หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุในบ้าน

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-PLAS-610A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุในบ้าน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5321 ผู้ช่วยงานดูแลสุขภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุในบ้าน โดยสามารถอำนวยความสะดวกในการทำกิจวัตรประจำวันให้กับผู้สูงอายุได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาบริการสุขภาพบุคคล อาชีพเพื่อนผู้สูงวัย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10101.01

อำนวยความสะดวกในการทำกิจวัตรประจำวัน

1.สนับสนุนผู้สูงอายุในการทำกิจวัตรประจำวัน

10101.01.01 181539
10101.01

อำนวยความสะดวกในการทำกิจวัตรประจำวัน

2.ช่วยเหลือผู้สูงอายุในการเคลื่อนไหวร่างกาย

10101.01.02 181540
10101.01

อำนวยความสะดวกในการทำกิจวัตรประจำวัน

3.ช่วยเหลือผู้สูงอายุในการใช้อุปกรณ์เพื่อเคลื่อนไหวร่างกาย

10101.01.03 181541

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทัศนคติต่อการทำงานกับผู้สูงอายุและครอบครัว


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการช่วยเหลือผู้สูงอายุในการใช้ชีวิตประจำวัน

(ก2) ทักษะในการพยุงผู้สูงอายุ

(ก3) ทักษะในการใช้เครื่องช่วยเดินสำหรับผู้สูงอายุ

(ก4) ทักษะในการสื่อสารและการรับฟัง

(ก5) ทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ

(ก6) ทักษะในการใช้เทคโนโลยี แพลทฟอร์มต่างๆ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัย

(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุตามหลักสรีรศาสตร์

(ข3) ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาการสื่อสาร และการรับฟังผู้สูงอายุ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรใช้ร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          (ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

          (ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

          (ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

          (ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     
     (ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ

          (ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน  

     
     เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุในบ้าน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ

     (ง) วิธีการประเมิน

     
     พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ สอบสัมภาษณ์ และสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงาน อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุในบ้าน ที่ครอบคลุมถึงขั้นตอนในการอำนวยความสะดวกในการทำกิจวัตรประจำวันให้กับผู้สูงอายุ

    (ก) คำแนะนำ

        (ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนในการอำนวยความสะดวกในการทำกิจวัตรประจำวันให้กับผู้สูงอายุ

        (ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        (ข1) กิจกรรมทางสังคมภายในบ้าน หมายถึง การทำกิจกรรมตามความชอบ ความถนัดหรือความสนใจที่เกิดขึ้นในบ้าน ร่วมกับสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนบ้านโดยเป็นกิจกรรมที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุผ่อนคลายและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม

        (ข2) กิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ หมายถึง กิจกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำในแต่ละวันของผู้สูงอายุ เช่น การแต่งตัว การจัดเตรียมอาหาร การรับประทานอาหาร การเคลื่อนไหว และการทำกิจกรรมภายในบ้าน

        (ข3) อุปกรณ์ช่วยเดิน ได้แก่ เครื่องช่วยเดิน วอล์คเกอร์ ไม้เท้า รถเข็น  เป็นต้น

        (ข4) สรีรศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นพื้นฐานที่ใช้ทำความเข้าใจกลไกทำงานของร่างกายมนุษย์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบสัมภาษณ์

18.2 สอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ