หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-YTIW-613A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยสามารถประเมินความเป็นไปได้ของการเกิดอุบัติเหตุ และประเมินสภาวะร่างกายของผู้สูงอายุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาบริการสุขภาพบุคคล อาชีพเพื่อนผู้สูงวัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10201.01

ประเมินความเป็นไปได้ของการเกิดอุบัติเหตุ

1.ระบุเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ที่จะเกิดอุบัติเหตุ

10201.01.01 181563
10201.01

ประเมินความเป็นไปได้ของการเกิดอุบัติเหตุ

2. ประเมินความปลอดภัยของสถานที่

10201.01.02 181564
10201.01

ประเมินความเป็นไปได้ของการเกิดอุบัติเหตุ

3.ประเมินความปลอดภัยของกิจกรรม

10201.01.03 181565
10201.01

ประเมินความเป็นไปได้ของการเกิดอุบัติเหตุ

4.เฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุกับผู้สูงอายุ

10201.01.04 181566
10201.02

ประเมินสภาวะร่างกายของผู้สูงอายุ

1. สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุ

10201.02.01 181567
10201.02

ประเมินสภาวะร่างกายของผู้สูงอายุ

2. สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้สูงอายุ

10201.02.02 181568
10201.02

ประเมินสภาวะร่างกายของผู้สูงอายุ

3. ประเมินความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนไหว

10201.02.03 181569

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทัศนคติต่อการทำงานกับผู้สูงอายุและครอบครัว


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการประเมินการเกิดอุบัติเหตุ

(ก2) ทักษะในการประเมินความปลอดภัยของสถานที่

(ก3) ทักษะในการประเมินความปลอดภัยของกิจกรรม

(ก4) ทักษะในการสังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุ

(ก5) ทักษะในการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้สูงอายุ

(ก6) ทักษะในการประเมินการเคลื่อนไหวร่างกาย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับประเภทของอุบัติเหตุ

(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุตามหลักสรีรศาสตร์

(ข4) ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้สูงอายุ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรใช้ร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          (ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

          (ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

          (ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

          (ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          (ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ

          (ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน  

          เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ

     (ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ สอบสัมภาษณ์ และสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตการปฏิบัติงาน ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินความเป็นไปได้ของการเกิดอุบัติเหตุ และประเมินสภาวะร่างกายของผู้สูงอายุ

    (ก) คำแนะนำ

        (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนในการประเมินความเป็นไปได้ของการเกิดอุบัติเหตุ และประเมินสภาวะร่างกายของผู้สูงอายุได้

        (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        (ข1) สรีรศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นพื้นฐานที่ใช้ทำความเข้าใจกลไกทำงานของร่างกายมนุษย์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียน

18.2 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ