผู้สูงอายุ ช่วยให้คลายความเครียด ความวิตกกังวล เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุเกิดความเครียดหรือมีภาวะซึมเศร้า ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตนเอง และมีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคร้ายต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญ ตลอดจนช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยและความทุกข์ทรมานจากโรคภัยต่างๆ

        (ข5) กิจกรรมที่ส่งเสริมกำลังใจให้กับผู้สูงอายุ หมายถึง กิจกรรมทางสังคมที่ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีขึ้น ไม่คิดมาก ซึมเศร้า หรือเหงาอยู่คนเดียว เช่น การชวนผู้สูงอายุเข้าวัด สวดมนต์ ทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรม ฝึกสมาธิ หรือพาไปพบปะกับเพื่อนเก่าหรือผู้คนแปลกหน้าเพื่อพูดคุยหรือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นต้น หรือเป็นกิจกรรมที่ทำแล้วเพลิดเพลิน เป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุชอบหรือสนใจ ช่วยทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกสดชื่น โดยหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดความกระทบกระเทือนจิตใจ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ