หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฐมพยาบาลผู้สูงอายุเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-FFZJ-614A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฐมพยาบาลผู้สูงอายุเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฐมพยาบาลผู้สูงอายุเบื้องต้น โดยต้องสามารถอธิบายขั้นตอนในการประเมินภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และให้การปฐมพยาบาล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาบริการสุขภาพบุคคล อาชีพเพื่อนผู้สูงวัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10202.01

ประเมินภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ

1.สังเกตอาการผิดปกติแบบเฉียบพลันของผู้สูงอายุ

10202.01.01 181570
10202.01

ประเมินภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ

2.ประเมินความรุนแรงของอาการผิดปกติของผู้สูงอายุ

10202.01.02 181571
10202.02

ให้การปฐมพยาบาล

1.ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น

10202.02.01 181572
10202.02

ให้การปฐมพยาบาล

2. อธิบายวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

10202.02.02 181573
10202.02

ให้การปฐมพยาบาล

3.ส่งต่อผู้สูงอายุไปยังสถานพยาบาล

10202.02.03 181574

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทัศนคติต่อการทำงานกับผู้สูงอายุและครอบครัว


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการสังเกตอาการผิดปกติของผู้สูงอายุ

(ก2) ทักษะในการประเมินภาวะฉุกเฉินเบื้องต้น

(ก3) ทักษะในการส่งต่อ

(ก4) ทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

(ก5) ทักษะในการช่วยเหลือดูแลในภาวะฉุกเฉิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ

(ข2) ความรู้เกี่ยวกับอาการผิดปกติของผู้สูงอายุ

(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความรุนแรงของอาการของผู้สูงอายุ

(ข4) ความรู้เกี่ยวกับการส่งต่อ

(ข5) ความรู้เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ

(ข6) ความรู้เกี่ยวกับอาการผิดปกติของผู้สูงอายุ

(ข7) ความรู้เกี่ยวกับหลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรใช้ร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          (ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

          (ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

          (ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

          (ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          (ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ

          (ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน  

          เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะปฐมพยาบาลผู้สูงอายุเบื้องต้น โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ

     (ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบสัมภาษณ์ และสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตการปฏิบัติงานปฐมพยาบาลผู้สูงอายุเบื้องต้น ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และให้การปฐมพยาบาล

    (ก) คำแนะนำ

        (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนในการประเมินภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และให้การปฐมพยาบาล

        (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        (ข1) อาการผิดปกติเฉียบพลันของผู้สูงอายุ หมายถึง อาการผิดปกติทางกาย ได้แก่ ภาวะฉุกเฉินระบบการรู้สติ ภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง  ภาวะฉุกเฉินระบบทางเดินหายใจ  ภาวะฉุกเฉินระบบทางเดินอาหาร  ภาวะฉุกเฉินระบบต่อมไร้ท่อ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง  ภาวะฉุกเฉินทางโรคหัวใจ  ภาวะหกล้ม ภาวะการมีอุบัติเหตุและภัยพิบัติ และอาการผิดปกติทางสมอง หมายถึง ภาวะสับสน(Delirium) เฉียบพลันในผู้สูงอายุ เป็นความผิดปกติทางระบบประสาทที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว ระดับความรู้คิดและความสามารถของสมองโดยรวมอย่างเฉียบพลัน ผู้สูงอายุมักไม่ให้ความสนใจกับการตอบคำถาม ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย อาจจะวุ่นวายหรือซึมหลับมากก็ได้ อาการมักเป็น ๆ หาย ๆ มักเป็นช่วงพลบค่ำหรือกลางคืน ภาวะเหล่านี้เป็นภาวะเร่งด่วน

        (ข2) การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลที่กำลังเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ โดยบริบาลให้เพื่อรักษาชีวิต ป้องกันมิให้สภาวะนั้นเลวลง และ/หรือเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัว ปฐมพยาบาล รวมถึงการรักษาเบื้องต้นในภาวะรุนแรงก่อนมีการช่วยเหลือของบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่  การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจ และการไหลเวียนกลับสู่สภาพเดิม ป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้ได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทําได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support) ได้แก่ การผายปอด และการนวดหัวใจ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์

18.2 สอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ